แนวทางการพัฒนารูปแบบเพื่อผลการดำเนินการที่เป็นเลิศ เพื่อรับรางวัลความเป็นเลิศโดดเด่นด้านการดูแลสังคมและความเป็นเลิศระดับโลก

ผู้แต่ง

  • ภูพิพัฒน์ สาวพัฒนะธาดา มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • ภัครดา เกิดประทุม มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

ผลการดำเนินการที่เป็นเลิศ, การดูแลสังคม, ความเป็นเลิศระดับโลก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1. เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) ปี 2565 – 2566 2. รูปแบบการบริหารจัดการองค์การเพื่อผลการดำเนินการที่เป็นเลิศ 6 ประเภทรางวัล 3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จเพื่อผลการดำเนินการที่เป็นเลิศและ 4. แนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการองค์การเพื่อผลการดำเนินการที่เป็นเลิศ เพื่อรับรางวัลความเป็นเลิศโดดเด่นด้านดูแลสังคมและความเป็นเลิศระดับโลก เป็นาการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 25 ท่าน ประกอบด้วย ผู้บริหารสำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ จำนวน 10 ท่าน และผู้รับผิดชอบหรือผู้เชี่ยวชาญองค์การที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ แต่ละประเภทรางวัล จำนวน 6 รางวัล จำนวน 15 ท่าน แล้วนำมาวิเคราะห์ แก่นสาระที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก กำหนดหนดประเด็นในการดำเนินการสนทนากลุ่ม โดยกำหนดผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มคือผู้เชี่ยวชาญเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ/ที่ปรึกษาเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ จำนวน 10 ท่าน 

ผลการวิจัยพบว่า 1. การเปลี่ยนแปลงเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เพื่อผลการดำเนินการที่เป็นเลิศ ปี 2565 – 2566 ประกอบด้วย 5 ปัจจัย ได้แก่ (1) ความสามารถในการฟื้นตัว (2) ความเท่าเทียมและการมีส่วนร่วม (3) การเปลี่ยนแปลงเป็นดิจิทัล การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4, (4) นวัตกรรมและ (5) การตอบแทนสังคม 2. รูปแบบการบริหารจัดการองค์การเพื่อผลการดำเนินการที่เป็นเลิศ ประกอบด้วย ค่านิยมและแนวคิดหลัก 11 ประการ  ได้แก่ (1) มุมมองเชิงระบบ (2) การนำองค์การอย่างมีวิสัยทัศน์  (3) ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นลูกค้า (4) การให้ความสำคัญกับบุคลากร (5) การเรียนรู้ระดับองค์การและความคล่องตัว (6) การมุ่งเน้นความสำเร็จ (7) การจัดการเพื่อนวัตกรรม (8) การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง (9) ความรับผิดชอบต่อสังคม (10) จริยธรรมและความโปร่งใส (11) การส่งมอบคุณค่าและผลลัพธ์และการกำกับดูแลองค์การ 3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จเพื่อผลการดำเนินการที่เป็นเลิศ ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน และการพัฒนาแนวทางเพื่อผลการดำเนินการที่เป็นเลิศโดดเด่นด้านการดูแลสังคมและความเป็นเลิศระดับโลกเกี่ยวข้องกับด้านต่าง ๆ ดังนี้ คือ ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย การมีผู้นำที่มุ่งเน้นการดูแลสังคม โดยเป็นตัวอย่างและสนับสนุนในมิติต่าง ๆ ขององค์การ การมุ่งเน้นความรับผิดชอบสังคมและการตอบแทนที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และ 4. การสร้างกลยุทธ์ที่ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสังคมและการสร้างวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน การใช้กลยุทธ์ในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีในด้านการดูแลสังคม การเข้าใจและการตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าเพื่อสร้างความพึงพอใจและความเชื่อมั่น การใช้ข้อมูลเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินการในด้านการดูแลสังคม การใช้เทคโนโลยีและการจัดการความรู้ในการสนับสนุนการดูแลสังคม การสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการดูแลสังคมและสร้างแรงจูงใจให้กับบุคลากร การสร้างความเชื่อมั่นและความผูกพันในการดูแลสังคม การพัฒนากระบวนการทำงานที่เป็นมิตรและเข้าใจต่อการดูแลสังคม การวัดและประเมินผลการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสังคม และด้านผลลัพธ์ ประกอบด้วย ผลลัพธ์ด้านผลิตภัณฑ์และกระบวนการขององค์การ ผลลัพธ์ที่มีผลต่อความพึงพอใจและความคาดหวังของลูกค้า ผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสังคมที่ส่งผลต่อบุคลากรในองค์การ ผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับการนำองค์การและการกำกับดูแลองค์การ และผลลัพธ์ที่มีผลต่อด้านการเงิน ตลาดและเชิงกลยุทธ์

References

กรมมาตรฐานสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีงานอุตสาหกรรม. (2539). รายงานการศึกษาการจัดตั้งรางวัลคุณภาพ

แห่งชาติของประเทศไทย. กรุงเทพฯ.

กรมมาตรฐานสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีงานอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข. (2561). เกณฑ์รางวัล

คุณภาพแห่งชาติของไทย (TQA). นนทบุรี.

กัลยาณิวัฒน์ วงศ์สวัสดิ์ และ อภิชาติ ศิริวัฒนศรี. (2561). แนวคิดเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติของไทย

(TQA): การชนะรางวัลคุณภาพแห่งชาติของไทยในมุมมองของความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานและการ

บริหารจัดการด้านคุณภาพ. กรุงเทพฯ.

กิตติ วิศิษฐกุล. (2562). ผลกระทบของนวัตกรรมและความสำเร็จขององค์กรในสังคมไทย: การศึกษาใน

ภาคอุตสาหกรรมที่พัฒนาแล้ว. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร, 10(1), 25-37.

ธนวัฒน์ ทิพย์พิสิฐ. (2560). ผลของกระบวนการพัฒนานวัตกรรมและการประยุกต์ใช้ในองค์การ: กรณีศึกษา

การผลิตสิ่งทอ. วารสารวิจัย มข. หมวดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 42(2), 113-122.

ณัฐวุฒิ เสาวภาคย์, และ ศิรินภา ธนะเสถียร. (2563). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของนวัตกรรม

ภายในองค์การ: กรณีศึกษาโรงแรมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิจัยการจัดการ

และนวัตกรรม, 13(1), 23-41.

นาวิน, สิริมาศ. (2563). นวัตกรรมและความสำเร็จขององค์กร: การศึกษาในภาคอุตสาหกรรมสหกรณ์แห่ง

ประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 13(2), 41-56.

พงศ์ชาติ วรรณมณี, และ อรวรรณ กิติจินดา. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของนวัตกรรมองค์กร

กรณีศึกษาธุรกิจยางพารา. วารสารการจัดการและนวัตกรรม, 17(1), 67-86.

ศูนย์พัฒนาการวิจัยทางการศึกษา (ERI). (2560). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติของไทย. กรุงเทพฯ.

สถาบันมาตรฐานผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. (2562). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติของไทย

(TQA). กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติของ

ไทย (TQA). กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ. (2562). เกณฑ์และวิธีการประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ.

กรุงเทพฯ:

American Society for Quality (ASQ). (2020). Types of Quality Awards. Retrieved from

https://asq.org

Becker, B., Huselid, M. A., & Ulrich, D. (2001). High-Performance Work Systems and

Organizational Performance: The Mediating Role of Internal Social Structure. Journal

of Management, 27(4), 485-512.

Bhuiyan, M. N. A., & Ivette Luna, M. (2019). Leadership Development: A Study of the Impact

of Leadership Development on Organizational Success. International Journal of

Business and Management, 14(5), 22-33.

Burrill, C. W., & Ledolter, J. (1999). Benchmarking Malcolm Baldrige quality award criteria.

Journal of Operations Management, 17(6), 681-698.

Chao, C. M., & Wu, T. C. (2020). Corporate Social Responsibility and Sustainable Business: The

Role of Social Responsibility in Enhancing Organizational Performance. Sustainability,

(6), 2275.

Garcia, A., & Martinez, B. (2020). Achieving Operational Excellence: Best Practices and Lessons

Learned. Journal of Business Process Management, 18(3), 201-215.

Garcia, M., & Martinez, A. (2021). Enhancing Organizational Efficiency through Process

Optimization. Journal of Business Operations Management, 15(2), 45-58.

Jones, R. W., & Smith, K. L. (2019). The Role of Social Care in Organizational Adaptability and

Performance. Journal of Applied Psychology, 104(5), 732-745.

Kritsada, K., & Sutthiphorn, K. (2020). Enhancing Organizational Excellence: The Impact of

Thailand Quality Award (TQA) on Thai Organizations. International Journal of Quality

& Reliability Management, 37(8), 1563-1584.

Malcolm Baldrige National Quality Award Program. (2022). About the Baldrige Award.

Retrieved from https://www.nist.gov/baldrige/about-baldrige-award

National Institute of Standards and Technology (NIST). (n.d.). Malcolm Baldrige National

Quality Award. from https://www.nist.gov/baldrige

Public Law 100-107. (1987). Malcolm Baldrige National Quality Improvement Act of 1987.

from https://www.congress.gov/100/statute/STATUTE-101/STATUTE-101-Pg724.pdf

Ravichandran, Jayakrishnan, & Wei. (2005). Leveraging the Malcolm Baldrige National Quality

Award for global competitiveness: An empirical study of award winners and

applicants. Total Quality Management & Business Excellence 16(6), 705-722.

Smith, J., Johnson, R., & Patel, S. (2020). The Impact of Equity and Inclusion Policies on

Organizational Performance. Journal of Organizational Psychology, 35(2), 123-137.

Smith, J. (2023). Enhancing Customer Satisfaction Through TQC Plus Customer Award: A Case

Study. Journal of Quality Management, 15(2), 112-125.

Smith, J. A., & Johnson, L. M. (2020). Building Strong Customer and Partner Relationships: The

Role of Social Care and Relationship Management. Journal of Marketing Research,

(3), 385-401.

Sudrungrot, S., & Thananusak, T. (2019). The Impact of Social Support and Employee

Participation on Job Performance: A Study of Thai Private Organizations. International

Journal of Business and Social Science, 10(3), 112-122.

Suttikun, C., & Thirachai, S. (2020). The Impact of Organizational Development on

International Competitiveness: A Case Study of Thai Companies. International

Journal of Business and Management, 15(9), 123-137.

Tan, K. C., & Kannan, V. R. (2002). Quality management practices and quality results:

A comparison and causal analysis in service and manufacturing firms. Omega, 30(2),

-153.

Thammasiri, S., & Phattharachai, K. (2019). The Role of Thailand Quality Award (TQA) in

Driving Continuous Improvement: A Case Study of Public Sector Organizations. Total

Quality Management & Business Excellence, 30(7-8), 850-865.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30