การพัฒนาชุมชนสร้างสรรค์แบบครบวงจร เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก และชุมชนเข้มแข็ง: กรณีศึกษาชุมชนบ้านลิพอนใต้ อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • เฉลิมพร วรพันธกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • เอกพล วงศ์เสรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • พรรณวดี กิตติอุดมรัตน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • วนิดา หาญเจริญ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • กมลวรรณ กิตติอุดมรัตน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ชุมชนสร้างสรรค์, ครบวงจร, เศรษฐกิจฐานราก, ชุมชนเข้มแข็ง

บทคัดย่อ

มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศักยภาพและแนวทางการพัฒนาศักยภาพชุมชนสร้างสรรค์แบบครบวงจร เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง: กรณีศึกษาชุมชนบ้านลิพอนใต้ อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 2) สภาพปัญหาความต้องการและแนวทางการพัฒนานวัตกรชุมชนสร้างสรรค์ แบบครบวงจร เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง 3) สภาพปัญหาความต้องการและแนวทางการวิเคราะห์ต้นทุนผลิตภัณฑ์และการพัฒนาความรู้บัญชีชุมชนสร้างสรรค์แบบครบวงจร เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง 4) สภาพและแนวทางการยกระดับและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนสร้างสรรค์แบบครบวงจร
เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้แบบสอบถาม กับกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ จำนวน 375 คน และกลุ่มตัวอย่างทั่วไป จำนวน 384 คน การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจำนวน 12 คน และการสนทนากลุ่ม จากกลุ่มตัวแทนผู้นำชุมชน ผู้บริหารของหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็น และการทดสอบค่าที ขณะที่ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านศักยภาพชุมชน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ในการพัฒนาศักยภาพชุมชน ควรเน้นการพัฒนาทักษะการสื่อสาร การจัดประชุมวางแผนและดำเนินกิจกรรมร่วมกันในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ การจัดเก็บข้อมูลวัฒนธรรมท้องถิ่นในรูปแบบต่าง ๆ การจัดทำแผนพัฒนาชุมชนประจำปี รวมถึงการสร้างเครือข่ายและพันธมิตรภาคเอกชนเพื่อการพัฒนาจุดบริการการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 2) นวัตกรชุมชน ภาพรวมสภาพปัญหาที่อยู่ระดับปานกลาง แต่ความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุด ควรเน้นการประชุมภายในชุมชนเพื่อคัดเลือกนวัตกรที่มีศักยภาพ การจัดการเรียนรู้และฝึกฝนในด้านที่มีความต้องการสูง เช่น การพูดในที่สาธารณะและการพัฒนาการท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐาน 3) ด้านการวิเคราะห์ต้นทุนผลิตภัณฑ์และการพัฒนาความรู้บัญชีชุมชน ภาพรวมสภาพปัญหาอยู่ระดับปานกลาง ความต้องการอยู่ระดับมากสุด ควรเน้นการวิเคราะห์ต้นทุนผลิตภัณฑ์อย่างละเอียด การสร้างความมั่นคงทางการเงินด้วยการออม การใช้วัตถุดิบในชุมชน และการติดตามบัญชีครัวเรือนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ 4) การยกระดับและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อยู่ระดับปานกลาง ความต้องการอยู่ระดับมากสุด ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน พัฒนาคุณภาพและความหลากหลายของผลิตภัณฑ์การถนอมอาหารและการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้เป็นเอกลักษณ์และสะดวกต่อการขนส่ง

References

กฤษณสรรค์ สุขสาร. (2560). การเป็นชุมชนเข้มแข็งของชุมชนตลาดร้อยปีสามชุก อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

คณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์เศรษฐกิจฐานราก. (2559). คู่มือการส่งเสริมการพัฒนา: ระบบเศรษฐกิจฐาราก. กรุงเทพฯ: สำนักสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชน และสำนักสื่อสารการพัฒนาสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).

จริญญาพร สวยนภานุสรณ์. (2562). ความเปลี่ยนแปลงของชุมชนสู่เมืองสร้างสรรค์ กรณีศึกษา: ชุมชนหน้าเมือง ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ไทยศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

จามรี พระสุนิล. (2563). การส่งเสริมนวัตกรชาวบ้านของชุมชนบ้านปางสา ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยสังคม, 43(2), 181-218.

จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชลกนก โฆษิตคณิน ชนิดาภา ดีสุขอนันต์ และวรเทพ ตรีวิจิตร (2560). ปัจจัยอุปสรรคและแนวทางการพัฒนาการจัดทำบัญชีวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครปฐม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

ดาฬิยา เลดี. (2559). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนของกลุ่มอาชีพบ้านศาลาแดงเหนือตำบลเขียงรากน้อย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

นภธร ศิวารัตน์. (2562). การยกระดับการจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยชุมชนสร้างสรรค์ในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ (ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ปวีณา ผาแสง, ณัฎฐ์กร เงินวงศ์นัย และราชาวดี สุขภิรมย์ (2560). การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้าทอพื้นเมืองน่าน กรณีศึกษา: กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเฮี้ย ตำบลศิลาแลง อำเภอปัว จังหวัดน่าน (รายงานผลการวิจัย). วิทยาลัยชุมชนน่าน: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

พิมพ์รัก พุ่มเจริญ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการจัดทาาบัญชีรายรับรายจ่ายของเกษตรกร และแนวทางในการส่งเสริมให้ เกษตรกรมีการจัดทาบัญชีรายรับ-รายจ่ายที่เหมาะสม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2556). เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับการพัฒนาประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์ สถาบันพัฒนศาสตร์, 7(1), 30-33.

ภิญญาพัชญ์ นาคภิบาล. (2563). นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาศักยภาพชุมชนแบบมีส่วนร่วมอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ภานนท์ คุ้มสุภา. (2562). นวัตกรท้องถิ่นรุ่นใหม่กับการแพร่กระจายนวัตกรรมสู่ชุมชน. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 13(2), 258-299.

รุ่งนภา ทองพันชั่ง. (2558). ต้นทุนและผลตอบแทนของการแปรรูปสตรอเบอรี่ของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปไม้ผล เมืองหนาวบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรรณี เตโชโยธิน สมชาย สุภัทรกุล และมนวิกา ผดุงสิทธิ์. (2563). การบริหารต้นทุน: Cost Management. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.

วาริพิณ มงคลสมัย. (2560). การพัฒนาบัญชีครัวเรือนของกลุ่มแม่บ้านเกษตรบ้านห้วยทราย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). ค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2567, จาก http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดภูเก็ต. (2560). รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน บ้านลิพอนใต้. ค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2567, จาก https://phuket.cdd.go.th/wp-content/uploads/sites/42/2017/09/VDR-ม.5-ต.ศรีสุนทร-2560.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการการพัฒนาระบบสถิติข้อมูลและตัวชี้วัดเพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินตามยุทธศาสตร์ชาติ. ค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2567, จาก http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/ uploads/2021/12/ประเด็นที่-16_เศรษฐกิจฐานราก.pdf

สำนักงานแรงงานจังหวัดภูเก็ต. (2563). สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดภูเก็ต ไตรมาส 2 ประจำปี 2563. ค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2567, จาก https://www.doe.go.th/prd/phuket/news/param/site/114/cat/ 7/sub/0/pull/detail/view/detail/object_id/35717

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). รายงานภาวะสังคมไทยรายไตรมาส 3/2563. ค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2567, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=15327 &filename=social_outlook

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). รายงานภาวะสังคมไทย ไตรมาสสี่และภาพรวม ปี 2564. ค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2567, จาก https://www.mhesi.go.th/index.php/all-media/book/8747-2565-10.html

สุปราณี ศุกระเศรณี และคณะ. (2561). การบัญชีบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: พิมพ์พรรณ.

Baker, S. R. (2018). Debt and the Response to Household Income Shocks: Validation and Application of Linked Financial Account Data. Journal of Political Economy, 126(4), 1504–1557.

Bessant, J. R., & Tidd, J. (1991). Innovation and entrepreneurship (3rd ed.). Wiley.

Daou, A. (2017). Community-based innovation and technology for improved social well-being. Beirut: United Nation Economic and Social Commission for Western Asia.

Lim, M. & Yong Ong, B. (2019). Communities of innovation. International Journal of Innovation Science, 11(3), 402-418.

OECD. (2021). Social innovation Retrieved May 12, 2024 from https://www.oecd.org/regional/ leed/social-innovation.htm

Poplin, E. D. (1972). Communities: A Survey of Theories and Methods of Research. New York: Macmillan.

Sanders, I. (1958). Theories of Community Development. Rural Sociology, 23(1), 1-12.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30