ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของระบบบริหารจัดการคลินิก เสริมความงามในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ความสำเร็จ, ระบบการบริหารจัดการ, คลินิกเสริมความงามบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จของการบริหารจัดการคลินิกเสริมความงามในเขตกรุงเทพมหานคร คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจ และนวัตกรรม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของคุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจ และนวัตกรรม ที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการบริหารจัดการคลินิกเสริมความงามในเขตกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อเสนอแนวทางเสริมสร้างความสำเร็จของการบริหารจัดการคลินิกเสริมความงามในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยแบบผสม การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่ใช้บริการคลินิกเสริมความงามในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 240 ตัวอย่าง สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก ประกอบด้วย ผู้ประกอบการคลินิกเสริมความงามในเขตกรุงเทพมหานคร ตัวแทนผู้ใช้บริการคลินิกเสริมความงามในเขตกรุงเทพมหานคร รวม 15 คน
และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพึงพอใจ ความสำเร็จของระบบบริหารจัดการคลินิกเสริมความงามในเขตกรุงเทพมหานคร คุณภาพการให้บริการ และนวัตกรรม อยู่ในระดับมาก 2) คุณภาพการให้บริการมีอิทธิพลเชิงสาเหตุรวมต่อความสำเร็จของระบบบริหารจัดการคลินิกเสริมความงามในเขตกรุงเทพมหานคร มากที่สุด รองลงมาได้แก่ นวัตกรรม และ ความพึงพอใจตามลำดับ และ 3) แนวทางเสริมสร้างความสำเร็จของการบริหารจัดการคลินิกเสริมความงามในเขตกรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นภาพแผนภูมิประกอบด้วยคุณภาพการให้บริการ ที่มีอิทธิพลรวมมากที่สุดเป็นฐานผลักดันอยู่ล่างสุด ส่วนนวัตกรรม อยู่ตรงกลาง และความพึงพอใจ
ส่งเสริมอยู่ในระดับบนด้วย นอกจากนั้นความสำเร็จของระบบบริหารจัดการคลินิกเสริมความงามในเขตกรุงเทพมหานคร ต้องประกอบด้วย การบอกต่อ ภาพลักษณ์ และความจงรักภักดี
References
กรุงเทพธุรกิจ. (2564). จับตา "ตลาดศัลยกรรมความงาม" หลัง "เปิดประเทศ". ค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2566, จาก https://www.bangkokbiznews.com/social/971782
กรุงเทพธุรกิจ. (2565). "ศัลยกรรม" ไทย ครองใจต่างชาติ ผู้ใช้บริการพุ่ง หลังวิกฤติโควิด-19. ค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2566, จาก https://www.bangkokbiznews.com/health/well-being/1029263
กรรณิการ์ คำมาบุตร. (2565). ความพึงพอใจต่อการใช้บริการคลินิกเสริมความงามในย่านนิมมานเหมินทร์อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. ค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2566, จาก http://library.cmu.ac.th/faculty/ econ/Exer751409/2556/Exer2556_no13
เกษม แก้วสนั่น และ เพ็ญศรี ฉิรินัง. (2564). การจัดการองค์กรไปสู่ความสำเร็จ. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 6(4), 88-108.
จิราพร ฟองขาว. (2560). พฤติกรรมการเลือกใช้บริการเสริมความงามภายใต้การดูแลของแพทย์. วารสารราชนครินทร์, 1(2), 127-132.
นนทกร อาจวิชัย. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับการบริหารงานตามมาตรฐานการบริหารการพยาบาลของหัวหน้ากลุ่มพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการวิจัยและพัฒนาระบบสุภาพ, 4(1), 112-118.
ปรารภพิชญ์ กัชวัฒนะ. (2561). อัพเดท ! 7 เทรนด์ ความงาม ข้ามปี ชี้ช่องให้ SMEs วางแผนทำตลาดได้ฉลุย. ค้นเมื่อ 25 กันยายน 2567, จาก https://www.salika.co/2018/06/03/2019-beauty-trends-business/
พรรัตน์ ชาญชวณิชย์ และคณะ (2564). กลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจกลับมาใช้บริการคลินิกศัลยกรรมเสริมความงามในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 14(1), 61-81.
รุ่งนภา กิตติลาภ และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการคลินิกเสริมความงาม ในเขต อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. Journal of Buddhist Education and Research: JBER, 6(1). 60-74
ศรายุธ แดงขันธ์. (2563). คุณภาพบริการและภาพลักษณ์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความตั้งใจใช้ซ้ำคลินิกเสริมความงามของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ศิริพร สอนไชยา. (2558). ปัจจัยด้านพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมขององค์กรที่ส่งผลต่อความสำเร็จใน การทำงานของบริษัทกรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) (วิทยายนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). ตลาดศัลยกรรม และเสริมความงามแข่งขันรุนแรง เพื่อแย่งชิงลูกค้าที่มีศักยภาพ. ค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2566, จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Surgery-FBC273-FB-25-08-2023.aspx
อัครเดช ไม้จันทร์ และนุจรีย์ แซ่จิว.(2561). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 5(1), 95-122.
Arlan, A. F. (2020, November). The Effect of Price, Service Quality and Promotion of Loyalty with Satisfaction as Intervening Variables in Shaqylla Beauty Clinic Payakumbuh. In The Fifth Padang International Conference on Economics Education, Economics, Business and Management, Accounting and Entrepreneurship (PICEEBA-52020) (pp. 628-637). Atlantis Press.
Beckhard, R. (2011). What is organization development?. Retrieved August 25, 2023, from https://www.researchgate.net/publication/265754693_What_Is_Organization_Development
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5thed.). New York: Harper Collins Publishers.
Grace, J. B. (2008). Structural Equation modeling for observational studies. Journal of Wildlife Management, 72(1), 14-22.
Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (1996). The balanced scorecard: Translating strategy into action. Harvard Business Review Press.
Koontz, H., & Odonnell, C. (2001). Essentials of Management. New York: McGraw Hill.
Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 140, 5-55.
Pfann, G. A., Biddle, J. E., Hamermesh, D. S., & Bosman, C. M. (2019). Business success and businesses’ beauty capital. Economics Letters, 67(2), 201-207.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว