แนวทางการสร้างนวัตกรรมของห่วงโซ่อุปทานธุรกิจผักอินทรีย์ กลุ่มเกษตรอินทรีย์ อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
นวัตกรรม, ธุรกิจผักอินทรีย์, ห่วงโซ่อุปทานบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ห่วงโซ่อุปทานผักอินทรีย์กลุ่มเกษตรอินทรีย์ อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) บทบาทของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ด้านการปลูกผักอินทรีย์ อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา และ 3) แนวทางการสร้างนวัตกรรมห่วงโซ่อุปทานผักอินทรีย์กลุ่มเกษตรอินทรีย์ อำเภอสนามชัยเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยใช้แนวคิดของตัวแบบการปฏิบัติงานโซ่อุปทานกระบวนการ SCOR model เป็นแนวทางในการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง 385 ราย เป็นผู้บริโภคผักอินทรีย์กลุ่มเกษตรอินทรีย์ อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย นักวิชาการเกษตรในจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 2 คน เกษตรอำเภอในจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 1 คน ประธานชมรมของกลุ่มเกษตรอินทรีย์สนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 1 คน ผู้ปลูกผักอินทรีย์ จำนวน 10 คน ผู้จำหน่ายผักอินทรีย์ จำนวน 1 คน ผู้บริโภคผักอินทรีย์ จำนวน 2 คน จำนวน 17 คน คัดเลือกเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ (1) แบบสอบถาม (2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ห่วงโซ่อุปทานผักอินทรีย์กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ประกอบด้วย (1) การวางแผนการดำเนินงานในด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทานผักผักอินทรีย์ (2) การจัดการโซ่อุปทานผักอินทรีย์ (3) การจำหน่ายผักอินทรีย์ (4) การปลูกผักอินทรีย์ (5) ปัญหาของการปลูกผักอินทรีย์ (6) การพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักอินทรีย์และ (7) เกษตรกรผู้ปลูกผักอินทรีย์ได้เข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ 2) บทบาทของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ด้านการปลูกผักอินทรีย์ คือ การสนับสนุนละส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการปลูกผักอินทรีย์ภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์มากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกษตรกรผู้ปลูกผักอินทรีย์มีประสบการณ์หรือมีระยะเวลาในการปลูกผักอินทรีย์ภายใต้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์มากขึ้น 3) แนวทางการสร้างนวัตกรรมห่วงโซ่อุปทานผักอินทรีย์ คือ (1) ควรมีการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการซื้อขายผักอินทรีย์ตามแนวคิดวงจรการพัฒนาระบบ เพื่อใช้ในการซื้อขายผักอินทรีย์ในการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อนําไปใช้งาน (2) ควรมีการพัฒนาระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม และ (3) หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรร่วมมือกับภาคเอกชนในการสื่อสารการตลาดสินค้า PGS กับผู้บริโภคมากขึ้น
References
Berman, S. J. (2012). Digital transformation: opportunities to create new business models Strategy & leadership, 40(2), 16-24.
Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques. New York: John Wiley & Sons.
Council, S. C. (2008). Supply chain operations reference model. Washington DC: Supply Chain Council.
Green Net. (2023). Organic Agriculture Group. Sanam Chai Khet District: Green Net Alliance. Retrieved June 21, 2023, from https://www.greennet.or.th/sanam-chai-khet-group/
Huan, S. H., Sheoran, S. K., & Wang, G. (2004). A review and analysis of supply chain operations reference (SCOR) model. Supply chain management: An international Journal, 9(1), 23-29.
Khamjai. K. (2019). Marketing development for Chiang Mai agricultural products community to compete in ASEAN Phase 2 (Research Report). Chiang Mai Rajabhat University.
Kotler, P. (2017). Philip Kotler: some of my adventures in marketing. Journal of Historical Research in Marketing, 9(2), 203-208.
Lertwiwatchaiphon. S. & Wannarak. C. (2018). Logistics and supply chain management services With Farmers in Suphanburi Province (Research Report). Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi, Nonthaburi.
Mohailan, M. H. (2020). Supply Chain Operations Reference Model: An analytical study. International Journal of Research in Management, Economics and Commerce, 6, 10-18.
Nopponkrang, C. & Kumphan. T. (2023). Supply chain management of the Jasmine Rice Community Enterprise Group 105. Ban Yang using a reference model for supply chain operations. Journal of Science and Technology Sisaket Rajabhat University, 3(1), 22-32.
Wachirakom, T. (2016). Pomelo supply chain management, Prachinburi Province. Journal of Logistics and Supply Chain Management Ramhkamhaeng, 3(1). http://ojs.ru.ac.th/ index.php/Logistic/article/view/53
Willer, H., Trávníček, J., Meier, C. & Schlatter, B. (2021). The world of organic agriculture: statistics and emerging trends 2021. Frick/Bonn: Research Institute of Organic Agriculture (FiBL)/IFOAM Organics International.
Yoon, S. N., Lee, D. & Schniederjans, M. (2016). Effects of innovation leadership and supply chain innovation on supply chain efficiency: Focusing on hospital size. Technological Forecasting and Social Change, 113, 412-421.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว