การพัฒนากลยุทธ์การยกระดับความเป็นพลเมืองดิจิทัลขั้นสูงของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี
คำสำคัญ:
การพัฒนากลยุทธ์, การยกระดับความเป็นพลเมืองดิจิทัลขั้นสูงบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการยกระดับความเป็นพลเมืองดิจิทัลขั้นสูง ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การยกระดับความเป็นพลเมืองดิจิทัลขั้นสูง ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) แบ่งการวิจัยเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการยกระดับความเป็นพลเมืองดิจิทัลขั้นสูง ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี โดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 348 คน ระยะที่ 2 การพัฒนากลยุทธ์การยกระดับความเป็นพลเมืองดิจิทัลขั้นสูง ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี ดำเนินการร่างกลยุทธ์โดยใช้ SWOT Analysis ประเมินกลยุทธ์ ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยใช้แบบประเมินและการสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าความถี่ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI Modified) และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลจากวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการยกระดับความเป็นพลเมืองดิจิทัลขั้นสูง ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของการยกระดับความเป็นพลเมืองดิจิทัลขั้นสูง ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) กลยุทธ์การยกระดับความเป็นพลเมืองดิจิทัลขั้นสูง ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี มีองค์ประกอบของกลยุทธ์ คือ หลักการ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์หลัก 5 ด้าน กลยุทธ์รอง 14 กลยุทธ์ และ วิธีการดำเนินการ/กิจกรรม/แนวทาง 79 ตัวชี้วัด ผลการประเมินกลยุทธ์โดยผู้เชี่ยวชาญ 9 ท่าน พบว่า กลยุทธ์มีความเหมาะสม และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานกระทรวงศึกษาธิการ.
กาญจนา เดชสม. (2565). กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ภาณุภัทร ลิ้มจำรูญ. (2563). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามแนวคิดทักษะนวัตกรสังคม (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เศกสรร สกนธวัฒน์. (2560). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยตามแนวคิดการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความเป็นพลเมืองดิจิทัล (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2562). พลเมืองดิจิทัล. ค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content /48161-Citizenship).html
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สระบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2562). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2561. กรุงเทพฯ: สำนักยุทธศาสตร์.
สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (2560). ความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Intelligence: DQ) ที่จำเป็นสำหรับเด็กในศตวรรษที่ 21. ค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2565, จาก http://www.qlf.or.th/ Home/Contents/1137
Businessplus. (2016). กลยุทธ์มหาสมุทรสีคราม Blue Ocean. ค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2566, จาก https://www.businessplus.co.th/Activities/ข่าวสาร-hrm-c021/กลยุทธ์มหาสมุทรสีคราม-blue-ocean-v8859
DQ Institute. (2017). The Top 8 Empowerments of Dq Education. Digital Intelligence Quotient Impact (Part 2). Retrieved May 13, 2023, from https://www.dqinstitute.org/DQ-Impact-Report-PART2.pdf
DQ Institute Leading Digital Education, Culture, and Innovation. (2019). Digital Intelligence (Dq): Dq Global Standards Report 2019 Common Framework for Digital Literacy, Skills and Readiness. Retrieved May 13, 2023, from https://www.dqinstitute.org/wpcontent/uploads/ 2019/11/DQGlobalStandardsReport2019.pdf
Prensky, M. (2001). Digital natives, digital immigrants in the horizon. MCB University Press,9 (5), 1-6.
Ribble, M., & Bailey, G. (2007). Digital citizenship in schools. Washington DC: ISTE.
Park, Y. (2016). 8 digital skills we must teach our children. Retrieved May 13, 2023, from https://www.weforum.org/agenda/2016/06/8-digital-skills-we-must-teachour-children
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว