รูปแบบการจัดการขยะพลาสติกในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพ: ศึกษาการจัดการขยะในระดับสากล
คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการ, ขยะพลาสติกในประเทศไทย, ประสิทธิภาพ, การจัดการขยะในระดับสากลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะพลาสติกในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพ 2) เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการจัดการขยะพลาสติกที่มีประสิทธิภาพในระดับสากลกับรูปแบบการจัดการขยะพลาสติกที่มีอยู่ในประเทศไทย และ 3) เพื่อเสนอแนะรูปแบบการบังคับใช้กฎระเบียบ กรอบกฎหมาย รวมทั้งแนวทางการสร้างความร่วมมือจากกลุ่มคนในสังคมในการจัดการขยะพลาสติกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเป็นการศึกษาการวิจัยเชิงผสมผสาน ซึ่งจะแบ่งการเก็บข้อมูลออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยการเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน และส่วนสุดท้ายจะเป็นการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มจากกลุ่ม รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ที่ได้รับจากผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาวิชาชีพ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ส่วนใหญ่ให้ความสนใจและมีส่วนร่วมในการลดขยะพลาสติกซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการขยะพลาสติกมากที่สุด 2) รูปแบบการจัดการขยะพลาสติกในระดับสากลโดยเฉพาะประเทศกลุ่ม เป้าหมายมีรูปแบบการจัดการขยะพลาสติกที่ชัดเจน และประชาชนที่อาศัยอยู่ในประเทศนั้น ๆ มีทัศนคติในเรื่องของความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เข้มแข็งและเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้การจัดการขยะพลาสติกในระดับสากลนั้นมีประสิทธิภาพ และ 3) สำหรับประเทศไทย การออกกฎหมายมาใช้บังคับมีส่วนสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนในประเทศไทย แต่การใช้บังคับกฎหมายภาคประชาชนเป็นไปได้ยาก ต้องสร้างแรงจูงใจให้กับกลุ่มคนในสังคม ผลักดันให้มีการสร้างวัฒนธรรมในการให้ความสำคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อม ถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกันทางสังคม และหากมีกฎระเบียบหรือกฎหมายเข้ามาช่วยกำกับและกำหนดพฤติกรรมของประชาชนในการจัดการขยะพลาสติกที่ยั่งยืนขึ้น ดังนั้น การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะพลาสติกในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพ ต้องมีการดำเนินการหลายส่วนไปพร้อม ๆ กันเครื่องมือเหล่านี้อาจไม่ได้มีผลต่อการจัดการขยะพลาสติกเลยหากปราศจากการร่วมมือทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกันดำเนินการขับขับเคลื่อนอย่างมุ่งมั่น ต่อเนื่อง และยั่งยืนต่อไป
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2562). Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573. ค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2567, จาก https://www.pcd.go.th/garbage/poster-roadmap-การจัดการขยะพลาสติก-พ/
กรมควบคุมมลพิษ. (2564). ข้อมูลขยะมูลฝอยชุมชน เอกสารประกอบการจัดทำรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ.
กรุงเทพธุรกิจ. (2564ข). ส่องสถานการณ์ 'ขยะพลาสติก' ช่วงการระบาด 'โควิด-19'. ค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2567, จากhttps://www.bangkokbiznews.com/social/942224
จอมตวัญจ์ อาคมานนท์ และคณะ. (2563). ความรู้และการรับรู้ที่มีต่อพฤติกรรมในการจัดการขยะพลาสติกของคนกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย, 25(3), 170 – 185.
ชาย โพธิสิตา. (2562). ศาสตร์และศิลป์ การรวิจัยเชิงคุณภาพ กรุงเทพฯ: อัมรินทร์ พริ้นติ้ง.
ณิชมน พรพัฒนกุลชัย. (2566). ขยะสร้างคน ชุมชนจัดการขยะตัวอย่างเทศบาลท่งสง (สารนิพนธ์ปริญญาการ จัดการมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40ก, น. 1-90.
วนิดา เสริมเหลา และศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ. (2564). ถอดบทเรียนความสำเร็จจากการจัดการขยะของประเทศญี่ปุ่นสิงคโปร์เกาหลีใต้และไต้หวัน. Journal of Modern Learning Development, 6(1), 234–249.
วัฒนพงษ์ สิงห์วิเศษ. (2556). ความพร้อมของประชากรกับการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะชุมชน อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา (การศึกษาตามวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
วิชัย โถสุวรรณจินดา. (2558). มาตรการทางกฎหมายในการจัดการขยะในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2567, จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/31949/35024
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2563). แนวทางการบริหารจัดการปัญหาขยะทะเลของไทย. ค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2567, จาก https://pis.parliament.go.th/PARFileDownloadProxy/download?s=
Cochran, W.G. (1997). Sampling techniques. 3rd ed. New York: John Wiley&sons.
Environmental Investigation Agency. (2021). The Truth Behind Trash: The scale and impact of the international trade in plastic waste.Retrived March 22, 2024, from https://eia-international.org/wp-content/uploads/EIA-The-Truth-Behind-Trash-FINAL.pdf
Herzberg, F. a. O. (1972). The Motivation to Work. New York: JohnWiley & Sons.
Lester, W. Milbrath. (1971). Political Participation. New York: University of Buffalo Press.
Martina igini. (2022c). How Waste Management in Germany is Changing the Game. Retrieved March 22, 2024, from https://earth.org/waste-management-germany/
Wang, C., Zhang, J., Yu, P., and Hu, H. (2018). The theory of planned behavior as a model for understanding tourists’ responsible environmental behaviors: The moderating role of environmental interpretations. Journal of Cleaner Production, 194, 425-434.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว