บุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาภาวะผู้นำของนายทหารบกระดับกลาง
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, นายทหารบกระดับกลาง, การพัฒนาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของการพัฒนาภาวะผู้นำของนายทหารบกระดับกลาง ด้านคุณลักษณะ ด้านการบริหารจัดการ ด้านพฤติกรรมทางสังคม และด้านการเปลี่ยนแปลง 2) ขนาดอิทธิพลของด้านคุณลักษณะ ด้านการบริหารจัดการ ด้านพฤติกรรมทางสังคม และด้านการเปลี่ยนแปลงตนเอง ที่มีต่อการพัฒนาภาวะผู้นำของนายทหารบกระดับกลาง และ 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของนายทหารบกระดับกลาง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างคือ นายทหารนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกจากหน่วยต่าง ๆ ทั่วประเทศ และกำลังเข้ารับการศึกษาที่วิทยาลัยการทัพบก และโรงเรียนเสนาธิการทหารบก จำนวน 400 ตัวอย่าง สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก คือ นายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพบก ชั้นนายพล ในตำแหน่งผู้บริหาร นายทหารบกระดับกลางชั้นยศพันเอก-พันเอก (พิเศษ) และชั้นยศพันตรี-พันโท รวม 16 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบการฝึกการพัฒนาภาวะผู้นำของนายทหารบกระดับกลาง พฤติกรรมทางสังคม คุณลักษณะ การบริหารจัดการ และ การเปลี่ยนแปลงตนเอง มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด 2) การบริหารจัดการมีอิทธิพลเชิงสาเหตุรวมต่อของการพัฒนาภาวะผู้นำของนายทหารบกระดับกลาง มากที่สุด รองลงมาได้แก่ พฤติกรรมทางสังคม การเปลี่ยนแปลงตนเอง และ คุณลักษณะ ตามลำดับ และ 3) แนวทางของการพัฒนาภาวะผู้นำของนายทหารบกระดับกลาง มีลักษณะเป็นภาพแผนภูมิประกอบด้วย การบริหารจัดการ ที่มีอิทธิพลรวมมากที่สุดเป็นฐานผลักดันอยู่ล่างสุด พฤติกรรมทางสังคม และการเปลี่ยนแปลงตนเอง อยู่ตรงกลาง และคุณลักษณะ ส่งเสริมอยู่ในระดับบน
References
กองบัญชาการกองทัพไทย. (2565). เอกสารประชาสัมพันธ์แนะนำภารกิจและคู่มือสิทธิประโยชน์กำลังพล (กรมสารบรรณทหาร). ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2566, จาก https://dag.rtarf.mi.th/index.php
กรมกำลังพลทหารบก. (2564). สรุปกิจการกำลังพลของกองทัพบก. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2566, จาก
กฎหมายความมั่นคง. (2566). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2566, จาก http://nscr.nesdc.go.th/sp/
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2567). ดร.แดน สอนอ่าน: เคล็ดลับปลูกปัญญา เปลี่ยนชีวิตในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: ซัคเซส.
ฉายศิลป์ เชี่ยวชาญพิพัฒน์ และคณะ.(2557). การบริหาร.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชุติมา แสงฉาย และปกรณ์ ปรียากร. (2565). ผู้นำที่พึงประสงค์ของข้าราชการสำนักงานเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร. วารสารปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 1(1), 23-33.
ปฏิมา ถนิมกาญจน์, นรรัฐ ปรับปรุงกวี และเพ็ญพร ปุกหุต. (2561). อิทธิพลของผู้นำเชิงปฏิรูปและวัฒนาธรรมองค์การที่ส่งผลต่อการลาออกของบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน. วารสารสมาคมนักวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์, 23,(2) 89-102.
พัชรา วาณิชวศิน. (2560). การพัฒนาภาวะผู้นำ: จากทฤษฎีสู่แนวปฏิบัติที่ดีและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
ไทยรัฐ ออนไลน์. (2564). การป้องกันทุจริตเกณฑ์ทหาร. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2566, จาก https://www.thairath.co.th/tags/ต่อต้านการทุจริต
ทวี แจ่มจำรัส. (2560). บทบาทของนายทหารบก ระดับกลางที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560). คณะวิชาการ (The justice Group.) กรุงเทพฯ: พิมพ์อักษร.
รัตนา เอื้อบุญญานันท์. (2555). ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของนายทหารสัญญาบัตรในโรงพยาบาลสังกัดกองทัพบก. วารสารสหวิทยาการวิจัย ฉบับบัณฑิตศึกษา, 1(1), 69-78.
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร. (2565). หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2566, จาก https://www.thaindc.org/17899922/หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร
วจนา วรรลยางกูร. (2566). หนึ่งปีที่เหลือจากนี้ ขอสังคมไทยมีความทุกข์ร่วมกันกับคนตากใบ. ค้นเมื่อ 30มีนาคม 2567, จาก https://www.the101.world/19-years-of-tak-bai-incident/
ว๊อยซ์ ออนไลน์. (2563). แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เผยแพร่รายงานการสัมภาษณ์ทหารเกณฑ์ “กองทัพไทย” พบปัญหาการละเมิดสิทธิ ถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจ. ค้นเมื่อ 16 กันยายน 2566, จาก https://www.voicetv.co.th/read/DBrhJyXYA#google_vignette
สมยศ ปัญญามาก. (2561) หลักธรรมาภิบาลกับผู้นำองค์การ. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 3(1), 55-69.
สำนักข่าวอิศรา. (2563). ความเชื่อมั่นในการตรวจสอบภายในของกองทัพ. ค้นเมื่อ 17 กันยายน 2566, จาก https://www.isranews.org/article/
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2550). วิสัยทัศน์ และ ทัศนวิสัย. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2566, จาก http://legacy.orst.go.th/?knowledges=วิสัยทัศน์-และ-ทัศนวิสัย
สมัย จิตต์หมวด.(2557). พฤติกรรมผู้นำ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2559). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่: แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
ไอลอว์. (2563). องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน. ค้นเมื่อ 17 กันยายน 2566, จาก https://www.ilaw.or.th/about-us
Brown, W. B., & Moberg, B. J. (1980). Organization Theory and Management: A Micro Approach. New York: John Willey and Sons.
Fry, L. W., Hannah, S. T., Noel, M., & Walumbwa, F. O. (2011). Impact of spiritual leadership on unit performance [RETRACTED]. The Leadership Quarterly, 22, 259–270.
Greenberg, J. & Baron, R. (2003). A Behavior in Organizations. (8thed.). upper Saddle River, New Jersey: Pearson Education Inc.
George, J. M. & Jones, G. R. (2005). Understanding and Managing Organizational Behavior (4th ed.). Upper Saddle Piver. New Jersey: Pearson Education, Inc.
Caldwell, L. F. (1965). The Environmental Factor in Development Planning. Thai Journal of Public Administration, 1(3), 425.
Mowen, J. C., & Minor, M. (1998). Consumer Behavior. (5 thed.). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice-Hall. Inc.
Nelson, L & Quick, J. C. (2006). Organization Behavior. (5 thed.). USA: South - Western. Thomson Corporation.
Wong, L., Bliese, P., & McGurk, D. (2023). Military leadership: A context specific review. The Leadership Quarterly, 14(6), 657-692.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว