แนวทางการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ของผู้ประกอบการนำเที่ยวเพื่อเพิ่มผลิตภาพและความภักดีของลูกค้ากลุ่มนักท่องเที่ยวอิสระในกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามัน

ผู้แต่ง

  • ศิรวิทย์ ศิริรักษ์ ดร.
  • นิมิต ซุ้นสั้น
  • มนตรี วีรยางกูร

คำสำคัญ:

การปรับใช้อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่, ผลิตภาพ, ความภักดีของลูกค้า, กลุ่มนักท่องเที่ยวอิสระ

บทคัดย่อ

       บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการปรับใช้อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ต่อผลิตภาพและความภักดีของลูกค้ากลุ่มนักท่องเที่ยวอิสระและเพื่อนำเสนอแนวทางการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ของผู้ประกอบการนำเที่ยวเพื่อเพิ่มผลิตภาพและความภักดีของลูกค้ากลุ่มนักท่องเที่ยวอิสระในกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามัน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ในรูปแบบแผนเชิงอธิบายรูปแบบติดตาม การวิจัยเชิงปริมาณจะใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือกับกลุ่มตัวอย่าง นักท่องเที่ยวอิสระในกลุ่มจังหวัดภูเก็ต พังงาและกระบี่ จำนวน 500 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ในส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นเครื่องมือกับกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต พังงาและกระบี่ จำนวน 28 คน โดยใช้เทคนิคการคัดเลือกแบบเจาะจง  ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา

       ผลการวิจัยพบว่าการปรับใช้อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อผลิตภาพและความภักดีของลูกค้ากลุ่มนักท่องเที่ยวอิสระอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ แนวทางการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ของผู้ประกอบการนำเที่ยวเพื่อเพิ่มผลิตภาพและความภักดีของลูกค้ากลุ่มนักท่องเที่ยวอิสระในกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามันมี 2 แนวทางได้แก่ แนวทางการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ของผู้ประกอบการนำเที่ยวเพื่อเพิ่มระดับผลิตภาพและแนวทางการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ของผู้ประกอบการนำเที่ยวเพื่อเพิ่มระดับความภักดีของลูกค้ากลุ่มนักท่องเที่ยวอิสระในกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามันในด้านการซื้อซ้ำและการบอกต่อ ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อของผู้ประกอบการนำเที่ยวในกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามันในการนำการปรับใช้อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนไปเพิ่มระดับผลิตภาพและความภักดีของลูกค้ากลุ่มนักท่องเที่ยวอิสระ

References

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2567). รายงานเศรษฐกิจไทยปี 2566. กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.

วัชรินทร์ เกิดทรัพย์. (2561). พฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวกลุ่มโอเชียเนียช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(2) มิถุนายน–กันยายน 2561.

วัชรินทร์ เกิดทรัพย์. (2564). ความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบอิสระในจังหวัดภูเก็ต.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(2) พฤษภาคม –สิงหาคม 2564

ศิรวิทย์ ศิริรักษ์ และ กิตติพงษ์ ครุธทรง. (2567). แนวทางการส่งเสริมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ของผู้บริโภคในจังหวัดภูเก็ต. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 14(4). 1577-1591.

สุพจน์ กุลาตี มนตรี วีรยางกู และ ศิรวิทย์ ศิริรักษ์. ปัจจัยการตลาดดิจิทัลที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความพึงพอใจและความภักดีแก่ลูกค้าในธุรกิจโรงแรมกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามันประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 23(3), 217-228.

อนุวัต สงสม. (2561). ปัจจัยเชิงเหตุของความภักดีทางอิเล็กทรอนิกส์: กรณีศึกษาการซื้อสินค้าจากร้านค้าออนไลน์ของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอร์เรชั่นซี. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 2515 – 2529.

Arya, A., Gupta, S., & Rathi, S. (2022). Impact of augmented reality applications on tourist satisfaction and revisit intention. Tourism Management Perspectives, 44, 101076.

Boonkaew, N., Smith, J., & Lee, K. (2023). The rise of independent travelers in Southeast Asia. Journal of Tourism Research, 45(2), 112-130.

Bulchand-Gidumal, J. (2022). Artificial intelligence in travel apps: Enhancing service efficiency and customer satisfaction. Journal of Travel Research, 61(8), 1803-1817.

Buhalis, D., & Law, R. (2008). Progress in information technology and tourism management: 20 years on and 10 years after the Internet: The state of eTourism research. Tourism Management, 29(4), 609-623.

Chen, L., & Chang, H. (2023). Enhancing tourism productivity through digital innovation. Journal of Tourism Management, 55(1), 120-135.

Chen, L., Xu, Q., & Arguello, J. (2017). The effects of mobile applications on customer management and organizational processes. Journal of Business Research, 76, 283-291.

Cohen, S. A., Prayag, G., & Moital, M. (2014). Consumer behaviour in tourism: Concepts, influences and opportunities. Current Issues in Tourism, 17(10), 872-909.

Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-340.

Kim, J. (2018). The importance of customer loyalty in the tourism industry. Journal of Travel & Tourism Marketing, 35(3), 383-395.

Kozak, M. (2001). Repeaters’ behavior at two distinct destinations. Annals of Tourism Research, 28(3), 784-807.

Kumar, V., Petersen, J. A., & Leone, R. P. (2007). How valuable is word of mouth? Harvard Business Review, 85(10), 139-146.

Oliver, R. L. (1999). Whence consumer loyalty? Journal of Marketing, 63, 33-44.

Porter, M. E. (1990). The competitive advantage of nations. Free Press.

Schumpeter, J. A. (1942). Capitalism, socialism and democracy. Harper & Brothers.

Sigala, M. (2018). Implementing social media in tourism: Challenges and opportunities. Tourism Management, 31(5), 493-498.

Smith, R., Brown, T., & Patel, K. (2024). Customer loyalty in the digital travel era: Insights from Asia-Pacific. International Journal of Tourism Research, 28(3), 200-215.

Tourism Authority of Thailand. (2023). Annual tourism report: Andaman triangle provinces. TAT.

Wang, K. C., Hsieh, A. T., & Huan, T. C. (2000). Critical service features in group package tour: An exploratory research. Tourism Management, 21(2), 177-189.

Wong, M., Tan, S., & Lim, C. (2023). Digital engagement and its impact on free independent travelers. Asian Journal of Tourism Studies, 19(4), 178-195.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-31

How to Cite

ศิริรักษ์ ศ., ซุ้นสั้น น. . ., & วีรยางกูร ม. (2025). แนวทางการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ของผู้ประกอบการนำเที่ยวเพื่อเพิ่มผลิตภาพและความภักดีของลูกค้ากลุ่มนักท่องเที่ยวอิสระในกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามัน. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 15(1), 179–198. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/274760