แบบจำลองนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะของจังหวัดภูเก็ตเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • วิโรจน์ ศิริรัตนรักษ์ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • ธนพล ก่อฐานะ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • บัณฑิต ผังนิรันดร์ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

นวัตกรรม, เมืองอัจฉริยะ, จังหวัดภูเก็ต, การพัฒนาอย่างยั่งยืน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะของจังหวัดภูเก็ตเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน นโยบายของภาครัฐ โครงสร้างพื้นฐาน การมีส่วนร่วมของประชาชน และการยอมรับเทคโนโลยี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของ นโยบายของภาครัฐ โครงสร้างพื้นฐาน การมีส่วนร่วมของประชาชน และการยอมรับเทคโนโลยี ที่ส่งผลต่อนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะของจังหวัดภูเก็ตเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ
3) เพื่อสร้างแบบจำลองนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะของจังหวัดภูเก็ตเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างคือ ตัวแทนครัวเรือนในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 380 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้หลักเกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกต สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการพัฒนาเมืองอัจฉริยะจากกระทรวงพลังงาน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการพัฒนาเมืองอัจฉริยะจากกระทรวงคมนาคม เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการพัฒนาเมืองอัจฉริยะจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับข้อกับนโยบายการพัฒนาเมืองอัจฉริยะจากจังหวัดภูเก็ต และตัวแทนภาคประชาชน รวมทั้งสิ้น 17 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) นวัตกรรมเมืองอัจฉริยะของจังหวัดภูเก็ต มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการยอมรับเทคโนโลยี การมีส่วนร่วมของประชาชน นโยบายของภาครัฐ และโครงสร้างพื้นฐาน มีความสำคัญอยู่ในระดับมาก 2) นโยบายของภาครัฐ มีอิทธิพลเชิงสาเหตุรวมต่อนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะของจังหวัดภูเก็ต มากที่สุด รองลงมาได้แก่โครงสร้างพื้นฐาน การยอมรับเทคโนโลยี และ การมีส่วนร่วมของประชาชน ตามลำดับ และ 3) แบบจำลองที่พัฒนาขึ้นคือ “GIT2P Model” เป็นแบบจำลองให้หน่วยงานที่สนับสนุนส่งเสริมนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะของจังหวัดภูเก็ตเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มุ่งเน้นให้พัฒนาทางสิ่งแวดล้อมการบริหารจัดการภาครัฐ เศรษฐกิจ การเดินทางและการขนส่ง

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2560). การส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ. ค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2566, จาก https://www.depa.or.th/th/smart-city-plan/smart-city-office

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และคณะ. (2551). แบบจำลองสมการโครงสร้าง. กรุงเทพฯ: สามลดา.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2562). เมืองอัจฉริยะชายแดนใต้ พร้อมรองรับฐานวิถีชีวิตใหม่" / “เมืองอัจฉริยะชายแดนใต้ ตอบโจทย์ฐานวิถีชีวิตใหม่” “เมืองอัจฉริยะชายแดนใต้ ภาพสะท้อนฐานวิถีชีวิตใหม่. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

เอกชัย สุมาลี และชัยวุฒิ ตันไชย. (2562). Smart City เมืองอัจฉริยะ: แนวคิดพื้นฐานและระบบปฏิบัติการสำหรับเมืองในยุคดิจิทัล. ค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2566, จาก https://kpilib.com/library/en/books/ kpibook-25587/

อารยะ ปรีชาเมตตา. (2560). เมืองอัจฉริยะกับความสามารถในการครอบครองที่อยู่อาศัย. ค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2566, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/117301

Engineering Today. (2020). หนุนทางสร้างเมืองอัจฉริยะ. ค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2566, จาก https://www.engineeringtoday.net/engineering-today-magazine-issue-2020/

Grace, J. B. (2008). Structural Equation Model. For observational studies. Journal of Wild life Management, 72(1), 14-22.

Kanoknukulchai, W. (2019). Smart city: Opportunities and challenges for engineers. Prachachat, (July, 11-14), 17.

Lazaroiu, G., & Harrison, A. (2021). Internet of things sensing infrastructures and data-driven planning technologies in smart sustainable city governance and management. Geopolitics, History & International Relations, 13(2), 23-36.

Lebrument, N., Zumbo-Lebrument, C., Rochette, C., & Roulet, T. J. (2021). Triggering participation in smart cities: Political efficacy, public administration satisfaction and sense of belonging as drivers of citizens’ intention. Technological Forecasting and Social Change, 171, 120938.

Liu, M., Wu, J., Zhu, C., & Hu, K. (2022). Factors Influencing the Acceptance of Robo-Taxi Services in China: An Extended Technology Acceptance Model Analysis. Journal of Advanced Transportation, 2022, 1-11.

Naidoo, C., & Ramphal, R. R. (2018). The factors that affect public participation for effective municipal service delivery: A case of ward committees. South African Journal of Industrial Engineering, 29(4), 82-93.

Yunus, M. (2021). The Policy of Public-Private Partnerships on Development of Tourism Infrastructure Destination and Tourism Service Innovation as Mediating Variable in Sinjai Regency, Indonesia. Turkish Journal of Computer and Mathematics Education (TURCOMAT), 12(11), 1470-1479.

Waqar, A., Othman, I., Almujibah, H., Khan, M. B., Alotaibi, S., & Elhassan, A. A. (2023). Factors influencing adoption of digital twin advanced technologies for smart city development: Evidence from Malaysia. Buildings, 13(3), 775.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-31