การเปลี่ยนถ่ายหลักสูตรการฝึกอบรมและประเมินผลฐานสมรรถนะ สำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
คำสำคัญ:
การเปลี่ยนถ่าย, การฝึกอบรมและประเมินผลฐานสมรรถนะ, พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนถ่ายหลักสูตรการฝึกอบรมและประเมินผลพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจากแบบดั้งเดิมเป็นแบบฐานสมรรถนะ และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการเปลี่ยนถ่ายหลักสูตรการฝึกอบรมและประเมินผลพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจากแบบดั้งเดิมเป็นแบบฐานสมรรถนะ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกอบรมและประเมินผลฐานสมรรถนะ เครื่องมือการวิจัยคือ การสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า 1) การเปลี่ยนถ่ายหลักสูตรการฝึกอบรมและประเมินผลพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจากแบบดั้งเดิมเป็นแบบฐานสมรรถนะ มีองค์ประกอบ 6 ด้าน ได้แก่ เนื้อหาในการฝึกอบรม ระยะเวลาในการฝึกอบรม วิทยากร สื่อและอุปกรณ์ สถานที่ฝึกอบรม และ การประเมินผล 2) แนวทางการเปลี่ยนถ่ายหลักสูตรการฝึกอบรมและประเมินผลฐานสมรรถนะสำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เริ่มจากผู้บริหารระดับสูงมีความเข้าใจถึงประโยชน์ของหลักสูตรการฝึกอบรมและประเมินผลฐานสมรรถนะ มีนโยบายในพัฒนาบุคลากร สื่อ อุปกรณ์ และทรัพยากรที่จำเป็น ฝ่ายดำเนินการฝึกอบรมศึกษาข้อกำหนดและแนวทางการฝึกอบรมและประเมินผลฐานสมรรถนะโดยมีรายละเอียดคือ 1) แยกเนื้อหาการฝึกอบรมเพื่อระบุและตอบสนองต่อการค้ามนุษย์ออกจากหัวข้อความปลอดภัยทางการบิน 2) กำหนดระยะเวลาในการฝึกอบรมให้ครอบคลุมกับเนื้อหา 3) ฝึกอบรมวิทยากรให้มีความรู้ความเข้าใจในแนวทางการฝึกอบรมและประเมินผลฐานสมรรถนะ 4) พัฒนาสื่อและอุปกรณ์ให้มีความทันสมัย และเป็นตัวแทนของอุปกรณ์ที่ใช้จริงในการปฏิบัติงาน 5) จัดสถานที่ในการฝึกอบรมเป็นไปตามข้อกำหนดของรัฐ และ 6) กำหนดแนวทางการประเมินผลฐานสมรรถนะให้ชัดเจน รวมถึงจัดทำเอกสารการประเมินผลตามรูปแบบของการประเมินผลฐานสมรรถนะ และต้องมีการประเมินผลการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงหลักสูตรการฝึกอบรมให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
References
ชลธิชา นำพา. (2564). ตัวแบบสมรรถนะที่เป็นเลิศของพนักงานต้อนรับในอากาศยานในประเทศไทย. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 7(1), 44-65.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2544). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิพวรรณ พูลเอียด. (2564). สมรรถนะในการทำงานของบุคลากรกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (ส่วนกลาง). ค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2566, จาก http://www.mpa-mba.ru.ac.th/images/Project/treatise_Bangkok14_09092021/6217950062.pdf
ธำรง บัวศรี. (2535). ทฤษฎีหลักสูตร: การออกแบบและพัฒนา. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ และ ดรุณี ปัญจรัตนากร. (2566). สถาปัตยกรรมการจัดการศึกษาฐานสมรรถนะตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ สถาบันวิจัย พัฒนา และสาธิตการศึกษา, 6(1), 36-50
พัชรา ชัยวัฒนากุลกิจ. (2561). การฝึกอบรมฐานสมรรถนะด้านความปลอดภัยสำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันการบินพลเรือน สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
วรรณสิริ ธุระแพง. (2564). การพัฒนากิจกรรมการฝึกอบรมโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกันผ่านระบบสังคมออนไลน์สำหรับธุรกิจ เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านคลังสินค้าและพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของพนักงานในองค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 6. (2562). การสร้างหลักสูตรและการทำงานด้านการจัดอบรม. ค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2566, จาก https://km.cpd.go.th/view.php?id=758
สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (2566). ข้อกำหนดการรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ (Air Operator Certificate Requirements). กรุงเทพฯ: สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย.
สุจิตรา ปทุมลังการ์. (2552). ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรฐานสมรรถนะและการประเมินผล. หนังสือพิมพ์สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและอาชีพ ฉบับเดือนมกราคม 2552, 1-11.
สุภาวดี กะลาสี. (2562). การพัฒนาและฝึกอบรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของบคลากรกรมชลประทาน (สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
International Civil Aviation Organization. (2020). Doc 10002 Cabin crew safety training manual. 2nd Edition. ICAO.
International Civil Aviation Organization. (2020). Doc 9868 Procedures for air navigation services - Training. 3rd Edition. ICAO.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว