การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการยานยนต์ไฟฟ้า

ผู้แต่ง

  • ปภัสรา สำราญเลิศฤทธิ์ สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การพัฒนา , ความสามารถในการแข่งขัน, ผู้ประกอบการยานยนต์ไฟฟ้า

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการยานยนต์ไฟฟ้า 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการยานยนต์ไฟฟ้าและ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการยานยนต์ไฟฟ้ารูปแบบการวิจัยเป็น การวิจัยแบบผสานวิธี ใช้แนวคิดด้านความสามารถในการแข่งขันเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ กรุงเทพมหานคร ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ คือ 1) ผู้ผลิตชิ้นส่วน Tier1 Tier2 และTier3 ซึ่งเป็นผู้ประกอบการกิจการขนาดกลาง และย่อม (SMEs) ใช้วิธีการคัดเลือกโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิอย่างมีสัดส่วน (Proportional stratified random sampling) จำนวน 320 คน กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพคือ ผู้ประกอบการยานยนต์ไฟฟ้าในระดับผู้บริหาร ซึ่งที่ยอมรับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือผู้บริหารระดับสูงที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และโมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM ในกรณีการวิจัยเชิงปริมาณ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ
ยานยนต์ไฟฟ้าภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ปัจจัยด้านนโยบายส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า ศักยภาพผู้ประกอบการยานยนต์ไฟฟ้า การจัดการองค์กร และนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการยานยนต์ไฟฟ้า 3. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 แนวทางการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการยานยนต์ไฟฟ้า มี 4 แนวทาง ได้แก่
1) การพัฒนานวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า  2) การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการยานยนต์ไฟฟ้า 3) การพัฒนานโยบายส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า 4) การพัฒนาการจัดการองค์กร ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานทุกภาคส่วนสามารถนำไปใช้พัฒนาความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการยานยนต์ไฟฟ้าได้ในอนาคต

References

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (2566). GAT EV Society นโยบาย 30@30 คืออะไร?. ค้นเมื่อ 11เมษายน 2566, จาก www.egat.co.th/home/save-energy-for-all-20221109

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). (2566). นโยบาย 30@30 เคลื่อนอย่างไร กระทบไทยน้อยที่สุด. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2567, จาก https://tdri.or.th/2022/08/3030-zev-policy/

สถาบันยานยนต์. (2565). ผู้ประกอบการในธุรกิจยานยนต์ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม SMEs. กรุงเทพฯ: สถาบัน

ยานยนต์.

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.), (2565). ศูนย์ข้อมูลภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม เพื่อการวิเคราะห์และคาดการณ์ทิศทางธุรกิจ Industry Data Space (iDS). ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2567, จาก https://www.fti.or.th/DataCenter/Industry-data-space

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน. (2566). แนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า.ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2567, จาก www.eppo.go.th/index.php/en/component/k2/item/ (17415-ev-charging-221064-04

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2566). อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

Albrecht, C. M., et. Al. (2016). Customer response to interactional service experience: the role of interaction environment. Journal of Service Management, 27(5), 704-729.

Boulding & Bertalunfly. (1920). General system theory. New York: George Braziller.

Chen, S. (2023). Brand Planning Competition. National College Business Elite Challenge “Zhongtu Kexin Cup 2023”. Shanghai University of Medicine and Health Sciences (SUMSH).

Du, W., Fan, Y. & Yan, L. (2018). Pricing strategies for competitive water supply chains under different power structures: An application to the south-to north water diversion project in china. Sustainability, 10(8), 2892.

Fedotov, P. (2022). Critical Analysis of the Electric Vehicle Industry: Five forces and strategic action fields. Exchanges: The Interdisciplinary Research Journal, 10(1), 43-56.

Isaak, A. (2020). An Explorative Study of Refugee Entrepreneurship and Start-up Consulting in German-Speaking Europe. European entrepreneurship research and practice:A multifaceted effort towards integration of different perspectives, PP. 23-54.

Leingchan, R. (2018). Next Generation of Automotive Industry. Retrieved January 25, 2024, from www.bit.ly/3CBCi4w

Lemphers, N., et al. (2022). Rooted in place: Regional innovation, assets, and the politics of electric vehicle leadership in California, Norway, and Québec. Energy Research & Social Science, 87, 102462.

Miller, K. A., & Dess, N. K. (1996). Dissociation of stress and food-deprivation effects on spatial performance. Psychobiology, 24(1), 38-43.

Murugan, M. & Marisamynathan, S. (2022). Analysis of barriers to adopt electric vehicles in India using fuzzy DEMATEL and Relative importance Index approaches. Case Studies on Transport Policy, 10(2), 795-810.

Porter, M.E. (2005). The Competitive Advantage Creating and Sustaining Superior. Performance. New York: The Free Press.

Rajesh, D. & Rajasulochana, D. M. (2022). A Study on Factors Influencing The Purchase of Electric Vehicles in Indian Auto Mobile Market. Journal of Contemporary Issues in Business and Government, 28(4), 968-979.

Saxena, N. & Vibhandik, S. (2021). Tesla's Competitive Strategies and Emerging Markets Challenges. IUP Journal of Brand Management, 18(3), 57-72.

Wiggins, R. R. & Ruefli, T. W. (2002). Sustained competitive advantage: Temporal dynamics and the incidence and persistence of superior economic. Organization Science,13(1),

-105.

Wiig, K. M. (1995). Knowledge management methods. Arlington, TX: Schema Press.

Yusgiantoro, L. A., et al. (2022). Porter’s Five Forces Analysis: Battery as Alternative Transport Fuels in Indonesia. In Mapping the Energy Future-Voyage in Uncharted Territory-, 43rd IAEE International Conference, July 31-August 3, 2022. International Association for Energy Economics.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-31

How to Cite

สำราญเลิศฤทธิ์ ป. (2025). การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการยานยนต์ไฟฟ้า. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 15(1), 1–11. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/274886