แนวทางการธำรงรักษาพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน สายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สุธีระพงษ์ สว่างวงศ์ หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการบิน สถาบันการบินพลเรือน
  • ธัญญรัตน์ คำเพราะ หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการบิน สถาบันการบินพลเรือน
  • สถาพร ศรีสมวงศ์ หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการบิน สถาบันการบินพลเรือน

คำสำคัญ:

แนวทางการธำรงรักษา, พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน, สายการบินต้นทุนต่ำ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหา และสาเหตุการลาออกของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย และ 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการธำรงรักษาพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งประกอบไปด้วยพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่เคยปฏิบัติงาน และลาออกจำนวน 15 คน ผู้บริหารที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนทรัพยากรบุคคลส่วนงานพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจำนวน 3 คน จากนั้นนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และประมวลผล

ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาและสาเหตุการลาออกของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ 1) ด้านความมั่นคง และความก้าวหน้าในอาชีพ 2) ด้านนโยบายค่าตอบแทน และสวัสดิการ 3) ด้านการสร้างสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานดังนั้นเพื่อพัฒนาแนวทางการธำรงรักษาพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินผู้บริหารสายการบินควรกำหนดนโยบายการบริหารงานซึ่งพิจารณาความต้องการจากพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพื่อส่งเสริมความเป็นได้ในเชิงการบริหารจัดการโดยการพิจารณาปรับเพิ่มสัญญาจ้างงาน เปิดโอกาสให้มีการโยกย้ายภายในองค์กรที่เหมาะสม การปรับปรุงค่าตอบแทน และสวัสดิการให้เหมาะสมกับตลาดแรงงานในปัจจุบัน นอกจากนี้การสร้างสภาพแวดล้อมภายในองค์กรที่เอื้ออำนวยต่อการทำงานโดยการพิจารณาปรับเพิ่มช่องทางการสื่อสารภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อนําเสนอแก่ผู้บริหารระดับสูงของสายการบินนำไปใช้ประกอบการพัฒนาแนวทางการธำรงรักษาพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของสายการบิน

References

ทิพรัตน์ บำรุงพนิชถาวร. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะหมดไฟในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

นริสร์ อัศนธรรม. (2566). ความผูกพันในงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินบริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) (สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต). วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปฏิมา สุคันธนาค. (2561). ปัจจัยการธำรงรักษาที่มีผลต่อการคงอยู่ของคนเก่งใน บจก. วิทยุการบินแห่งประเทศไทย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(19), 71–87.

รุ่งรวี ทรัพย์เกรียงไกร. (2564). ความขัดแย้งในการทำงาน และความพึงพอใจในงานที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการลาออกจากงานของบุคลากรในโรงไฟฟ้าแห่งหนึ่ง ในจังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (2565). รายงานสภาวะอุตสาหกรรมการบินในประเทศไทย พ.ศ 2565. ค้นเมื่อ 16 เมษายน 2567, จาก https://www.caat.or.th/th/archives/73687

สุปรียา ม่วงรอด. (2563). แนวทางการรักษาบุคลากรเจนเนอเรชั่นวายในธุรกิจโรงแรมขนาดกลาง พื้นที่กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อนุพงษ์ หมื่นชัยยะ. (2561). แนวทางการธำรงรักษาบุคลากรระดับปฏิบัติการของโรงแรม 4 ดาว ในจังหวัดภูเก็ต (วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อรพิน การะกูล. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการลาออกของพนักงานในบริษัทเอกชน (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Bakker, A., Demerouti, E., & Sanz-Vergel, AI. (2014). Burnout and work engagement: The JD-R approach. Annual Review of Organizational Psychology and Organizational Behavior, 1(1), 389-411.

Efthymiou, M., et al. (2021). The factors influencing entry level airline pilot retention: An empirical study of Ryanair. Journal of Air Transport Management, 91(5),101997.

Griffeth, R. W., & Hom, P. W. (1995). The employee turnover process. Research in Personnel and Human Resources Management, 13, 245-293.

Herzberg, F. (1959). The Motivation to Work. New York: John Wiley and Sons.

Maslow, A.H. (1943). A Theory of Human Motivation. Psychological Review, 50, 370-396.

McLagan, P. A. (1989). Models for HRD practice. Training and Development Journal, 43(9), 49-59.

Mobley, W. H. (1977). Intermediate linkages in the relationship between job satisfaction and employee turnover. Journal of Applied Psychology, 62(2), 237–240.

Nagarathanam, R., Venkitasamy, S., & Attiah, E. M. (2018). The impact of career development practices on employees' retention in qatar aviation industry. In Proceedings of Ascent International Conference Proceeding.

Price, L. J. (1977). The study of Turnover. Iowa: Iowa State University Press.

Williams, C. (2003). Sky Service: The Demands of Emotional Labour in the Airline Industry. Gender, Work and Organization, 10(5), 513-550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-25