ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ การเรียนรู้พฤติกรรมลูกค้า นวัตกรรมการจัดการ และการปรับตัวขององค์กรที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขาทัศนศิลป์ สายงานวิจิตรศิลป์ด้านศิลปะ งานจิตรกรรมรูปแบบ NFT ดิจิทัลในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • รวีวรรณ แสงสุรีย์พรชัย วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สุพัตรา ปราณี วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ธนพล ก่อฐานะ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • บัณฑิต ผังนิรันดร์ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์, การเรียนรู้พฤติกรรมลูกค้า, นวัตกรรมการจัดการ, การรปรับตัวขององค์กร, ความสำเร็จของผู้ประกอบการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ การเรียนรู้พฤติกรรมลูกค้า นวัตกรรมการจัดการ และการปรับตัวขององค์กรที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขาทัศนศิลป์ สายงานวิจิตรศิลป์ด้านศิลปะงานจิตรกรรมรูปแบบ NFT ดิจิทัลในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ การเรียนรู้พฤติกรรมลูกค้า นวัตกรรมการจัดการ และการปรับตัวขององค์กรที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขาทัศนศิลป์ สายงานวิจิตรศิลป์ด้านศิลปะงานจิตรกรรมรูปแบบ NFT ดิจิทัลในประเทศไทย และ 3) เพื่อเสนอแบบจำลองวามสำเร็จของผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขาทัศนศิลป์ สายงานวิจิตรศิลป์ด้านศิลปะงานจิตรกรรมรูปแบบ NFT ดิจิทัลในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขาทัศนศิลป์ สายงานวิจิตรศิลป์ด้านศิลปะงานจิตรกรรมรูปแบบ NFT ดิจิทัลในประเทศไทย จำนวน 400 คน ใช้การคัดเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับเจ้าหน้าที่จากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์กรมหาชน) นายกสมาคมสาขาทัศนศิลป์ สายงานวิจิตรศิลป์ด้านศิลปะงานจิตรกรรมรูปแบบ NFT ดิจิทัลในประเทศไทย ผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขาทัศนศิลป์ สายงานวิจิตรศิลป์
ด้านศิลปะงานจิตรกรรมรูปแบบ NFT ดิจิทัลในประเทศไทย รวมทั้งสิ้น 16 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการปรับตัวขององค์กร ความสำเร็จของผู้ประกอบการ การเรียนรู้พฤติกรรมลูกค้า นวัตกรรมการจัดการ มีความสำคัญอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านการปรับตัวขององค์กร มีอิทธิพลเชิงสาเหตุรวมต่อความสำเร็จของ ผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขาทัศนศิลป์ สายงานวิจิตรศิลป์
ด้านศิลปะงานจิตรกรรมรูปแบบ NFT ดิจิทัลในประเทศไทย อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ นวัตกรรมการจัดการ ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ และการเรียนรู้พฤติกรรมลูกค้า ตามลำดับ และ3) แบบจำลองที่พัฒนาขึ้นคือ “OISLS Model” เป็นแบบจำลองให้ความสำเร็จของผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขาทัศนศิลป์ สายงานวิจิตรศิลป์ด้านศิลปะงานจิตรกรรมรูปแบบ NFT ดิจิทัลในประเทศไทย ที่มุ่งเน้นการเงิน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กระบวนการจัดการภายใน และการเรียนรู้และการพัฒนา

References

นิตย์ สัมมาพันธ์. (2560). ภาวะผู้นำ: พลังขับเคลื่อนองค์การสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: อินโนกราฟฟิกส์.

ศุภกฤษฎ์ บุญสาตร์. (2563). สินทรัพย์ดิจิทัลเพิ่มค่างานสร้างสรรค์ มุมมองแห่งโอกาส. ค้นเมื่อ 5 กันยายน 2566, จาก https://www.tcdcmaterial.com/th/article/technology-innovation/33096

ศูนย์ข้อมูลเศรษฐกิจสร้างสรรค์. (2564). อัปเดตธุรกิจสร้างสรรค์ไทย. ค้นเมื่อ 25 กันยายน 2567, จาก https://article.tcdc.or.th/uploads/media/2021/9/28/media_PDF_Full_EP1_Creative%20Business_22-9-64.pdf

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และ กรรณิการ์ สุขเกษม. (2547). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ: การวิจัยปัญหาปัจจุบันและการวิจัยอนาคตกาล. กรุงเทพฯ: สามลดา.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์กรมหาชน). (2566ก). รายงานสถานการณ์และความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ประจำปี 2566. ค้นเมื่อ 5 กันยายน 2566, จาก https://www.cea.or.th/th/ single-research/Thailand-Creative-Industries-Movement-Report-2023.pdf

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน). (2566ข). เจาะลึก CEA ดันธุรกิจอนาคตอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สร้างโอกาส-เพิ่มมูลค่า พาเศรษฐกิจไทยก้าวไกลสู่สากล. ค้นเมื่อ 5 กันยายน 2566, จาก https://www.cea.or.th/th/single-research/Creative-Economy-Foresight

Alfoqahaa, S. (2018). Critical success factors of small and medium-sized enterprises in Palestine. Journal of research in marketing and entrepreneurship, 20(2), 170-188.

Boal, K., & Hooijberg, R. (2019). Strategic Leadership Research: Moving on. Leadership Quarterly, 11(2), 515-549.

Chowdhury, M. S., Alam, Z., & Arif, M. I. (2019). Success factors of entrepreneurs of small and medium sized enterprises: Evidence from Bangladesh. Business and Economic Research, 3(2), 38-52.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Dewantoro, A. D., & Ellitan, L. (2022). The role of social capital and knowledge creation in improving organizational performance. International Journal of Trend in Research and Development, 9(1), 50-55.

Dezdar, S. & Ainin, S. (2011) The Influence of Organizational Factors on Successful ERP Implementation. Management Decision, 49, 911-926.

Grace, J. B. (2008). Structuralequation modeling for observational studies. Journal of Wildlife Management, 72(1), 14-22.

Hongsuchon, T., Alfawaz, K. M., Hariguna, T., & Alsulami, O. A. (2022). The effect of customer trust and commitment on customer sustainable purchasing in e-marketplace, the antecedents of customer learning value and customer purchasing value. Frontiers in Environmental Science, 10, 964892.

Hersey, P., & Blanchard, K. H. (1977). Management of Organizational Behavior. (3rd ed.).New Jersey: Utilizing Human Resources, Prentice Hall.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing Management (15th ed.). Pearson Education.

Kemp, R. E. (2021). Perceived discrimination among African-American faculty and the Elliott Kemp organizational change model. In R. D. Johnson (Ed.), Handbook of research on multidisciplinary perspectives on managerial and leadership psychology (pp. 459–473).

Schiffman, L. G., Kanuk, L. L., & Kumar, S. R. (2010). Consumer Behavior (10th ed.). New Delhi:

Pearson Prentice Hall.

Stephen, R. C. (1999). The four roles of leadership. Franklin Covey.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30