ยุทธศาสตร์การบริหารวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขตตรวจราชการที่ 13
คำสำคัญ:
ยุทธศาสตร์, การบริหารวิชาการ, โรงเรียนขนาดเล็กบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังการบริหารวิชาการ ในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขตตรวจราชการที่ 13 2) เพื่อจัดทำร่างยุทธศาสตร์การบริหารวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขตตรวจราชการที่ 13 และ 3) เพื่อประเมินคุณภาพยุทธศาสตร์การบริหารวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขตตรวจราชการที่ 13 โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม ซึ่งมีการดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังการบริหารวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก โดยการวิเคราะห์ และสังเคราะห์เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้แบบสอบถามกับผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 368 คน และจัดลำดับความต้องการจำเป็นโดยใช้เทคนิค PNIModified ระยะที่ 2 จัดทำร่างยุทธศาสตร์การบริหารวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก โดยจัดการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญร่วมร่างยุทธศาสตร์การบริหารงานบุคคลตามหลักพุทธธรรม ระยะที่ 3 การประเมินคุณภาพยุทธศาสตร์การบริหารวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ประเมินคุณภาพยุทธศาสตร์ในขั้นตอนสุดท้าย ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบัน และสภาพที่คาดหวังการบริหารวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขตตรวจราชการที่ 13 แบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือ ด้านการจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผล ด้านการพัฒนา ใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ซึ่งทั้ง 5 ด้านนั้นมีสภาพปัจจุบันและความคาดหวังมากที่สุด คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด มีค่า PNI = 3.90 สภาพปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยที่ (M=4.88) (S.D.=0.33) น้อยที่สุด คือ ด้านการวัดและประเมินผลมีค่า PNI = 3.09 สภาพปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยที่ (M=4.51) (S.D.=0.58) สภาพที่คาดหวังที่(M=4.17) (S.D.=0.40) สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย คือ ยุทธศาสตร์การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขตตรวจราชการที่ 13 ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์ด้านการจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ 7 แนวทาง 2) ยุทธศาสตร์ด้านการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ 8 แนวทาง 3) ยุทธศาสตร์ด้านการวัดผลประเมินผล ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ 6 แนวทาง 4) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาใช้สื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยี ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ 6 แนวทาง 5) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาเหล่งเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ 4 แนวทาง
References
ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2558). ก้าวข้ามขีดจำกัดสู่สหัสวรรษแห่งคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน).
ธวัชชัย สิงห์จันทร์. (2551). แนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ปรียาภัสสร์ เส็งเส. (2554). การนำเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กในอำเภอ ไพศาลี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2550). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.
ลัดดา เพ็งผล. (2556). แนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). ภาพรวมของระบบการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
Chaemchoy, S., Fitzgerald, R. & SoFo, F. (2015). An investigation of Thai principals'technology leadership and understanding of mobile technology in education: Apply the TPACK framework. Advanced Science Letters, 23(2), 1134-1139.
Kate, M. (2007). Social and academic benefits of looping primary grade students. Retrieved 15 May 2016, from: http//www.sciencedirect.com/science?-ob=ArticleUR&-
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Minke, K.M. & Anderson, K. (2005). Family School Collaboration and Positive Behavior Support. Journal of Positive Behavior Interventions, 7(3),181-185.
Rogers, E. M. (1995). Diffusion of innovations. (3rd ed.). New York: Free Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว