กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดความเป็นพลโลก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • อุเทณร์ ขันติยู สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ศักดินาภรณ์ นันที สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • สุชาติ บางวิเศษ สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, การบริหารสถานศึกษา, พลโลก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดความเป็นพลโลก 2) เพื่อสร้างและพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดความเป็นพลโลก 3) เพื่อประเมินกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดความเป็นพลโลก โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 272 โรงเรียน โรงเรียนละ 5 คนรวมเป็น จำนวน 1,360 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNI modified ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าฝ่ายวิชาการ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานประกันคุณภาพภายใน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียนจากสถานศึกษา จำนวน 5 โรงเรียน โรงเรียนละ 5 คน รวม 25 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็น โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 2) กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 32 กลยุทธ์ 32 โครงการ และ 32 ตัวชี้วัดวัดความสำเร็จ และ 3) ผลการประเมินกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดความเป็นพลโลก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความถูกต้อง และด้านความเหมาะสม ตามลำดับ

References

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2563). สถาบันวิจัย กสศ. ห่วงกลุ่มเด็กด้อยโอกาสการเรียนรู้ถดถอย หลังปิดเทอมนานขึ้น. ค้นเมื่อ 1 มกราคม 2567, จาก https://www.eef.or.th/97-2/

ดารัตน์ กันเอี่ยม. (2561). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประจำตามแนวคิดความเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21. (ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีรศักดิ์ อุปรมัย, อุปไมย อธิชัย และสุชาติ บางวิเศษ. (2563). การบริหารและการจัดการศึกษาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นภาพร แสงนิล. (2561). กลยุทธ์การเสริมสร้างคณลักษณะความเป็นพลโลกให้กับผู้เรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดน่าน (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

โนเรีย บินหะยีนิยิ. (2555). การบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปาจรีย์ รัตนานุสนธิ์ และวรรณี แกมเกตุ. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะความเป็นพลโลกของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. An Online Journal of Education (OJED), 9(2), 686-698.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2553. (2553, กรกฎาคม 22). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 127 ตอนพิเศษ 45 ก, หน้า 1-3.

มูลนิธิการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองไทย. (2556). กรอบแนวคิดหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย. ค้นเมื่อ 18 มกราคม 2567, จาก http://thaiciviceducation.org/ wp-content/uploads/2017/05/กรอบหลักสูตร-DCE.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ ( พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานศึกษาธิการภาค 10, สำนักงานศึกษาธิการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2564). ข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564. ค้นเมื่อ 1 มกราคม 2567, จากhttps://reo10.moe.go.th/wp-content/uploads/2022/04/รายงานสารสนเทศด้านการศึกษา-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-ปีงบประมาณ-พ.ศ.-2564_compressed.pdf

สมยศ ชี้แจง. (2558). การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงสำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทย. สยามวิชาการ, 16(26), 17-30.

Clausewitz, C. V. (1984). On War. ed. and trans., Michael Howard and Peter Paret. Princeton, NJ: Princeton University Press.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Popper, K. R., & Eccles, J. C. (1977). The Self and Its Brain: An Argument for Interactionism. Philosophy, 54(208), 249-251.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30