ยุทธศาสตร์การบริหารงานบุคคลตามหลักพุทธธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขตตรวจราชการที่ 10
คำสำคัญ:
ยุทธศาสตร์, การบริหารงานบุคคล, หลักพุทธธรรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังการบริหารงานบุคคลตามหลักพุทธธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขตตรวจราชการที่ 10 2) เพื่อจัดทำร่างยุทธศาสตร์การบริหารงานบุคคลตามหลักพุทธธธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขตตรวจราชการที่ 10 และ 3) เพื่อประเมินคุณภาพยุทธศาสตร์การบริหารงานบุคคลตามหลักพุทธธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขตตรวจราชการที่ 10 โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม ซึ่งมีการดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังการบริหารงานบุคคล โดยการวิเคราะห์
และสังเคราะห์เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้แบบสอบถามกับผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 367 คน และจัดลำดับความต้องการจำเป็นโดยใช้เทคนิค PNIModified ระยะที่ 2 จัดทำร่างยุทธศาสตร์การบริหารงานบุคคลตามหลักพุทธธรรม โดยจัดการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญร่วมร่างยุทธศาสตร์การบริหารงานบุคคลตามหลักพุทธธรรม ระยะที่ 3 การประเมินคุณภาพยุทธศาสตร์การบริหารงานบุคคลตามหลักพุทธธรรม โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ประเมินคุณภาพยุทธศาสตร์ในขั้นตอนสุดท้าย
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันและความคาดหวังการบริหารงานบุคคลตามหลักพุทธธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขตตรวจราชการที่ 10 พบว่า ปัจจุบันการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษาสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขตตรวจราชการที่ 10 แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง ด้านการธำรงรักษาบุคคล ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน และด้านการพัฒนาบุคลากร สรุปได้ ดังนี้ ด้านการพัฒนาบุคลากรมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ย ( ) 4.90 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) 0.16 และน้อยที่สุดด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดแต่งตั้ง คิดเป็นคิดเป็นค่าเฉลี่ย ( ) 4.15 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) 0.40 องค์ความรู้ที่ได้จากวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) ยุทธศาสตร์ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง ตามหลักธรรมอิทธิบาท 4 สุจริต 3 และอคติ 4 ประกอบด้วย กลยุทธ์ 2 กลยุทธ์ 4 แนวทาง 2) ยุทธศาสตร์ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้งตามหลักสัปปุริสธรรม 7 และมรรค 8 ประกอบด้วย กลยุทธ์ 3 กลยุทธ์ 7 แนวทาง 3) ยุทธศาสตร์ด้านการธำรงรักษาบุคคล ประกอบด้วย กลยุทธ์ 6 กลยุทธ์ 8 แนวทาง 4) ยุทธศาสตร์ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย กลยุทธ์ 2 กลยุทธ์ 2 แนวทาง 5) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาบุคลากร ประกอบด้วย กลยุทธ์ 4 กลยุทธ์ 4 แนวทาง
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). การพัฒนาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
จรัส อติวิทยาภรณ์. (2554). หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2545). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชัน.
ธนชุดา ตันตรานุกูล. (2565). การบริหารสถานศึกษาตามหลักอปริหานิยธรรมสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
นครชาติ เผื่อนปฐม. (2554). ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นวพัชญ์ ฉีดจันทร์. (2564). การบริหารงานบุคคลกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บรรยงค์ โตจินดา. (2543). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ : รวมสาสน์ (1977).
บำเพ็ญ ไมตรีโสภณ. (2555).ยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนกลุ่มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในเขตภูมิภาคตะวันตกเพื่อการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พนิดา คล้อสวัสดิ์. (2551). ปัจจัยเอื้อและแนวปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พรชัย เจดามาน และคณะ. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อการบริหารจัดการสู่การเปลี่ยนผ่านศตวรรษที่ 21: ไทยแลนด์ 4.0. วารสารหลักสูตรและการเรียนการสอน คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2(1), 1-14.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.
ภัคพร บุญเคล้า. (2555). ยุทธวิธีการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้ปัจจัยด้านการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ในเขตตรวจราชการที่ 13 (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วิภาดา สารัมย์. (2562). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วุฒิชัย โลนันท์. (2560). กระบวนการบริหารของโรงเรียนขนาดเล็กที่มีวิธีปฏิบัติทีเป็นเลิศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2547). การพัฒนาการบริหาร สถาบันการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
อัญชลี พรหมเถื่อน. (2565). การบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว