บทบาทภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมการทำงานอย่างมีความสุขหลังเกษียณ สำหรับผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
บทบาท, ภาคีเครือข่าย , , การส่งเสริมการทำงานอย่างมีความสุข, ผู้สูงอายุหลังเกษียณบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์บทบาทภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมการทำงานอย่างมีความสุขหลังเกษียณสำหรับผู้สูงอายุและ 2) เสนอแนวทางการบริหารจัดการภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมการทำงานอย่างมีความสุขหลังเกษียณสำหรับผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods) มีเครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม/แบบสัมภาษณ์ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มเป้าหมาย คือ หน่วยงานภาครัฐที่ดำเนินงานเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุและหน่วยงานภาคเอกชนที่รับผู้สูงอายุเข้าทำงานรวม 14 หน่วยงาน จำนวน 15 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 โครงสร้างวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ความถี่และการสัมภาษณ์ด้วยการวิเคราะห์สาระ ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์การภาครัฐบางหน่วยงานได้รับงบประมาณอย่างจำกัด ซึ่งไม่เพียงพอต่อการดำเนินงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ 2) การพัฒนาองค์ความรู้ด้านรูปแบบที่เหมาะสมในการประสานความร่วมมือภาคีเครือข่ายของภาครัฐในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุหลังเกษียณตามบทบาท ภารกิจ หน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน
ผลการวิจัยนี้นำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ด้านรูปแบบที่เหมาะสมในการประสานความร่วมมือภาคีเครือข่ายของภาครัฐในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุหลังเกษียณตามบทบาท ภารกิจ หน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน โดย (1) รูปแบบความร่วมมือแบบบูรณาการขับเคลื่อนในเชิงนโยบายจากส่วนบนลงสู่ระดับปฏิบัติ โดยคำนึงถึงความร่วมมือทั้งระหว่างหน่วยงาน ระดับพื้นที่ (2) มีรูปแบบโครงสร้างองค์การแบบเสมือนจริงที่ยืดหยุ่นตามระบบการทำงานของแต่ละหน่วยงาน (3) มีการสื่อสารและติดต่อประสานงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันตามสภาพปัญหาเพื่อนำไปสู่ระดับปฏิบัติตามแผนและโครงการ (4) มุ่งเน้นการพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางของผู้สูงอายุในการใช้งานที่มีประสิทธิภาพของการบริหารจัดการทุกหน่วยงานและ (5) จัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่กำกับ ติดตามการดำเนินงานของภาคีเครือข่าย
References
กมลพร กัลยาณมิตร. (2565). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เปลี่ยนภาระเป็นพลัง ร่วมพัฒนาสังคม.วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 7(2), 31-46.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ.2566-2580). กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2567,จาก https://www.dop.go.th/th/laws/1/28/843
กรมการจัดหางาน. (2564). วิสัยทัศน์ พันธกิจ กรมการจัดหางาน. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2567,จาก https://www.doe.go.th/prd/main/general/param/site/1/cat/27/sub/0/pull/singleview/view/detail/object_id/2
กรมสุขภาพจิต. (2558). คู่มือความสุข 5 มิติสำ หรับผู้สูงอายุ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน. (2564). ภารกิจอำนาจหน้าที่. ค้นเมื่อ 13 มกราคม 2567,จาก https://www. dsd.go.th/ DSD/Home/Mission
กระทรวงแรงงาน (2562). ประกาศ กระทรวงแรงงาน เรื่อง ขอความร่วมมือและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีงานทำ. ค้นเมื่อ 13 มกราคม 2567,จาก https://www.mol.go.th/wp-content/uploads/sites/2/2019/ 07/prakad_elderly-compensation_for3march2019.pdf
เกษสุนีย์ บำรุงจิตต์. (2554). การพัฒนารูปแบบความร่วมมือการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แก้วขวัญ ตั้งติพงศ์กูล และศุภชัย ศรีสุชาติ. (2559). โครงการวิจัยถอดบทเรียนสถานประกอบที่มีการจ้างแรงงานสูงวัย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.
ธัญญารัตน์ พวงพยอม (2560). มาตรการทางภาษีเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ. วารสารสรรพากร มุมสรรพากร, 6(62),14-19
ธรรมมา เจียรธราวานิช และคณะ (2566). แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อสังคมผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 9 (1), 121-138.
นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2564). สภาพปัญหาและรูปแบบการจ้างแรงงานสูงอายุของสถานประกอบการเอกชนในประเทศไทย. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 4(1), 50-66.
มณฑิชา เจนพานิชทรัพย์ และคณะ (2566). การพัฒนารูปแบบการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดบุรีรัมย์, วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 17(1), 255-271.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2562). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2562 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 13 มกราคม 2567, จาก https://thaitgri.org/
วรชัย วิภูอุปรโคตร และคณะ (2560). รูปแบบเครือข่ายมหาวิทยาลัยในการบรรลุผลประโยชน์ร่วมกันของการพัฒนาภูมิภาคสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษย์ศาสตร์-สังคมศาสตร์) มหาวิทยาลัยนเรศวร, 10(2), 37-51.
สุรีรัตน์ ลัคนานิตย์. (2564). ส่องเทรนด์อาชีพผู้สูงอายุเกษียณแต่ยังมีไฟก็ทำงานได้. พระสยามแมกกาซีน (ฉบับที่ 2), 32-33..
Erik Hernæs, et.al. (2023). Ageing and labor productivity. Labour Economics, 82 (2023), 2-11.
Etzkowitz, H. and Leydesdorff, L, (1995). The Triple Helix -- University-Industry-Government Relations: A Laboratory for Knowledge Based Economic Development. EASST Review, 14 (1), 14-19
Hanson, E. M. (2003). Educational Administration and Organization Behavior. Boston: Education International Printer.
Huang, W.H. et al. (2019). Impact of Population and Workforce Aging on Economic Growth: Case Study of Taiwan. Sustainability, 11, 1-13.
Jessye Muller. (2024). Living longer, working longer: How to further activate an ageing workforce. Retrieved January 20, 2024, from https://www.eurofound.europa.eu/en/ blog/2024/living-longer-working-longer-how-further-activate-ageing-workforce.
O’Toole, et.al. (2004). Desperately Seeking Selznick: Cooptation and the Dark Side of Public Management in Networks. Public Administration Review,64 (6), 681-693
Serban, A.C. (2012). Aging Population and Effects on Labour Market. Procedia Economics and Finance, 1, 356 – 364.
United Nations (2019). World Population Ageing 2019. Retrieved on January 20, 2024, from https://www.un.org/ en/development/desa/population/publications/pdf.
World Health Organization: WHO (2022). Ageing and health. Retrieved on January 20, 2024, from https://www. who.int/news-room/fact-sheets/detail/ageing-and-health.
World Health Organization. (2022). Tackling abuse of older people: five priorities for the United Nations decade of healthy ageing (2021–2030). World Health Organization. Retrieved on January 20, 2024, from https://iris.who.int/handle/10665/356151.
Zhang, C & Zhao, Y. (2012). The Relationship between Elderly Employment and Youth Employment: Evidence from China. Beijing: China Center for Economic Research, Peking University; Cambridge, MA: Department of Economics, Harvard University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว