การจัดการการท่องเที่ยวของธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อยกระดับสู่มาตรฐานสากล

ผู้แต่ง

  • สมใจ ตุ้งกู สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • มณีกัญญา นากามัทสึ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

คำสำคัญ:

ธุรกิจท่องเที่ยว, โครงการต้นแบบจังหวัดภูเก็ต, มาตรฐานสากล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยการจัดการการท่องเที่ยวของธุรกิจท่องเที่ยว 6 ด้าน เพื่อยกระดับสู่มาตรฐานสากลโครงการต้นแบบจังหวัดภูเก็ต และ 2) แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมการจัดการการท่องเที่ยวของธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อยกระดับสู่มาตรฐานสากลโครงการต้นแบบจังหวัดภูเก็ต เป็นการวิจัย
เชิงผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือนักท่องเที่ยวที่เข้าพักโรงแรมในจังหวัดภูเก็ตทั้งในประเทศและผู้เดินทางมาจากต่างประเทศจำนวน 8 โรงแรม ไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน สูตรที่ใช้ในการคำนวณ Cochran จำนวน 399 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน การทดสอบค่า t-test และ F-test และสมการถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน จัดการสนทานากลุ่ม 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 มี 5 ท่านและกลุ่มที่ 2 มี 7 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการจัดการการธุรกิจท่องเที่ยวทั้ง 6 ด้าน ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดได้แก่ ที่พักอาศัย รองลงมาอาหาร การสื่อสาร
ความปลอดภัย การประชาสัมพันธ์ และบริการของภาครัฐ ตามลำดับ และ 2) แนวทางการส่งเสริมกิจกรรม โดยสรุปภาครัฐและทุกภาคส่วนจะต้องร่วมกันดำเนินการจัดทำโครงการและแผนงานโดยมอบหมายให้ภาครัฐเป็นเจ้าภาพ ในการขับเคลื่อนให้ภูเก็ตเป็นเมืองอัจฉริยะทั้ง 14 ด้าน คือ (1) การคมนาคม ทางบก เรือ อากาศ อัจฉริยะ (2) การบริการภาครัฐอัจฉริยะ (3) ความมั่นคงและความปลอดภัยอัจฉริยะ (4) เทคโนโลยีอัจฉริยะ (5) การจัดผังเมืองอัจฉริยะ (6) การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการอัจฉริยะ (7) ศูนย์การศึกษาอัจฉริยะ
(8) ศูนย์สุขภาพอัจฉริยะ (9) การรักษาทรัพยากรธรรมชาติอัจฉริยะ (10) ศูนย์อาหารนานาชาติและอาหารท้องถิ่นอัจฉริยะ (11) ที่พักอาศัยอัจฉริยะในการให้บริการนักท่องเที่ยว (12) บุคลากรทุกสายอาชีพอัจฉริยะ (13) สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ และ (14) การดำรงชีพอัจฉริยะ

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวเดือนสิงหาคม 2564. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564, จาก https://www.mots.go.th/news/category/639

นรินทร์ สังข์รักษา สุภาภรณ์ พรหมฤาษี และ ธีรังกูร วรบำรุงกุล. (2559). รูปแบบและพฤติกรรมท่องเที่ยวที่ไร้ความรีบเร่งของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการหอการค้าไทย มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 36(2), 1-19.

ปรีชา ตรีสุวรรณ. (2557). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว คืออะไร สําคัญอย่างไร. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2567, จาก https://www.facebook.com/487643448028956/posts/573996916060275/

รัฐพล วงศาโรจน์. (2566). 8 เทคโนโลยีตอบโจทย์รูปแบบการท่องเที่ยวยุคใหม่. ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2567, จาก https://www.nia.or.th/8-Travel-Technologies

Bangkokbiznews.com. (2563). โควิดฉุดรายได้ ‘ท่องเที่ยว’ ดิ่ง ‘กรุงไทย’ แนะธุรกิจเร่งปรับตัว. 12 มกราคม 2567,จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/897355#google_vignette

Cochran, W. G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.

Dickman S. (1996). Tourism: An Introductory text (2nd ed.). Australia: Hodder Education.

Kotler, P. & Keller, K. I. (2010). Marketing Management. (12th Ed.). New Delhi: Dorling Kindersley Pvt. Ltd.

Middleton, V. T. C. (1994). Marketing in Travel Tourism. Oxford: Butterworth Heineman.

Thansettakij.com. (2564). เปิดโมเดล‘ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์’ต่างชาติเที่ยวไม่ต้องกักตัว 1 ก.ค.นี้. ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2564, จาก https://www.thansettakij.com/business/474304#google_vignette

Thebangkokinsight.com. (2564). ที่เดียวครบ! คู่มือนักเดินทาง ‘ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์’ ขั้นตอนเข้า-พัก-ออกจากภูเก็ต. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564 จาก https://www.thebangkokinsight.com/ news/business/662007/

Zeithaml, V. A., Parasuraman, A., & Berry, L. L. (1998). SERVQUAL: A Multiple-Item Scale for Managing Consumer Perceptions of Service Quality. Journal of Marketing, 18(45), 437–449.

Zeithaml, V. A., Bitner, M. J. & Gremler, D. D. (2009). Service marketing: integrating customer focus across the firm. (5th ed.). New York: McGraw-Hill/Irwin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-31