รูปแบบการพัฒนาศักยภาพธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพในจังหวัดกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
รูปแบบการพัฒนาศักยภาพธุรกิจ, สปาเพื่อสุขภาพ, กรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการพัฒนาศักยภาพธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพ ภาพลักษณ์องค์กร กลยุทธ์การตลาด การบริหารจัดการ และความตั้งใจ
เชิงพฤติกรรมผู้บริโภค 2) อิทธิพลของภาพลักษณ์องค์กร กลยุทธ์การตลาด การบริหารจัดการ และความตั้งใจเชิงพฤติกรรมผู้บริโภค ที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพ จังหวัดกรุงเทพมหานคร และ3) รูปแบบการพัฒนาศักยภาพธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสม ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้มีอายุตั้งแต่ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และอาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 380 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง นำผลจากการวิจัยเชิงปริมาณในประเด็นที่มีนัยสำคัญสร้างเป็นข้อคำถาม ในแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง ใช้กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ การวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 15 รายคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับศักยภาพธรุกิจสปาเพื่อสุขภาพ อยู่ในระดับมาก โดยคุณภาพของสถานประกอบการสปา สำคัญที่สุด รองลงมาคือ สมรรถนะของบุคลากร โครงสร้างองค์กรและระบบงานและกลยุทธ์องค์กร 2) องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อศักยภาพธรุกิจสปาเพื่อสุขภาพในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ภาพลักษณ์องค์กร กลยุทธ์การตลาด การบริหารจัดการ และความตั้งใจเชิงพฤติกรรมผู้บริโภค ตามลำดับ และ 3) รูปแบบการพัฒนาศักยภาพธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพ สำหรับงานวิจัยครั้งนี้ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ด้านคุณภาพของสถานประกอบการสปา (2) ด้านสมรรถนะของบุคลากร (3) ด้านโครงสร้างองค์กรและระบบงาน และ (4) ด้านกลยุทธ์องค์กร ผลของการวิจัย สามารถนำองค์ประกอบทั้ง 4 ด้านนี้ ไปพัฒนาต่อยอด เพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพ และสามารถกำหนดเป็นเกณฑ์มาตรฐานของธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพได้
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2559). นโยบาย กระทรวงสาธารณสุข ปี 2564-2565 ประชาชนแข็งแรง เศรษฐกิจแข็งแรง ประเทศไทยแข็งแรง. ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565, จาก http://www.spko.moph.go.th/ wp-content/uploads/2021/09/policy65.pdf
กองสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ. (2562). ประกาศกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.
ไกรศรี ศรีทัพไทย ศุภะลักษณ์ ฟักคำ และธวัชชัย กมลธรรม. (2563). การพัฒนารูปแบบธุรกิจสมุนไพรในจังหวัดสกลนคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 16(1), 248-267.
ขนิษฐา ชัยบิล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ในเขตอำเภอนาทม จังหวัดนครพนม. Journal of Graduate School, 17(79), 158-170.
ข่าวสารการตลาด. (2563). เศรษฐกิจการท่องเที่ยว. ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565, จากhttps://www.thansettakij.com/category/business
ธิติ สิงห์คง, บุษบา สุธีธร และอัจฉราวรรณ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2563). การเปิดรับสื่อความต้องการข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์ภายในและความผูกพันที่มีต่อองค์การของบุคลากร มหาวิทยาลัยนเรศวร. Journal of Communication Arts of STOU, 9(1), 84-96.
ปฏิภาณ บัณฑุรัตน์ และเสรี วงษ์มณฑา. (2563). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่ใช้บริการสปาในประเทศไทย. วารสารรัชต์ภาคย์, 14(35), 92-103.
ปิยนันท์ สวัสดิ์ศฤงฆาร. (2564). 7S Model [McKinsey]. ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565, จากhttps://drpiyanan.com/2021/05/27/7s-model-mckinsey/
ภักดี กลั่นภักดี. (2564). คุณภาพการบริการกลยุทธ์การตลาดบริการและความพึงพอใจต่อการบริการวิถีใหม่ (New Normal) ที่ส่งผลต่อความภักดีของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่ใช้บริการสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพระดับสากลในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ภักดี กลั่นภักดี. (2561). ปัจจัยด้านมาตรฐานของสถานประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพระดับสากลที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ศุภรางศุ์ จันทนวัลย์ และรัชฏา ฟองธนกิจ. (2562).ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการธุรกิจสปาของผู้ใช้บริการในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคม, 24(3), 190-204.
สรัญญา ทองทาบ. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(7),27-94.
สุเนตรตรา จันทบุรี. (2559). โอกาสและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจสปาและนวดแผนไทย. วารสารเกษมบัณฑิต, 17(2), 117-123.
Chmielewska, M., Stokwiszewski, J., Markowska, J., & Hermanowski, T. (2022). Evaluating Organizational Performance of Public Hospitals using the McKinsey 7-S Framework. BMC health services research, 22(1), 1-12.
Parwati, K. S. M., Hendrajana, I. G. M. R., & Putra, D. P. K. E. (2022). Business Planning Strategy for Etnowellness SPA Products in Pinge Tourism Village, Tabanan Regency. Enrichment: Journal of Management, 12(5), 3710-3715.
Tangon, S. (2022). A Model of Potential Development in Environmental Management of Day Spa Business in Active Beach Prepared as Wellness Hub of Asia. Journal of Positive School Psychology, 6(3), 9581-9589.
Timm, P. R. (2011). Customer service: career success through customer loyalty. (5th ed.). Upper Saddle River, N.J.: Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว