ตัวแบบการจัดการความปลอดภัยในการทำงาน การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เชิงกลยุทธ์ และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานอุตสาหกรรมห้องเย็นในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สุวีร์ คล่องแคล่ว หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก
  • ณัฐพร ฉายประเสริฐ หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก
  • ณัฐพงษ์ แต้มแก้ว หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก

คำสำคัญ:

การจัดการความปลอดภัย, การจัดการทรัพยากรมนุษย์, สภาพแวดล้อมในการทำงาน, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ระดับของการจัดการความปลอดภัยในการทำงานการจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ สภาพแวดล้อมในการทำงาน และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานอุตสาหกรรมห้องเย็นในเขตกรุงเทพมหานคร  2) ปัจจัยเชิงสาเหตุของการจัดการความปลอดภัยในการทำงานการจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานอุตสาหกรรมห้องเย็นในเขตกรุงเทพมหานคร และ 3) นำเสนอแนวทางของตัวแบบประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานอุตสาหกรรมห้องเย็นในเขตกรุงเทพมหานครกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานในสถานประกอบการอุตสาหกรรมห้องเย็น ที่มีตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 300 ตัวอย่าง กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้หลักเกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกต สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก ประกอบด้วย  ผู้บริหารสถานประกอบการอุตสาหกรรมห้องเย็นที่ให้บริการครบวงจร  เจ้าหน้าที่จากกรมอุตสาหกรรมโรงงาน และนักวิชาการด้านวิศวเครื่องเย็น รวมทั้งสิ้น 6 คนและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า  1) การจัดการความปลอดภัยในการทำงาน การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ สภาพแวดล้อมในการทำงาน และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานอุตสาหกรรมห้องเย็นในเขตกรุงเทพมหานคร มีความสำคัญอยู่ในระดับมาก 2) การจัดการความปลอดภัยในการทำงานมีอิทธิพลเชิงสาเหตุรวมต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานอุตสาหกรรมห้องเย็นในเขตกรุงเทพมหานครมากที่สุด รองลงมาได้แก่ การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ และสภาพแวดล้อมภายในองค์กร 3) ได้ตัวแบบประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานอุตสาหกรรมห้องเย็นในเขตกรุงเทพมหานคร มีลักษณะประกอบด้วยการจัดการความปลอดภัยในการทำงาน ที่มีค่าอิทธิพลรวมมากที่สุดรองลงมาคือ สภาพแวดล้อมในการทำงาน และการจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ตามลำดับ จากนั้นการพิจารณาค่าสัมประสิทธิเส้นทางของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานอุตสาหกรรมห้องเย็นในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยจึงสร้างสร้างโมเดลใหม่ ที่พัฒนาขึ้นคือ “ตัวแบบการจัดการความปลอดภัยในการทำงานสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานอุตสาหกรรมห้องเย็นในเขตกรุงเทพมหานคร”เป็นตัวแบบที่มุ่งเน้นให้เกิดประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานอุตสาหกรรมห้องเย็นในเขตกรุงเทพมหานคร ในด้านคุณภาพของงาน ปริมาณงาน เวลา ค่าใช้จ่าย และวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

References

กรมอุตสาหกรรมโรงงาน. (2564). คู่มือการดำเนินห้องเย็น. กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม.

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา .(2565). แนวโน้มธุรกิจห้องเย็น. กรุงเทพ: ธนาคารกรุงอยุธยา.

พระครูวิลาศกาญจนธรรม. (2565) การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์สู่ความสำเร็จขององค์กรยุคใหม่. วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์, 2(3), 152-162.

Aburumman, O., Salleh, A., Omar, K., & Abadi, M. (2020). The impact of human resource management practices and career satisfaction on employee’s turnover intention. Management Science Letters, 10(3),641-652.

Ahakwa, I., Yang, J., Tackie, E. A., & Atingabili, S. (2021). The influence of employee engagement, work environment and job satisfaction on organizational commitment and performance of employees: a sampling weight in PLS path modelling. SEISENSE Journal of Management, 4(3), 34-62.

Ajmal, M., Isha, N. A. S., & Nordin, M. S. (2021). Safety management practices and occupational health and safety performance: an empirical review. Jinnah Bus Rev, 9(2), 15-33.

Barling, J., Loughlin, C., & Kelloway, E. K. (2018). Development and test of a model linking safety-specific transformational leadership and occupational safety. Journal of Applied Psychology, 87(3), 488-496.

Fernandez-Muniz, Montes-Peon, & Vazquez-Ordas (2019). Relation between occupational safety management and firm performance. Safety science, 47(7), 980-991.

Goetsch, D.L. ( 2014). Occupational Safety & Health for Technologists, Engineers & Managers. A Custom Edition for Columbia Southern University. Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.

Hamalainen, P., Takala, J. and Saarela, K. (2016) Global Estimates of Occupational Accidents. Safety Science, 44, 137-156.

Han, Y., Li, J., Cao, X., & Jin, R. (2020). Structural equation modeling approach to studying the relationships among safety investment, construction employees’ safety cognition, and behavioral performance. Journal of construction engineering and management, 146(7), 04020065.

Hayes BE, Perander J, Smecko T, Trask J. (2018). Measuring Perceptions of Workplace Safety: Development and Validation of the Work Safety Scale. J Safety Res.,29(3),145–61.

Hayes, C., Jackson, D., Davidson, P. M., & Power, T. (2016). Medication errors in hospitals: a literature review of disruptions to nursing practice during medication administration. Journal of clinical nursing, 24(21-22), 3063-3076.

JWD. Group. (2564). สถานการณ์ตลาดห้องเย็น. ค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2564, https://jwd-group.com/th/

Lathiifa, S., & Chaerudin, C. (2022). The Influence of Organizational Culture, Work Environment on Employee Performance with Work Motivation as an Intervening Variable (Case Study: Online Retail XYZ Jakarta). International Journal of Management and Business Applied, 1(2), 68-85.

Lee, D. (2018). The effect of safety management and sustainable activities on sustainable performance: Focusing on suppliers. Sustainability, 10(12), 4796.

Mangkunegara. (2014). Pengiran Budday Organizes Terada Kinerja Parawai. Journal Manajemen & Bisnis, 14(02), 144–150.

Nastasi, B. K., & Schensul, S. L. (2005). Contributions of qualitative research to the validity of intervention research. Journal of School Psychology, 43(3), 177–195.

Riyadi, S. (2019). The Influence of job satisfaction, work environment, individual characteristics and compensation toward job stress and employee performance. International Review of Management and Marketing, 9(3), 93.

Saddam, A. K. (2017). A study of the relationship between perceived strategic human resource management and organizational performance and organizational citizenship behavior as a medium (Doctoral Thesis, Faculty of Management). Universiti Teknologi Malaysia.

Shahreki, J., et al. (2019). Electronic Human Resource Management and Employee Efficiency. Entrepreneurship and Sustainability issues, 7(2), 1462.

Zohar, D., & Luria, G. (2016). A multilevel model of safety climate: cross-level relationships between organization and group-level climates. Journal of applied psychology, 90(4), 616.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30