นโยบายภาครัฐเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวกีฬาและกิจการกอล์ฟ ในประเทศไทย พ.ศ. 2550-2565
คำสำคัญ:
นโยบายภาครัฐ, การท่องเที่ยวกีฬา, กิจการกอล์ฟบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) โครงสร้างการกำหนดนโยบายส่งเสริมภาครัฐในการสนับสนุน
การท่องเที่ยวเชิงกีฬาและธุรกิจกอล์ฟ พ.ศ. 2550-2565; 2) ตัวแสดงและบทบาทของธุรกิจสนามกอล์ฟในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬา พ.ศ. 2550-2565 และ 3) พัฒนาการนโยบายภาครัฐต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬากอล์ฟในอดีตและปัจจุบัน พ.ศ. 2550-2565 ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง จำนวน 21 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง และใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประเทศไทยได้นำนโยบายของต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ในเรื่องของมาตรฐานการจัดการแข่งขันกีฬากอล์ฟ เพื่อให้เป็นตามมาตราฐานสากลนโยบายของภาครัฐ ที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว
เชิงกีฬากอล์ฟ มีน้อยมากเนื่องจากงบประมาณจำกัด 2) ตัวแสดงในธุรกิจสนามกอล์ฟที่จะต้องร่วมมือกันในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬากอล์ฟนั้น ประกอบด้วย ภาครัฐ และเอกชน นักท่องเที่ยวเลือกมาท่องเที่ยวและเล่นกีฬากอล์ฟ เนื่องประเทศไทยมีความแตกต่างด้านราคาและบริการจากที่อื่นทั่วโลก และ 3) ธุรกิจสนามกอล์ฟช่วยในการพัฒนาที่ดินในพื้นที่ให้มีราคาเพิ่มสูงขึ้น การบริหารจัดการของสนามกอล์ฟของภาครัฐและภาคเอกชนมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ในเรื่องของกลยุทธ์การตลาดและราคาการใช้บริการ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เลือกใช้สนามกอล์ฟของภาคเอกชนเป็นส่วนใหญ่ ข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจสนามกอล์ฟที่เรียกร้องต่อภาครัฐ คือ เรื่องภาษีที่มีความซ้ำซ้อน และผู้ประกอบการพึงพอใจนโยบายภาครัฐในการช่วยเหลือส่งเสริมสนับสนุน กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจสนามกอล์ฟ ช่วงการแพร่ระบาดของโรค
โควิด-19 เช่น นโยบายกอล์ฟคาลิทีน
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). COVID–19 กับผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทย สถานการณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทย ไตรมาส 1/2563. รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว, 1(4), 4.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2564). ททท. กระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวกลุ่ม Expat ผ่านกีฬากอล์ฟ พร้อมสร้างความเชื่อมั่นด้วยมาตรฐาน SHA. ค้นเมื่อ 25 กันยายน 2566, จาก https://www.mots.go.th/News–view.php?nid=13329
ปภัสสร รอดอยู่ และมนัสสินี บุญมีศรีสง่า. (2562). นวัตกรรมการบริการของผู้ประกอบการธุรกิจสนามกอล์ฟ กรณีศึกษานิกันติ กอล์ฟ คลับอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พชรกมล ก้อนแก้ว และคณะ. (2564). การปรับรูปแบบการให้บริการของธุรกิจสนามกอล์ฟหลวงภายใต้สถานการณ์ COVID–19. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8 วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 (หน้า 297–312). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้, คณะบริหารธุรกิจ.
เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์. (2555). การเมืองของกระบวนการกำหนดนโยบายโฉนดชุมชน (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วณิดา จรทอง. (2559). โครงการรีสอร์ทในสนามกอล์ฟ Golf Resort (วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลยัศรีปทุม.
สมาคมกีฬากอล์ฟแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2555). ฐานข้อมูลกอล์ฟ. ค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2564,จาก http://sportscience.dpe.go.th/web/main/sportdata.jsp?sport =8&knowledge =7&id=93
อนุสรณ์ ลิ่มมณี. (2558). รัฐ สังคม และการเปลี่ยนแปลง: การพิจารณาในเชิงอำนาจ นโยบาย และเครือข่ายความสัมพันธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.
อานนท์ สีดาเพ็ง. (2559). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬากอล์ฟโดยการประยุกต์ทฤษฎีการแลกเปลี่ยนทางสังคม (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
Thai PBS. (2023). "กีฬากอล์ฟ" ปัจจัยกระตุ้นการท่องเที่ยว สร้างรายได้เข้าประเทศ. ค้นเมื่อ 13 กันยายน 2566, จาก https://www.youtube.com/watch?v= MNPXLhhvcMA
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว