ความผูกพันต่อองค์การของอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชนในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • กฤตภาคิน มิ่งโสภา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ปิยภรณ์ ชูชีพ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ชนะเกียรติ สมานบุตร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ความผูกพันต่อองค์การ, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, สมดุลชีวิตและการทำงาน, อาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ แรงจูงใจในการทำงาน และความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพ
การปฏิบัติงานและความผูกพันต่อองค์การ รวมทั้งศึกษาบทบาทตัวแปรคั่นกลางของความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ กลุ่มตัวอย่างคืออาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 24 แห่ง รวมทั้งสิ้น 585 คน ใช้การวิเคราะห์สมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม LISREL
ผลการวิจัยพบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ^2/df = 2.22, CFI = 1.00,NFI = 0.99 GFI=0.97, AGFI = 0.90, RMSEA = 0.05) โดยพบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานผ่านความผูกพันต่อองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีมากที่สุด รองลงมาคือแรงจูงใจในการทำงานและความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานตามลำดับ ตัวแปรทั้งหมดสามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิภาพการปฏิบัติงานได้ร้อยละ 92 ข้อค้นพบชี้ให้เห็นว่าผู้บริหารมหาวิทยาลัยควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การสนับสนุนจากองค์การ รวมถึงการสร้างแรงจูงใจและการบริหารจัดการ เพื่อสร้างความสมดุลชีวิตการทำงาน เพื่อเพิ่มความผูกพันและประสิทธิภาพของอาจารย์ให้สูงขึ้น

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2566). สารสนเทศอุดมศึกษา. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2566, จาก https://info.mhesi.go.th/

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2552). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติเพื่อการตัดสินใจ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: สามลดา.

เฉลิมพร เย็นเยือก และพิมใจ บุญนิล. (2564). การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร สังกัดกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, 4(2), 113-124.

ณัฏฐารัตน์ หาญศรี. (2562). ความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2566, จาก https://www.gsbresearch.or.th/wpcontent/uploads/2019/10/GR_report_edu_inter_detail-1.pdf

พัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล, ธัญวฤณ วัทโล และวิลาสิณี สุดประเสริฐ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัท เอสเอสเค โลจิสติกส์ จำกัด. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์ เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 2(3), 27-39.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชกิจจานุเบกษา. (2561). ยุทธศาสตร์ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580). เล่มที่ 135 ตอนที่ 82 ก วันที่ 31 ตุลาคม 2561, หน้า 1-61.

สุพิศ ศรีบัว และ จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์. (2564). การบริหารสถานศึกษากับภาวะผู้การเปลี่ยนแปลง. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(3), 783-798.

เสาวนีย์ สมันต์ตรีพร. (2563). บุพปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(5), 397-412.

Darwin, R.J. (2021). Impact of Performance Management and Work Life Balance on Employee Engagement. Annals of the Romanian Society for Cell Biology, 25(6), 3520–3526.

Fornell, C., & Larcker, D. F. (1981). Evaluating structural equation models with unobservable variables and measurement error. Journal of marketing research, 18(1), 39-50.

Hair, J., Black, W., Babin, B., & Anderson, E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). London: Pearson Education Limited.

Hermanto, Y. B., Srimulyani, V. A., & Pitoyo, D. J. (2024). The mediating role of quality of work life and organizational commitment in the link between transformational leadership and organizational citizenship behavior. Heliyon, 10(6), e27664.

Kurtessis, J. N., Eisenberger, R., Ford, M. T., Buffardi, L. C., Stewart, K. A., & Adis, C. S.(2017). Perceived organizational support: A meta-analytic evaluation of organizational support theory. Journal of management, 43(6), 1854-1884.

Meyers, L. S., Gamst, G., & Guarino, A. J. (2006). Applied multivariate research: Design and interpretation. London: Sage.

Putri, N., & Meria., L. (2022). The Effect of Transformational Leadership on Employee Performance Through Job Satisfaction and Organizational Commitment. IAIC Transactions on Sustainable Digital Innovation (ITSDI), 4(1), 8–21.

Rachman, M. M. (2022). The Impact of Motivation on Performance: The Role of Organizational Commitment. Journal of Theoretical and Applied Management, 15(3), 376-393.

Schumacker, R.E., & Lomax, R.G. (2010). A Beginners Guide to Structural Equation Modeling. New York: Routledge.

Veiseh, S., Ghetarani, H., Karami, M. & Karami, F. (2014). Investigating the Relationship Between Citizenship Behavior and Organizational Learning of the Custom Personnel in MEHRAN Town. Journal of Business Studies Quarterly, 6(1), 296-307.

Vieira, A. L. (2011). Interactive LISREL in Practice: Getting Started with a SIMPLIS Approach. New York: Springer.

Wijaya (2023) Rhoades, L. & Eisenberger, R. (2002). Perceived Organizational Support A Review of the Literature. The Journal of Applied Psychology, 8(7), 698-714.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-31

How to Cite

มิ่งโสภา ก. ., ชูชีพ ป. ., & สมานบุตร ช. . (2025). ความผูกพันต่อองค์การของอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชนในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 15(1), 24–35. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/275506