โมเดลเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและระบบนิเวศทางการเรียนรู้ผ่านการเสริมสร้างพลังอำนาจและประสิทธิภาพรวมของกลุ่มครูที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของผู้เรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำทางวิชาการ; ระบบนิเวศทางการเรียนรู้; การเสริมสร้างพลังอำนาจ; ประสิทธิภาพรวมของกลุ่มครู; ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของผู้เรียนบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของภาวะผู้นำทางวิชาการ ระบบนิเวศทางการเรียนรู้
การเสริมสร้างพลังอำนาจ ประสิทธิภาพรวมของกลุ่มครู และผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของผู้เรียน 2) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลเชิงสาเหตุภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและระบบนิเวศทางการเรียนรู้ผ่านการเสริมสร้างพลังอำนาจและประสิทธิภาพรวมของกลุ่มครูส่งผลต่อผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของผู้เรียน และ 3) ศึกษาขนาดอิทธิพลของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ระบบนิเวศการเรียนรู้ ผ่านการเสริมสร้างพลังอำนาจ และประสิทธิภาพรวมของกลุ่มครู ที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างในการตอบแบบสอบถาม คือ ผู้บริหารสถานศึกษาจาก 260 โรงเรียน
และผู้ให้ข้อมูลในการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับนโยบาย 2 คน นักวิชาการ 3 คน ผู้บริหารสถานศึกษา 4 คน และครูเชี่ยวชาญ 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, วิเคราะห์เชิงยืนยันองค์ประกอบจากแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์สมการโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นของภาวะผู้นำทางวิชาการ ระบบนิเวศทางการเรียนรู้
การเสริมสร้างพลังอำนาจ ประสิทธิภาพรวมของกลุ่มครูและผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของผู้เรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.54, S.D.=0.43) 2) ผลการพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและระบบนิเวศทางการเรียนรู้ผ่านการเสริมสร้างพลังอำนาจและประสิทธิภาพรวมของกลุ่มครูส่งผลต่อผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ตัวแปรแฝงภายนอก จำนวน 2 ตัวแปร 12 องค์ประกอบ และตัวแปรงแฝงภายใน จำนวน 3 ตัวแปร 14 องค์ประกอบ และ 3) โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2=249.962 (218), χ2/df =1.147, P-value=0.677, SRMR=0.093, RMSEA=0.032, CFI =0.996 และ TLI=0.994)
References
แคทเธอรีน คาบีเซส. (2021). การปฏิรูปการศึกษาระหว่างประเทศ. ใน อภิชญา สวัสดี (บ.ก.). การเปรียบเทียบระบบการศึกษา (หน้า 65-85). กรุงเทพฯ: การศึกษาไทย.
นิภาวรรณ วิรัชชัย. (2542). การบริหารการศึกษา: ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปวีณา บุทธิจักร์ และคณะ. (2567). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารการศึกษา, 12(3), 45-62.
แผนปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง 2564). (2564). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 138, ตอนที่ 56 ก, หน้า 1-50.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116. ตอนที่ 74 ก, หน้า 1-17.
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135. ตอนที่ 10 ก, หน้า 1-65.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134. ตอนที่ 40 ก, หน้า 1-80.
วุฒิชัย ไกรวิเศษ. (2566). นวัตกรรมการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดนวัตกรรมพลิกผัน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมเกียรติ ทานอก. (2539). การพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: พัฒนาการศึกษา.
สำนักงานทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2564). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2565). สถิติข้อมูลทางการศึกษา ปีการศึกษา 2565. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). รายงานการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2560 - 2579). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). รายงานผลการดำเนินงานด้านการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
โสภนา สุดสมบูรณ์. (2566). ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการศึกษาในประเทศไทย. วารสารการศึกษานานาชาติ, 48(2), 112-130.
อภิชญา สวัสดี และคณะ. (2565). การศึกษาเปรียบเทียบระบบการศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. วารสารการศึกษา, 45(1), 23-40.
Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York, NY: W.H. Freeman.
Bronfenbrenner, U. (1979). The ecology of human development: Experiments by nature and design. Cambridge, MA: Harvard University Press.
Goddard, R. D., Hoy, W. K. & Hoy, A. W. (2004). Collective efficacy beliefs: Theoretical developments, empirical evidence, and future directions. Educational Researcher, 33(3), 3-13.
Goddard, R. D., Hoy, W. K. & Hoy, A. W. (2024). Educational leadership and management: Theory, research, and practice. New York, NY: Routledge.
Hallinger, P. (2018). Bringing context out of the shadows of leadership. Educational Management Administration & Leadership, 46(1), 5-24.
Hallinger, P., & Heck, R. H. (2010). Leadership for learning: Does collaborative leadership make a difference in school improvement?. Educational Management Administration & Leadership, 38, 654-678.
Hattie, J. (2015). Visible learning: A synthesis of over 800 meta-analyses relating to achievement. London, UK: Routledge.
Hoy, W. K. & Miskel, C. G. (2005). Educational administration: Theory, research, and practice (7th ed.). New York, NY: McGraw-Hill.
Huang, W. (2020). Integrated educational administration. Journal of Educational Administration, 50(1), 10-20.
Lan Thi Nguyen, H., Tran, Q. L. & Kim, S. J. (2023). Exploring the influence of cultural factors on leadership practices. Journal of Leadership Studies, 16(2), 85-102.
Leithwood, K. & Jantzi, D. (2000). The effects of transformational school leadership on organizational conditions and student engagement with school. Journal of Educational Administration, 38(2), 112-129.
Leithwood, K., Harris, A. & Hopkins, D. (2020). Seven strong claims about successful school leadership revisited. School Leadership & Management, 40(1), 5-25.
Muhammad, U. (2020). The education of minority groups in Thailand. Pattani: Education and Culture Publishing.
Short, P. M. & Rinehart, J. S. (1992). School participant empowerment scale: Assessment of the level of participant empowerment in the school. Educational and Psychological Measurement, 54, 951-960.
Spillane, J. P., Halverson, R. & Diamond, J. B. (2011). Distributed leadership: Toward a theory of school leadership practice. New York, NY: Teachers College Press.
Kim, J. O. & Mueller, C. W. (1978). Factor Analysis: Statistical Methods and Practical Issues. Beverly Hills, CA: Sage.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว