ความรู้ความเข้าใจของผู้ให้บริการภาคพื้นในการรายงานเหตุการณ์ ด้านความปลอดภัย
คำสำคัญ:
ความรู้ ความเข้าใจ, ผู้ให้บริการภาคพื้น, การรายงานเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย, ระบบการจัดการความปลอดภัยบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจของฆผู้ให้บริการภาคพื้นที่มีต่อเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย และ 2) เสนอแนะแนวทางการรายงานเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยของบริษัทผู้ให้บริการภาคพื้นตาม มาตรฐาน ข้อบังคับ ข้อกำหนด และกฎระเบียบ ขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ สมาคนขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ และสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน วิจัยเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ บริษัทผู้ให้บริการภาคพื้นในส่วนของบริการลานจอดอากาศยานและการบริการช่างอากาศยานที่มีจำนวนพนักงานไม่เกิน 1,000 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม โดยอ้างอิงจากการเปิดตารางสำเร็จรูปของ Yamane (1976) ส่วนของเครื่องมือในการวิจัยได้มีการใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ตามกระบวนการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความรู้ความเข้าใจของบริษัทผู้ให้บริการภาคพื้นอยู่ในระดับที่ดีถึงดีมาก โดยพบว่า ร้อยละ 52.5 มีความรู้ความเข้าใจในความรู้ความเข้าใจด้านระบบการจัดการความปลอดภัย และ ร้อยละ 81.5 มีความรู้ความเข้าใจในเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยที่เกิดขึ้น รวมถึงทราบว่าควรดำเนินการอย่างไรกับเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้น 2) แนวทางในการรายงานเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยของบริษัทผู้ให้บริการภาคพื้น ควรมีการกำหนดแนวทางหรือขั้นตอนการรายงานเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยแก่บริษัทผู้ให้บริการภาคพื้นโดยตรง เพื่อให้หน่วยงานผู้กำกับดูแลและควบคุมกิจการการบินพลเรือน ได้ทราบถึงข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงและอาจเป็นข้อมูลสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินในส่วนของกิจกรรมการดำเนินงานภาคพื้นในอนาคต
References
ณัฐนนท์ แก้วมณี. (2563). ปัจจัยการแลกเปลี่ยนข้อมูลความปลอดภัยด้านการบินระหว่างหน่วยงานภายใต้ระบบการจัดการด้านความปลอดภัย (วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต). สถาบันการบินพลเรือน สถาบันสมทบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
มนตรี อบเชย. (2564).ระบบการจัดการด้านความปลอดภัยการบิน. ค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.ohswa.or.th/17816710/hse-morning-talk-by-safety-kku-ep7
ราชกิจจานุเบกษา. (2548). ข้อบังคับ ของคณะกรรมการการบินพลเรือน ฉบับที่ 64 ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะของผู้ขออนุญาตเป็นผู้ประกอบการให้บริการในลานจอดอากาศยานหรือบริการช่างอากาศ. ค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2567, จาก https://dl.parliament.go.th/handle/20.500.13072/179506
สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (2562). ข้อกำหนดของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ฉบับ ที่ 22 ว่าด้วยการรายงานเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยในการบินพลเรือน. ค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2567, จาก https://dl.parliament.go.th/handle/20.500.13072/55560
สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (2563).ข้อกำหนดของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 32 ว่าด้วยการพิทักษ์ข้อมูลด้านความปลอดภัยและสารสนเทศด้านความปลอดภัยในการบินพลเรือน. ค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2567, จาก https://dl.parliament.go.th/handle/20.500. 13072/569590
สำนักงานคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน. (2563). ข้อบังคับคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน ฉบับที่ 1 ว่าด้วยการแจ้งและจัดทำรายงานเบื้องต้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์รุนแรง. ค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2567, จาก https://complain. mot.go.th/prproject/files_upload/publishonweb/OperatingGuide/manual_update2563/
International Civil Aviation Organization. (2013). Annex 19: Safety management (1st ed.). ISM Integrated Safety Management.
Reason, J. (1990). Human Error. Cambridge: Cambridge University Press.
Bloom, B. S., Engelhart, M. D., Furst, E. J., Hill, W. H., & Krathwohl, D. R. (1956). Taxonomy of educational objectives: The classification of educational goals. Handbook 1: Cognitive domain. New York: David McKay.
Newsdesk. (2024). Industry leaders to discuss safety and innovation at IATA conference. International Air Transport Association. Retrieved 24 July 2024, from https://worldofaviation.com/2024/09/industry-leaders-to-discuss-safety-and- innovation-at-iata-conference/
Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. (2nd Ed). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว