ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • เฉลิมพร ราศรีชัย สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ศักดินาภรณ์ นันที สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • สุขุม พรมเมืองคุณ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

ข้อเสนอเชิงนโยบาย, การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล, การพัฒนาที่ยั่งยืน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และ 3) ตรวจสอบและประเมินข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการ ครูหัวหน้างานเทคโนโลยีสารสนเทศ และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 1,088 คน  ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าพิสัย และวิเคราะห์ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพปัจจุบันมีระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น เรียงลำดับจากค่ามากไปน้อย ดังนี้ 1) ด้านการบริหารการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล มีค่า 2) ด้านการบริหารเทคโนโลยีสำหรับสถานศึกษาในยุคดิจิทัล 3) ด้านการพัฒนาครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล และ 4) ด้านการพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ตามลำดับ
  2. ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มี 12 เป้าหมาย 52 แนวทางของนโยบาย 39 กลไกของนโยบาย
  3. ผลการตรวจสอบและประเมินข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน

References

ชรินรัตน์ จิตตสุโภ. (2561). ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กสู่ความเป็นเลิศสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์. (2561). ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารภาครัฐ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ธนุ วงษ์จินดา. (2556). ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วชิระ พูลพิทักษ์. (2563). ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ในจังหวัดนครพนม (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับประกาศในราชกิจจานุเบกษา). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562 การปฏิรูปการศึกษาไทยในยุคดิจิทัล. นนทบุรี: ภาพพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). รายงานการศึกษาไทย พ.ศ. 2564 (Education in Thailand 2021). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานศึกษาธิการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2563). แผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (พ.ศ. 2563-2565). อุดรธานี: สำนักงานศึกษาธิการภาค 10.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2560). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล School Management in Digital Era. พิษณุโลก: พิษณุโลกดอทคอม.

Knezevich, S. J. (1984). Administration of Policy Education. 4th ed. New York: Harper and Row.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

McNichols, T. J. (1977). Policy making and executive action. New York: McGraw-Hill.

Terry, G. R. (1977). Principle of Management. 7th ed. Homewood: Richard D. Train.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-08