แนวทางการจัดการนิติบุคคลอาคารชุดต่อความพึงพอใจของผู้พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การบริการจัดการ, นิติบุคคลอาคารชุด, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการนิติบุคคลอาคารชุดต่อความพึงพอใจของผู้พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้พักอาศัยในอาคารชุด ได้แก่ ด้านความปลอดภัย ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านความสะอาด ด้านการสื่อสารภายในอาคาร และด้านการบริหารจัดการ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้พักอาศัยอาคารชุด 306 คน ใช้สูตรตาราง Krejcie และMorgan เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด จำนวน 10 คน จัดสนทนากลุ่ม 3 ครั้งกลุ่มละ 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการจัดการนิติบุคคลอาคารชุดต่อความพึงพอใจของผู้พักอาศัย ควรประกอบด้วยหลัก 3 ประการ คือ (1) ต้องบริหารจัดการให้เป็นไปตาม พร.บ. ควบคุมอาคารชุด พ.ศ. 2522 และ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (2) ต้องบริหารจัดการด้วยการบริการที่ยิ้มแย้มแจ่มใส และ (3) ต้องบริหารจัดการสาธารณูปโภคและปัจจัยที่เอื้ออาศัยต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และพร้อมรับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ “หลัก 3 สุข” คือสันติสุข สงบสุข ปกติสุข และ 2) ความพึงพอใจต่อการจัดการนิติบุคคลอาคารชุดภาพรวมทั้ง 5 ด้าน ในระดับมาก ด้านการสื่อสารภายในอาคาร อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือด้านการบริหารจัดการ ในระดับมาก ลำดับสาม ได้แก่ ด้านความสะอาด ในระดับปานกลาง ลำดับที่สี่ ได้แก่ ด้านความปลอดภัย ในระดับน้อย และลำดับสุดท้าย ได้แก่ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก
References
กุลิสรา เปล่งศรีเกิด และ ไพโรจน์ เกิดสมุทร์. (2560). คุณภาพการให้บริการของนิติบุคคลอาคารชุดลาซาลพาร์ค อาคาร A สุขุมวิท 105. วารสารวิชการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์), 3(2), 30-39.
เจริญจิตต์ ผจงวิริยาทร. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียมในกรุงเทพมหานครของประชากรในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณิชารัตน์ อัครมณี (2561). โอกาสและข้อจำกัดของการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมโดยใช้แนวคิดสุขภาวะของผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนาคารอาคารสงเคราะห์. (2559). สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยปี2558 และแนวโน้มปี2559. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.
นฤพนธ์ ไชยยศ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัยแนวตั้งในกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิตประจำปี 2559. RSU National Research Conference 2016.
ปรีชา สามัคคี และคณะ. (2557). การพัฒนาชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นสื่อประสมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 19 จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 6(2), 14-26.
ประพล สิทธิชัย. (2557). นโยบายโครงการจัดสรรที่ดินขนาดเล็กพิเศษ (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรรณรัตน์ หะรารักษ์. (2562). กลยุทธ์ในการพัฒนาอาคารชุดพักอาศัย กรณีศึกษาบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) (วิทยานิพนธ์เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชรพงศ์ พงษ์ลีรัตน์. (2556). พฤติกรรมและความสัมพันธ์ของปัจจัยการเลือกซื้อคอนโดมิเนียมกรณีศึกษา คอนโดมิเนียมลุมพินีคอนโดทาวน์โครงการบดินทรเดชา – รามคําแหง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิทวัส รุ่งเรืองผล และพิชชา ฉัตรชัยพลรัตน์. (2564). พฤติกรรมการเลือกซื้อคอนโดมิเนียมของกลุ่มลูกค้า Generation Y. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา, 3(3), 1 - 26.
วิไลวรรณ พกนนท์. (2558). การรับรู้คุณภาพการบริการและความพึงพอใจในการใช้บริการ เอไอเอส พริวิเลจ แอพพลิเคชั่น ของผู้ใช้บริการเครือข่ายเอไอเอสในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Schermerhorn, J. (1984). Management for Productivity. New York: John Wiley and Sons.
Wolman, B. B. (1973). Dictionary of Behavioral Science. London: Litton Educational.
Thaicondoonline. (2556). การบริหารจัดการอาคารชุด. ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2565, จาก www.thaicondoonline.com/cm-condo-manage/77-condomanagement.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว