แนวทางการพัฒนากิจการลูกเสือไทยยุคสังคมปกติใหม่ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว สาขาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภุฎสวนสุนันทา
  • ทวี แจ่มจำรัส สาขาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภุฎสวนสุนันทา
  • เจตน์สฤษฎิ์ อังศุกาญจนกุล สาขาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภุฎสวนสุนันทา
  • ปิยวดี จินดาโชติ สาขาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภุฎสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การพัฒนากิจการลูกเสือ, กิจการลูกเสือ, ยุคสังคมปกติใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา1) ระดับของการพัฒนากิจการลูกเสือไทย นโยบายภาครัฐ ระบบการจัดองค์การ ระบบการฝึกและการรับรองมาตรฐาน 2) ปัจจัยเชิงสาเหตุของนโยบายภาครัฐ ระบบการจัดองค์การ ระบบการฝึกและการรับรองมาตรฐาน ที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนากิจการลูกเสือไทยในยุคสังคมปกติใหม่ และ 3) แนวทางการบริหารและการพัฒนากิจการลูกเสือไทยในยุคสังคมปกติใหม่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรทางการศึกษาที่เป็นผู้กำกับ/รองผู้กำกับลูกเสือ (ผู้อำนวยการโรงเรียน/รองผู้อำนวยการโรงเรียน) ครู-อาจารย์ในสถานศึกษา วิทยากรลูกเสือและเจ้าหน้าที่ลูกเสือ สังกัดสถานศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ตัวอย่าง สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก ประกอบด้วย ผู้เกี่ยวข้องกับนโยบายภาครัฐ ระดับกรรมการสภาลูกเสือไทย ผู้บริหารสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ครูและผู้กำกับลูกเสือทุกประเภทลูกเสือ รวมทั้งสิ้น 16 คนและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนากิจการลูกเสือไทยยุคสังคมปกติใหม่ การรับรองมาตรฐาน นโยบายภาครัฐ ระบบการจัดองค์การ และระบบการฝึก มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งหมด 2) การรับรองมาตรฐาน มีอิทธิพลเชิงสาเหตุรวมต่อการพัฒนากิจการลูกเสือไทยในยุคสังคมปกติใหม่ มากที่สุด รองลงมาได้แก่ นโยบายของภาครัฐ ระบบการฝึก และระบบการจัดการองค์การ ตามลำดับ และ 3) รูปแบบประกอบด้วยการรับรองมาตรฐาน ที่มีอิทธิพลรวมมากที่สุดเป็นฐานผลักดันอยู่ล่างสุด นโยบายของภาครัฐ และระบบการฝึกอบรม อยู่ตรงกลาง และระบบการจัดองค์การ ส่งเสริมอยู่ในระดับบน

References

ชนก เชียงมูล.(2563). แนวทางการพัฒนาการบริหารกิจกรรมลูกเสือของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร. เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 (229 - 241). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

ชนะ ยาดี.(2563). การพัฒนารูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ขั้นความรู้เบื้องต้นเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ในศตวรรษที่ 21(วิทยานิพนธ์ดุษฏีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19. วารสารศิลปะการจัดการ,4(3), 783-795.

พัชรียา แก้วชู. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบ New Normal หลังการแพร่ระบาดโควิด-19(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พิชัย รัตตกุล. (2556). หนังสือพิมพ์ผู้แทน. กรุงเทพฯ: ศิลปะสนองการพิมพ์.

วันเพ็ญ พุทธานนท์. (2563). New Normal การศึกษาไทยกับ 4 รูปแบบใหม่การเรียนรู้. ค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.thebangkokinsight.com/367124/

วิชัย วงศ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2563). New normal ทางการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิโรจน์ แก้วเรือง. (2546). พระบิดาแห่งลูกเสือไทย“พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว”.กรุงเทพฯ: บ้านแปลน.

วีรนุช พิสมัย. (2563). การบริหารงานกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วาสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 8(2), 54-68.

วิศัลยา ศักดิ์ศรี. (2563). การบริหารกิจการลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. วารสารรามคำแหง ฉบับบัณฑิตวิทยาลัย, 3(1), 97-110.

สุธรรม พันธุศักดิ์. (2559). แนวทางการพัฒนากิจการลูกเสือไทย. เอกสารประชุมของประธานคณะทำงานศึกษาเพื่อพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมลูกเสือไทย เมื่อ 12 มกราคม 2559 ที่ห้องประชุม MOC กระทรวงศึกษาธิการ. ค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2567, จาก https://www.ryt9.com/s/govh/2383137

สายฟ้า หาสีสุข.(2563). การพัฒนาแนวทางการบริหารกิจการลูกเสือ-เนตรนารี ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 4 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). การกำหนดนโยบายการพัฒนากิจการลูกเสือ.กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ.(2565). เอกสารประชาสัมพันธ์ ค่ายวชิราวุธ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. ค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2567, จาก https://www.scoutthailand.org/pages/notice-pr.php

Abdulkadir, E., Isac, N., & Dobrin, C. (2021). Volunteer's engagement: Factors and methods to increase volunteer's performance and productivity in ngos during covid-19 pandemic (scout organizations as a model). Bus. Excell. Manag, 11-26.

Grace, J. B. (2008). Structural Equation Modeling for Observational Studies. Journal of Wildlife Management, 72(1), 14-22.

Yakin, A.A., Nopianti, H., & Sumarto, S. (2022). Intercollaboration Scouting Activities and Learning Outcomes of Sociology-Oriented for Civics Education. AL-ISHLAH: Journal Pendidikan, 14(4), 5657-5668.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-31