แนวทางการพัฒนาศักยภาพตำรวจสันติบาลสู่ความเป็น สันติบาลมืออาชีพในระดับสากล
คำสำคัญ:
ศักยภาพความเป็นมืออาชีพ, ความเป็นสากล, กองบัญชาการตำรวจสันติบาลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพของตำรวจสันติบาลสู่ความเป็นสันติบาลมืออาชีพในระดับสากล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
35 ท่าน ประกอบด้วย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 4 ท่าน กองบัญชาการตำรวจสันติบาล 30 ท่าน
และ นักวิชาการทางรัฐประศาสนศาสตร์ 1 ท่าน โดยใช้แบบสัมภาษณ์และการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือและวิธีการในการรวบรวมข้อมูล และนำมาวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการศึกษา พบว่า แนวทางการการพัฒนาศักยภาพที่สำคัญของตำรวจสันติบาลสู่ความเป็นมืออาชีพในระดับสากล คือ การพัฒนาระบบการเรียนการสอน หลักสูตรการอบรม การจัดการความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้ หรือ การพัฒนาบุคลากร การยึดมั่นในหลักคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต การส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงด้านการบังคับใช้กฎหมาย และการส่งเสริมการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างหน่วยงานภายในประเทศและหน่วยงานต่างประเทศ ดังนั้น ข้อเสนอสำคัญแนวทางการพัฒนาศักยภาพตำรวจสันติบาลสู่ความเป็นมืออาชีพในระดับสากล จึงมุ่งเน้นไปที่การแก้ไขปัญหาปัจจุบันและปฏิบัติตามมาตรฐานในระดับประเทศและสากล โดยได้จำแนกเป็น 3 ระยะ รวม 11 แผนงาน ประกอบด้วย ระยะเร่งด่วนดำเนินการโดยเร็วที่สุด จำนวน 7 แผนงาน ระยะกลาง ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี จำนวน 2 แผนงาน และระยะยาว ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปี จำนวน 2 แผนงาน เป็นแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีคุณค่าต่อไป
References
กองบัญชาการตำรวจสันติบาล. (2565). สารสนเทศหน่วยงาน. ค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2566, จาก https://www.sbpolice.go.th/
ฉันทิช มณฑา. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานของตำรวจสันติบาลในภาคตะวันออก. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์. (2567). ยุติ-ธรรมอำพราง: ความไม่เป็นธรรมที่ซ่อนในกระบวนการยุติธรรมไทย. ค้นเมื่อ 23 กันยายน 2566, จาก https://www.the101.world/inefficient-justice-process/
พิเศษ ปั้นรัตน์. (2554). การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ภานุวัฒน์ บัวชาติ และ ปองปรารถน์ สุทรเภสัช. (2566). การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรตำรวจยุคใหม่ฝ่ายอำนวยการ. วารสารอาชญาวิทยาและสังคมศาสตร์, 5(1), 1-20.
รณกร รัตนะพร และ อติพร เกิดเรือง. (2565). แนวทางการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสม ของกองบัญชาการตำรวจสันติบาล. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(3), 39-54.
วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์ และ คณะ. (2548). การวางแผนกลยุทธ์: ศิลปะการกำหนดแผนองค์การสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: อินโนกราฟฟิกส์.
สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย. (2558). นัยสำคัญทางประวัติศาสตร์ของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาไทย ใน กระบวนการยุติธรรมไทย รู้อดีต เข้าใจปัจจุบัน เชื่อมั่นอนาคต. กรุงเทพฯ: สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย.
สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล. (2559). การศึกษาเปรียบเทียบความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลและผู้แทนนิติบุคคลของประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ ในประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อัมราภรณ์ แก้วอินทร์. (2555). กลยุทธ์การบริหารงานบุคลากรข้าราชการตำรวจสังกัดกองบังคับการ 3 กองบัญชาการตำรวจสันติบาล. ค้นเมื่อ 23 กันยายน 2566, จาก http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/files/2555_1380163711_1.pdf
McKinsey, Q. (2008). Enduring Ideas: Classic McKinsey framework that continue to inform management thinking. Retrieved September 23, 2023, from https://www.mckinsey.com/ capabilities/strategy-and-corporate-finance/our-insights/enduring-ideas-classic-mckinsey-frameworks-that-continue-to-inform-management-thinking
Wohlstetter, A. (1964). Theory and Opposed-system design. Journal of Conflict Resolution, 12(3), 302-331.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว