แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งตู้สินค้าในท่าเรือแหลมฉบัง
คำสำคัญ:
โครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์, การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ, การปฏิบัติการท่าเรือ, ประสิทธิภาพการขนส่งตู้สินค้า, ท่าเรือแหลมฉบังบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของนโยบายรัฐด้านการพัฒนาโลจิสติกส์ เงื่อนไขการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ การขนส่งภายในประเทศ การปฏิบัติการในท่าเรือ และประสิทธิภาพการขนส่ง
ตู้สินค้าในท่าเรือแหลมฉบัง 2) อิทธิพลของนโยบายรัฐด้านการพัฒนาโลจิสติกส์ เงื่อนไขการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ การขนส่งภายในประเทศ การปฏิบัติการในท่าเรือ ที่ส่งผลต่อ ประสิทธิภาพการขนส่งตู้สินค้าในท่าเรือแหลมฉบัง และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งตู้สินค้าในท่าเรือแหลมฉบัง การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ประกอบการท่าเรือแหลมฉบัง บริษัทสายการเดินเรือ และผู้ประกอบการขนส่ง รวมจำนวน 340 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิที่มีสัดส่วนและแบบง่าย ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาและแบบจำลองสมการโครงสร้างการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง จำนวน 15 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) นโยบายรัฐด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ อยู่ในระดับมาก เงื่อนไขการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ การขนส่งภายในประเทศ การปฏิบัติการในท่าเรือ และด้านประสิทธิภาพการขนส่ง
ตู้สินค้า อยู่ในระดับมากที่สุด 2) นโยบายรัฐด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ เงื่อนไขการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ การขนส่งภายในประเทศ และการปฏิบัติการในท่าเรือ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการขนส่งตู้สินค้า
ในท่าเรือแหลมฉบัง 3) แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งตู้สินค้าในท่าเรือแหลมฉบัง คือ ภาครัฐจะต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบดิจิทัลในท่าเรือแหลมฉบังที่มีประสิทธิภาพเพื่อรองรับปริมาณตู้สินค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่เกี่ยวข้องในการขนส่งตู้สินค้าจะต้องให้ความสำคัญกับกำหนดการเรือเข้าออกท่าเรือที่ตรงตามตามตารางเทียบท่า พิธีการศุลกากร การวางแผนและควบคุมการขนส่งตู้สินค้าใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการควบคุมการรับส่งตู้สินค้าและการจัดการพื้นที่และเครื่องมือยกขน เพื่อให้การขนส่งตู้สินค้าในท่าเรือมีประสิทธิภาพด้านเวลา ต้นทุน ความพึงพอใจ และความน่าเชื่อถือในบริการ
References
กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ. (2547). กลยุทธ์การบริหารธุรกิจขนส่งทางเรือ. กรุงเทพฯ: พับลิคโฟโต้และโฆษณา.
กมลศักดิ์ พรหมประยูร. (2562). สารจากผู้อำนวยการท่าเรือแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: การท่าเรือแห่งประเทศไทย.
กรมเจ้าท่า. (2561). ข้อมูลและสถิติ. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2567,จาก https://md.go.th/md-09-06-65/
ฤตภาส อิสราพาณิช. (2554). คุณรู้จักระบบการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ทางทะเลไหม. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2567,จาก www.tpa.or.th/publisher/pdfFileDownloadS/QM166_p025-30.pdf
กองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์. (2566). แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย พ.ศ. 2566-2570. จดหมายข่าวกองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์, 2(4), 4-7.
การท่าเรือแห่งประเทศไทย. (2562). รายงานประจำปี 2562. กรุงเทพฯ: การท่าเรือแห่งประเทศไทย.
การท่าเรือแห่งประเทศไทย. (2567). สถิติรายปี. ค้นเมื่อ 17 มกราคม 2567,จาก https://www.port.co.th/ cs/internet/internet/สถิติรายปี.html
จิซทิกซ์. (2562). ปัญหาที่มักพบในระบบขนส่ง. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2567, จาก https://blog.giztix.com/ปัญหาที่มักพบในระบบขนส-2/
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล. (2565). คืบหน้า "ท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3" ถึงไหน-เปิดให้บริการเมื่อไร. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2567,จาก https://www.thansettakij.com/economy/mega-project/541478
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล. (2565). ผ่าทางตันท่าเรือแหลมฉบังกับปัญหาจราจร. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2567,จาก https://www.thansettakij.com/economy/512440
สโรชินี สุขตระกูล. (2565). แนวทางการบริหารการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกที่มีประสิทธิภาพ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สหไทย เทอร์มินอล. (2567). เครื่องมือและอุปกรณ์ . ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2567,จาก
https://sahathaiterminal.com/th/our-equipment/
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: สามลดา.
สุนทร ผจญ, รัชฎา ฟองธนกิจ และสมเกียรติ กอบัวแก้ว. (2562). ประสิทธิภาพการบริหารการรับส่งตู้คอนเทนเนอร์เปล่า ณ ลานตู้คอนเทนเนอร์. วารสารสมาคมวิจัย, 24(2), 123-134.
AEC Logistics. (2021). อันดับท่าเรือทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลง. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2567,จาก https://hutchisonports.co.th/th/laem-chabang-port/ https://aec-logistics.com/อันดับท่าเรือ/
Grace, J. B. (2008). Structural Equation Modeling for Observational Studies. Journal of Wildlife Management, 72(1), 14-22.
Gonzalez, A. R., Gonzalez-Cancelas, N., Serrano, B. M., & Orive, A. C. (2020). Preparation of a smart port indicator and calculation of a ranking for the spanish port system. Logistics,4(2), 9.
Creswell J. W. (1998). Qualitative inquiry and research design: choosing among five traditions. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.
Lynxgistics. (2567). List A และ List F ของศุลกากรคืออะไร. ค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2567, จากhttps://lynx.co.th/พิธีการทางศุลกากร/
Pratama, Mukhlash, & Nugroho. (2020). Design and application of reuse stage algorithm of case-based reasoning method on container stowage planning. Journal of Physics: Conference Series, 1490(1), 012014.
Laohakultham, S. (2017). ทำความเข้าใจตารางเรืออย่างง่าย. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2567,จาก http://exptblog.com/%B8%AD/
Wice Logistics. (2024). เรือเดินทางยังไง ทำไมต้องเข้าใจตารางเรือ. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2567,จาก https://www.wice.co.th/2017/09/18/เรือเดินทางยังไง-ทำไมต/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว