การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุคใหม่ ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา
คำสำคัญ:
การพัฒนาโปรแกรม, ทักษะภาวะผู้นำยุคใหม่, สถานศึกษาอาชีวศึกษา, การพัฒนาบุคลากรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา 2) ออกแบบและพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุคใหม่ และ 3) ผลการใช้โปรแกรมเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุคใหม่ วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 3 ระยะ กลุ่มตัวอย่างในระยะที่ 1 ได้แก่ ผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาและครู จำนวน 313 คน ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่มในระยะที่ 2 จำนวน 8 คน และกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาระยะที่ 3 ได้แก่ ผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาที่สมัครใจ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมานค่า แบบสนทนากลุ่ม แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินทักษะ และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะ เรียงตามลำดับได้แก่ (1) ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ (2) ทักษะความคิดสร้างสรรค์ (3) ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (4) ทักษะทักษะมนุษย์สัมพันธ์ (5) ทักษะการตัดสินใจการแก้ปัญหา (6) ทักษะการสื่อสาร (7) ทักษะทำงานเป็นทีมและมีส่วนร่วม 2) โปรแกรม ประกอบด้วย (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) ระยะเวลาดำเนินการ (4) วิธีการพัฒนา ยึดหลักการ 70:20:10 และใช้วิธีการพัฒนาที่หลากลาย ได้แก่ การเรียนรู้ด้วยตนเอง การประชุมสัมมนา การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงานนอกสถานที่ และการเรียนรู้จากปฏิบัติงานจริง ประกอบด้วย 4 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 การเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการพัฒนา ขั้นที่ 2 การพัฒนาแบบเข้มตามโปรแกรม ขั้นที่ 3 การนําไปสู่การปฏิบัติจริงในสถานศึกษา และขั้นที่ 4 การติดตามผลหลังการพัฒนา (5) ด้านเนื้อหา มีจำนวน 7 โมดูล (6) เครื่องมือ/สื่อ ที่ใช้ในการพัฒนา และ (7) วิธีการประเมินผล และ 3) ผลการใช้โปรแกรม พบว่า (1) ผู้เข้ารับการพัฒนามีความรู้ ก่อนการพัฒนา คิดเป็นร้อยละ 58.00 และมีหลังการพัฒนามีความรู้ คิดเป็นร้อยละ 87 และผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ทุกคน (2) ผู้เข้ารับการพัฒนามีทักษะก่อนการพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และหลังการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด และ (3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโปรแกรม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กนกอร สมปราชญ์. (2559). ภาวะผู้นำและภาวะผู้นำการเรียนรู้สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
กนกอร สมปราชญ์. (2559). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเรียนรู้สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จีระศักดิ์ นามวงษ์. (2563). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นําเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ศรีสะเกษ เขต 1 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ณัฐสิฏ รักษ์เกียรติวงศ์. (2559). การปฏิรูปอาชีวศึกษาของประเทศไทย. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2566, จาก https://tdri.or.th/2016/08/vocational-education-reform/
ธีรยุทธ รอสูงเนิน. (2561). ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์: ปัจจัยสำคัญในการจัดการอาชีวศึกษายุคประเทศไทย 4.0 .วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 24(2), 286-294.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566—2570). (1 พฤศจิกายน 2565). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 258 ง, หน้า 1.
บุญช่วย สายราม. (2556). ทักษะภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่. มหาสารคาม: ภาควิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญช่วย สายราม และชัยยุทธ ศิริสุทธิ์. (2559). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำด้านการสร้างทีมงานของผู้บริหารโรงเรียน (ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พรวีนัส ไวยกรรณ์. (2565). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พิมพ์พร จารุจิตร์. (2559). ภาวะผู้นํากับการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. (เอกสารประกอบการเรียนการสอน). อุดรธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
พุทธชาติ ภูจอมจิต. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูโรงเรียนประถม ศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เพ็ญสุดา ฤทธิมนตรี และวิเชียร รู้ยืนยง. (2562). กลยุทธิ์การเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยของแก่น, 6(4), 83-96.
วรวุฒิ อันปัญญา. (2564). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงสร้างสรรค์ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(6), 2570-2585.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). เอกสารประกอบการบรรยายในการสัมมนาวิชาการ มมร. วิทยาเขตอีสาน. สำเนาเอกสาร.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิทธิพงศ์ นกแอนหมาน. (2559). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาวิทยาลัยการอาชีพ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สิปปนนท์ มั่งอะนะ และวิทยา จันทร์ศิลา. (2560). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในถิ่นทุรกันดารบนเขตพื้นที่สูง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(1), 296-303.
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(2), 169-182.
สุวิมล ว่องวานิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจําเป็น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Badillo. (2013). 21st Century Leadership Skills January: Ten skills for the future workforce. Retrieved January 15, 2023, from http://www.annbadillo.com/leadership
Bass, B. M., & Riggio, R. E. (2006). Transformational Leadership. New York: Psychology Press.
Bernick, M. (2005). Job Training That Gets Results Ten Principles of Effective Employment Programs. Michigan: Pfeiffer.
Bray, T. (2009). The Training Design Manual: The Complete Practical Guide to Creating Effective and Successful Training Programmes. (2nd ed.). Great Britain: Kogan Page Limited.
Cullen, P., French, A., & Jakeman, V. (2014). The Official Cambridge Guide to IELTS. New York: Cambridge University Press.
DiPaola, M. F. & Hoy, W. K. (2014). Improving instruction through supervision, evaluation, and professional development. North Carolina: Information Age Publishing.
DuBrin, J. A. (2012). Principles of leadership. (7thed.). Australia: South-Western, Cengage Learning.
Dyer, S.J. (2007). The Value of Children in African Countries-Insight from Studies on Infertility. Journal of Psychosomatic Obstetrics & Gynaecology, 28, 69-77
Fullan, M. (2007). The New Meaning of Educational Change. New York: Columbia University.
Kirkpatrick, J. (2007). The Hidden Power of Kirkpatrick's Four Levels. T+D, 61(8), 34-37.
Noe, R. A., Hollenbeck, J. R. & Gerhart. B. (2011). Fundamentals of human resource management. New York, NY: McGraw-Hill Irwin.
Robbins, S. P. & Coulter, M. (2003). Essential of Organization Behavior. United States of America: Pearson.
Russell, J., & Russell, L. (2006). Leading Change Training. New York: Elsevier.
Scannell, L., & Gifford, R. (2010). Defining place attachment: A tripartite organizing framework. Journal of Environmental Psychology, 30(1), 1–10.
Podolny, A. (2015). 21st Century Skills : Success in Life:6 C’s plus Leadership. Retrieved 22 January 2023, from http://wanetusa.org/achieve-your-dream/21st-century-skills/
Strock, J. (2014). 25 Essential 21st Century Leadership Skills. Retrieved 2 September 2023, from http://www.lifescienceleader.com/doc/essential-st-century-Leadership-skills-0001
Stufflebeam, D., Gullickson, A., & Wingate, L. (2002). The Spirit of Consuelo: An Evaluation of Ke Aka Hòòna. The Evaluation Center, Western Michigan University.
Woodcock, M. & Francis, D. (2008). Team Metrics Resources for Measuring and Improving Team Performance. Massachusetts: HRD Press, Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว