ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จทางธุรกิจของผู้ประกอบการอาหารทะเลแปรรูป ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • ยอดเผ่า จิรชัยศรี วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • สุพัตรา ปราณี วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ความสามารถด้านนวัตกรรมเชิงกลยุทธ์, ความฉลาดทางอารมณ์, เทคโนโลยีดิจิทัล, ศักยภาพในการแข่งขัน, ความสำเร็จทางธุรกิจของผู้ประกอบการ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อศึกษา 1) ระดับความสามารถด้านนวัตกรรมเชิงกลยุทธ์ ความฉลาดทางอารมณ์ เทคโนโลยีดิจิทัล ศักยภาพในการแข่งขันและความสำเร็จทางธุรกิจของผู้ประกอบการอาหารทะเลแปรรูปในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) อิทธิพลของตัวแปรความสามารถด้านนวัตกรรมเชิงกลยุทธ์ ความฉลาดทางอารมณ์ เทคโนโลยีดิจิทัล ศักยภาพในการแข่งขันที่มีต่อความสำเร็จทางธุรกิจของผู้ประกอบการอาหารทะเลแปรรูปในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 3) พัฒนารูปแบบความสามารถด้านนวัตกรรมเชิงกลยุทธ์ ความฉลาดทางอารมณ์ เทคโนโลยีดิจิทัล ศักยภาพในการแข่งขันและความสำเร็จทางธุรกิจของผู้ประกอบการอาหารทะเลแปรรูปในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการอาหารทะเลแปรรูปในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวน 420 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสมการโครงสร้าง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ประกอบการอาหารทะเล จำนวน 17 คน เลือกกลุ่มแบบเจาะจง และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับของความสำเร็จทางธุรกิจของผู้ประกอบการ และเทคโนโลยีดิจิทัล มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ความสามารถด้านนวัตกรรมเชิงกลยุทธ์ ศักยภาพในการแข่งขัน และความฉลาดทางอารมณ์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ความสามารถด้านนวัตกรรมเชิงกลยุทธ์ ความฉลาดทางอารมณ์ เทคโนโลยีดิจิทัล ศักยภาพในการแข่งขันมีอิทธิพลต่อความสำเร็จทางธุรกิจของผู้ประกอบการ และ3) แบบจำลองความสำเร็จของทางธุรกิจของผู้ประกอบการ ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นคือ “BSC DE Model”เป็นรูปแบบให้ผู้ประกอบการอาหารทะเลแปรรูป โดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ นวัตกรรมการผลิตที่คงคุณภาพของสินค้า และการใช้สื่อสังคมต่าง ๆ ในการประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคให้สามารถดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

References

กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง. (2566). กลุ่มวิเคราะห์การค้าสินค้าประมงระหว่างประเทศ กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง. ค้นเมื่อ 30 เมษายน 2565, จาก https://www4.fisheries.go.th

ชนาภา ศรจิตติโยธิน. (2564). ทักษะแรงงานโลกใหม่ พัฒนาก่อนไทยตกขบวน. ค้นเมื่อ 30 เมษายน 2566, จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/972650

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2564). บทสรุปผู้บริหารรายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. ค้นเมื่อ 11 เมษายน 2567, จาก https://www.sme.go.th/knowledge

เสาวณี จันทะพงษ์ และกัมพล พรพัฒนไพศาลกุล. (2562). การยกระดับทักษะแรงงานไทย: โจทย์ใหญ่ในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก. ค้นเมื่อ 30 เมษายน 2567, จาก https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/articles/Article_20Feb2019.html

สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์. (2564). ความสามารถในการจัดการนวัตกรรมเพื่อผลการดำเนินงานขององค์กรของ อุตสาหกรรมการเกษตรในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 8(2), 194–212.

Ahmad, S., & Schroeder, R. G. (2003). The impact of human resource management practices on operational performance: Recognizing country and industry differences. Journal of Operations Management, 21(1), 19-43.

Barney, J. B. (1991). Firm resources and sustained competitive advantage. Journal of Management, 17(1), 99-120.

Bharadwaj, A. (2000). A resource-based perspective on information technology capability and firm performance: An empirical investigation. MIS Quarterly, 24(1), 169-196.

Bower, A. H. (2022). Insights into Problem Solving, Algorithm Aversion, and Theory of Mind. University of California, Irvine.

Christensen, C. M. (1997). The innovator's dilemma: When new technologies cause great firms to fail. Harvard Business Review Press.

Diamantopoulos, A. & Siguaw, J. A. (2000). Introduction to LISREL: A guide for the uninitiated. London: SAGE Publications, Inc.

Grant, R. M. (2016). Contemporary Strategy Analysis: Text and Cases Edition. New York: John Wiley & Sons, Hoboken.

Goleman, D. (2005). Emotional Intelligence: Why It Can Matter More Than IQ. New York: Bantam Books.

Hair Jr., J. F. et al. (1998). Multivariate Data Analysis with Readings. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Kouzes, J. M., & Posner, B. Z. (2019). The leadership challenge: How to take charge, get things done, and inspire people to follow. New York: Jossey-Bass.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (2001). The strategy-focused organization: How balanced scorecard companies thrive in the new business environment. Harvard Business Review Press.

Likert, R. N. (1970). A technique for the measurement of attitude. Attitude Measurement. Chicago: Ronal McNally & Company.

Mayer, J. D., Salovey, P., & Caruso, D. R. (2008). Emotional intelligence: New ability or eclectic traits?. American Psychologist, 63(6), 503-517.

Miller, T., Howe, P., & Sonenberg, L. (2017). Explainable AI: Beware of inmates running the asylum or: How I learnt to stop worrying and love the social and behavioral sciences. arXiv preprint arXiv:1712.00547. Retrieved April 26, 2024, from https://arxiv.org/abs/1712.00547

Porter, M. (1980). Competitive Advantage: Creating and Sustaining Superior Performance;andCompetitive Strategy: Techniques for Analyzing Industries and Competitors. New York: Free Press.

Porter, M. E. (2008). Competitive advantage: Creating and sustaining superior performance

(2nd ed.). New York: Free Press.

Sisay et al. (2018). Epidemiology of self-medication in Ethiopia: a systematic review and meta-

analysis of observational studies. BMC Pharmacology and Toxicology, 19(56), 1-12.

Tushman, M. L. & O’Reilly, C. A. (1996). The Ambidextrous Organizations: Managing Evolutionary and Revolutionary Change. California Management Review, 38, 8-30.

Yigit, A. M., & Eroglu, M. (2022). The role of emotional intelligence in customer orientation on the road to customer satisfaction. Research Journal of Business and Management, 9(3), 245-255.

Zhu, K., & Kraemer, K. L. (2005). Post-adoption variations in usage and value of e-business by organizations. Information Systems Research, 16(1), 61-84.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30