การเมืองเชิงระบบอุปถัมภ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
การเมืองเชิงระบบอุปถัมภ์, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ธรรมาภิบาลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) โครงสร้างอำนาจองค์กรทางการเมืองท้องถิ่นเชิงระบบอุปถัมภ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรปราการ 2) ลักษณะความสัมพันธ์เชิงอำนาจทางการเมืองท้องถิ่นกับระบบอุปถัมภ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรปราการ และ 3) โครงสร้างอำนาจทางการเมืองท้องถิ่นที่ชอบธรรมตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น งานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในท้องถิ่นและประชากรในพื้นที่ รวม 15 ราย ใช้การคัดเลือกแบบเจาะจง และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) โครงสร้างอำนาจองค์กรทางการเมืองท้องถิ่น เป็นลักษณะสองขั้วอำนาจ ระหว่างกลุ่มตระกูลอัศวเหมและตระกูลรัศมิทัต ซึ่งผลัดกันได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนถึงปี พ.ศ.2563 ทั้ง 2 ตระกูลต่างก็มีแหล่งที่มาและใช้กลยุทธ์ขับเคลื่อนอิทธิพลทางการเมืองของกลุ่มตระกูล 5 ประเภทคือ อำนาจเครือข่าย อำนาจการให้สิ่งของรางวัล อำนาจบารมี อำนาจข่าวสาร และอำนาจแฝง 2) ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ตระกูลในฐานะชนชั้นนำ เชื่อมโยงความสัมพันธ์สมาชิกในเครือข่ายการเมืองด้วยระบบอุปถัมภ์แบบความเป็นพรรคพวก เครือญาติ ลูกพี่ลูกน้อง รวมทั้งแบบแนวนอนและแนวดิ่ง ความสัมพันธ์ภายในเครือข่ายเป็นอำนาจการเมืองที่สนับสนุนผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งซึ่งเป็นสมาชิกในตระกูลชนชั้นนำ และมีผลต่อเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 3) ถึงแม้ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งท้องถิ่นจากอิทธิพลของโครงสร้างอำนาจการเมืองเชิงอุปถัมภ์ของกลุ่มชนชั้นนำทางการเมือง และได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารหรือสมาชิกสภาในท้องถิ่น หากผู้บริหารมีภาวะผู้นำที่ดี มีความรู้ความสามารถส่งเสริมให้เกิดธรรมาภิบาลในการบริหาร ตามแนวหลักธรรมาภิบาล และประชาชนสามารถรับรู้ถึงความโปร่งใสภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เกิดการพัฒนาท้องถิ่นและกระจายผลประโยชน์จากการพัฒนาท้องถิ่นอย่างทั่วถึง ประชาชนก็สามารถยอมรับการใช้อำนาจทางการเมืองเชิงระบบอุปถัมภ์ได้
References
เกษียร เตชะพีระ. (2543). แบบวิถีอำนาจไทย: ข้อคิดว่าด้วยความสัมพันธ์ทางอำนาจที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุขในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: วิภาษา.
จุฑาทิพย์ สุจริตกุล. (2563). การนำหลักธรรมาภิบาลมาบริหารในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 25(3), 239-251.
ณัฐชัย นาคสุข และชาติชาย มุกสง. (2564). จุดกำเนิดแห่งการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ภายใต้ระเบียบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ (รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 10).
ต่อสกุล พุทธพักตร์. (2562). ระบบอุปถัมภ์ในคติเห็นแก่เครือญาติกับประสิทธิผลของการทำหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
นันทนา นันทวโรภาส. (2557). สื่อสารการเมือง: ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: แมสมีเดีย.
พงศ์สัณห์ ศรีสมทรัพย์ และปิยะนุช เงินคล้าย. (2540). การบริหารงานส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ และชุมพล อุ่นพัฒนาศิลป์. (2565). จักรกลเศรษฐกิจการเมืองร่วมสมัยในการเมืองท้องถิ่นไทย : การประกอบสร้าง ปฏิบัติการ และการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นในการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2563. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 20(1), 105-140.
มนูญ จันทร์สมบูรณ์. (2550). วัฒนธรรมธรรมาภิบาลของผู้นำท้องถิ่นและประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล (ดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาสหวิทยาการ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศุภภัทรวริศรา เกตุสุนทร. (2565). ระบบอุปถัมภ์กับดักสังคมไทยที่มองไม่เห็นหลักธรรมาภิบาล. ค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2566, จาก https://www.banmuang.co.th/ column/politic/6755
สะพรั่ง สุขเวชชวรกิจ. (2559). ธรรมาภิบาลในการเมืองท้องถิ่นของไทย.วารสารรัชต์ภาคย์, 12(26), 42-65.
สะถิระ เผือกประพันธุ์. (2558). ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ของนักการเมืองท้องถิ่นมีผลต่อการสื่อสารทางการ เมืองของประชาชน: กรณีศึกษาการปกครองท้องถิ่น จังหวัดชลบุรี. วารสารการเมือง การบริหารและกฎหมาย, 7(1), 181-208.
โอฬาร ถิ่นบางเตียว. (2554). พัฒนาการของโครงสร้างอำนาจท้องถิ่นในภาคตะวันออก: วิเคราะห์ในเชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Montagu, H. G. (1984). Comparative local government. Plymouth, UK: William Brendon & Son.
Romeo, L. G. (2012). Decentralizing for development: The developmental potential of local autonomy and the limits of politics-driven decentralization reforms (Working Paper No. 11). Visby, Sweden: ICLD.
Scott, J. C. (1972). Patron-client politics and political change in Southeast Asia. The American political science review, 66(1), 91-113.
Truman, D. B. (1971). The Governmental Process. New York: Afron A.Knopt.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว