รูปแบบการบูรณาการวัฒนธรรมองค์กรเชิงสร้างสรรค์กับหลักสัปปุริสธรรม 7 ที่ส่งเสริมการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดเลย
คำสำคัญ:
วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์, สัปปุริสธรรม 7, รูปแบบการบูรณาการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของวัฒนธรรมองค์กรเชิงสร้างสรรค์กับหลัก สัปปุริสธรรม 7 ที่ส่งเสริมการปฏิบัติงานของครู 2) เพื่อพัฒนารูปแบบและ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบูรณาการวัฒนธรรมองค์กรเชิงสร้างสรรค์กับหลักสัปปุริสธรรม 7 ที่ส่งเสริมการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเลย เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบบันทึกสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม แบบบันทึกการประชุมวิพากษ์ร่างรูปแบบและคู่มือ แบบสอบถามก่อนการทดลองใช้และหลังการทดลองใช้รูปแบบ แบบบันทึกการดำเนินงานตามรูปแบบ แบบสังเกตและจดบันทึก แบบบันทึกการประชุมสะท้อนผล และแบบประเมินรูปแบบการบูรณาการวัฒนธรรมองค์กรเชิงสร้างสรรค์กับหลักสัปปุริสธรรม 7 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา และประเมินรูปแบบด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ และความสอดคล้อง ใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- องค์ประกอบการบูรณาการวัฒนธรรมองค์กรเชิงสร้างสรรค์กับหลักสัปปุริสธรรม 7 ที่ส่งเสริมการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเลย มีจำนวน 6 องค์ประกอบ เรียงตามค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) สัมพันธภาพภายในองค์กร 2) บรรยากาศแบบเปิด 3) มุ่งเน้นสัจการแห่งตน 4) ค่านิยมร่วม 5) มุ่งเน้นความสำเร็จ และ 6) การทำงานเป็นทีม
- ผลการพัฒนารูปแบบได้ 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) สัมพันธภาพภายในองค์กร 2) บรรยากาศแบบเปิด 3) มุ่งความสัจการแห่งตน 4) ค่านิยมร่วม 5) มุ่งเน้นความสำเร็จ และ 6) การทำงานเป็นทีม
- ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่าการปฏิบัติตามรูปแบบโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ผลการประเมินรูปแบบรายด้านโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.66, S.D. = 0.06)
References
กรรณิการ์ โพธิ์ลังกา. (2556). การศึกษาลักษณะส่วนบุคล วัฒนธรรมองค์กรลักษณะสร้างสรรค์ และสภาพแวดล้อมภายในองค์กร ที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ในย่านธุรกิจอโศก กรุงเทพมหานคร (การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
เขมทัศน์ ศรีพิพัฒน์กุล. (2553). การนำเสนอแนวทางการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และเขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.
ธนัญญา ดวงธนู. (2561). โมเดลการพัฒนาวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
รุ้งลาวัลข์ สกุลมาลัยทอง. (2557). กลยุทธ์การเริมสร้างวัฒนธรรมสร้างสรรค์ในสถาบันอุดมศึกษาไทย (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริลักษณ์ แสนตรง. (2562). รูปแบบการพัฒนาวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ของโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เอมรินทร์ จันทร์บุญนาค. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานบุคคลสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 6(3), 1041-1054.
Bryn, E. (2009). Creating a culture of creativity and innovation. Retrieved February 8, 2022, from http://www.reataterelativty.com/blog/2009/01/15/creating-a-culture-of-creativity -and-innovation
Cameron, K. S. & Quinn, R. E. (1999). Diagnosing and changing organizational culture: Based on the competing values framework. San Francisco, CA: Jossey-Bass.
Cook, R. A. & Lafferty, L. J. (1989). Organization culture inventory. Plymouth, MI: Human Synergistics.
De Bas, F. T., & Kotler, P. (2011). Winning At Innovation: The A-to-F Model. New York: Palgrave Macmillan.
Feinstein, A. (2011). Multiple sclerosis and depression. Multiple Sclerosis Journal, 17(11), 1276-1281.
Halpin, A. W., & Croft, D. B. (1963). The organizational climate of schools. Chicago, IL: Midwest Administration Center of the University of Chicago.
Marquardt, M. J. (1996). Building the learning organization: A systems approach to quantum improvement and global success. New York: McGraw-Hill.
Robbins, S. (1997). Organizational behavior (7th ed.). Beijing: Renmin University of China Press.
Romiszowski, A.J. (1970). A system approach to education and training. Stanley: Hunt Publishers.
Steers, R. M., & Porter, L. W. (1979). Motivation and work behavior. New York: McGraw-Hill.
Winsor, J. (2006). Spark: be more creative through co-creation. Chicago: Dearborn.
Woodcock, M. (1989). Team development manual. (2nded.). Worcester: Billing and Son.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว