บทบาทนายชวน หลีกภัย ในฐานะประธานรัฐสภาในช่วงปี พ.ศ.2562-2566

ผู้แต่ง

  • เกศิณี กองสงฆ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • พัด ลวางกูร มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

บทบาท, นายชวน หลีกภัย, ประธานรัฐสภา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บทบาททางการเมืองของนายชวน หลีกภัย ในฐานะประธานรัฐสภาในช่วงปี พ.ศ.2562-2566 2) ปัญหาและอุปสรรคบทบาททางการเมืองของนายชวน หลีกภัย ในฐานะประธานรัฐสภาในช่วงปี พ.ศ.2562-2566 3) แนวทางที่เหมาะสมของการแก้ปัญหาและอุปสรรค ในการแสดงบทบาททางการเมืองของนายชวน หลีกภัย ในฐานะประธานรัฐสภาในช่วงปี พ.ศ.2562-2566 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ประธานรัฐสภา ผู้แทนสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 1 คนและผู้แทนวุฒิสภา จำนวน 1 คน ได้แก่ นักวิชาการที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการเมืองและระบบรัฐสภา
จำนวน 2 คน และกลุ่ม เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ งานเลขานุการรัฐสภา จำนวน 4 คน รวมทั้งสิ้น 9 คน โดยการสัมภาษณ์เจาะลึกครั้งนี้ได้กำหนดแนวคำถามแบบ
กึ่งโครงสร้าง โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) นายชวน หลีกภัย เป็นผู้นำที่มีบารมีและเชื่อถือได้ มีความสามารถในการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและควบคุมการประชุมรัฐสภาเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย โดยเน้นการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างความร่วมมือระหว่างสมาชิก เพื่อให้การดำเนินงานของรัฐสภาเป็นธรรมและยุติธรรม 2) ความแตกต่างทางการเมืองในสังคมไทยส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในการประชุมรัฐสภาอย่างต่อเนื่อง การตีความและบังคับใช้กฎหมายมีความซับซ้อน และการควบคุมสมาชิกในสภายังมีความยากลำบาก 3) ควรปรับบทบาทของนายชวน ให้เหมาะสมกับสภาวะการเมืองปัจจุบัน โดยสร้างความร่วมมือระหว่างพรรคการเมืองและควบคุมการประชุมให้มีประสิทธิภาพ พร้อมกำหนดข้อบังคับใหม่ที่เหมาะสมและสร้างช่องทางสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกับประชาชน เพื่อเพิ่มความโปร่งใสและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมือง

References

ไทยโพสต์. (2562). ‘ชวน’นั่งประธานสภา ขั้วซ้อนขั้วเปิดเกมเดือด ‘งูเห่า’ฝั่งเพื่อไทยโผล่7ตัว ‘ปู่ชัย’ยกธงขาว ค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2566, จาก https://www.thaipost.net/main/detail/36784

ทศพร บุญลือ. (2561). บริบท เศรษฐกิจ สังคม การเมืองไทย ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 1(3),1-12.

ธีราภรณ์ จุมรี. (2565). บทบาททางการเมืองของผู้นำฝ่ายทหารกับการก้าวเข้าสู่อำนาจทางการเมือง กรณีศึกษานายกรัฐมนตรี พลเอก

สุจินดา คราประยูร และ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา. วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ, 5(4), 29-52.

พระประเสริฐ เตชโก. (2564). ปรัชญาการเมืองยุคคลาสสิค. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(2), 367-369.

พรรณรัตน์ ดิษฐ์เจริญ. (2563). ระบบการเลือกตั้งแบบผสม. กรุงเทพฯ: สำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พีรดล รุ่งณรงค์รักษ์. (2566). ความสำคัญของทักษะการตัดสินใจกับผู้นำ และ 5 เครื่องมือพร้อมวิธีที่จะช่วยพัฒนา. ค้นเมื่อ 22 กันยายน 2567, จาก https://techsauce.co/culture- transformation/impor tance-of-decision-making-for-leader

มติชนออนไลน์. (2561). การเมืองไทย ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ถึงปัจจุบัน. ค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2566, จาก https://www.matichon.co.th/article/news_1023165

วรรณวิภางค์ มานะโชติพงษ์. (2557). มองเหลือง-แดง ผ่านขั้วความคิดทางการเมือง. วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, 32(3), 31-68.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน. ค้นเมื่อ 22 กันยายน 2567, จากhttps://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/more_news.phoffset=40&cid=63&filename=government

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (ม.ป.ป.). เอกสารประกอบนิทรรศการเรื่อง รัฐสภาไทย. ค้นเมื่อ 6สิงหาคม 2566, จาก https://parliamentmuseum.go.th/document/thai_parliament.pdf

สมชัย แสนภูมี, กัญจิรา วิจิตรวัชรารักษ์, และพระครูปลัด ณัฐพงศ์ ยโส. (2562). นักศึกษากับการเคลื่อนไหวทางการเมืองในวันครบรอบ

ปี การทำรัฐประหารของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 12(1), 1092-1095.

Barnard, C. I. (1938). The functions of the executive. Cambridge, MA: Harvard University Press.

Dahl, R. A. (1964). Modern Political Analysis. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Dautmouth, U. (2024). Decision-making process. Retrieved September 22, 2024, from https://www.umassd.edu/fycm/decision-making/process/

Easton, D. (1953). The Political System: An Inquiry into the State of Political Science. New York: Alfred A. Knopf.

Goodin, R. E., & Klingemann, H. D. (Eds.). (1998). A new handbook of political science. New York: Oxford University Press.

Hobbes, T. (1651). Leviathan. London: Andrew Crooke.

John, P., & Cole, A. (1999). Political Leadership in the New Urban Governance: Britain and France Compared. Local Government Studies, 25, 98-115.

Levinton, D. J. (1964). Role, Personality and Social Structure. New York: Macmillan.

Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1994). Qualitative data analysis: An expanded sourcebook. (2nd ed.). Sage Publications, Inc.

Nahavandi, A. (2009).The Art and Science of Leadership. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Northouse, P. G. (2018). Leadership: Theory and Practice (8th ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.

Patton, M. (1990). Qualitative Evaluation and Research Methods. Beverly Hills, CA: Sage.

Pennock, J. R & Smith, D. G. (1964). Political science: an introduction. New York: The Macmillan Company.

Pfeffer, J. (1992). Managing with power: Politics and influence in organizations. Boston: Harvard Business School Press.

Robbins, S. P. (1994). Essentials of organizational Behavior. (4th ed.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30