การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์, ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์, ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 2) ประเมินความเป็นไปได้และการนำไปใช้ประโยชน์ของรูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นวิจัยแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน สุ่มสถานศึกษาตามขนาดใน 5 จังหวัด ได้แก่ ขนาดใหญ่พิเศษ ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก โดยสุ่มสถานศึกษาตามสัดส่วนของจำนวนสถานศึกษาในแต่ละจังหวัด ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 281 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบปลายเปิด และแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในกรณีการวิจัยเชิงปริมาณ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความถูกต้องและความเหมาะสม ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการกำหนดกลยุทธ์ ด้านการกำหนดทิศทางขององค์การ ด้านการสร้างวัฒนธรรมองค์การ ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ด้านการควบคุมและประเมินกลยุทธ์
2. การประเมินความเป็นไปได้และการนำไปใช้ประโยชน์ของรูปแบบภาวะผู้นำ เชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเป็นไปได้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
รูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบนี้ สามารถนำไปใช้พัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีความสามารถในการกำหนดกลยุทธ์และนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยสร้างวัฒนธรรมองค์การที่เอื้อต่อการพัฒนาสถานศึกษาในระยะยาว
References
ขวัญฟ้า รังสิยานนท์. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แนวพุทธสำหรับเด็กปฐมวัย (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เครือวัลย์ ไชยสินธ์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับสมรรถนะของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เชวงศักดิ์ พฤกษเทเวศ. (2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากระทรวงศึกษาธิการ (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2545). ชุดการเรียนด้วยตนเอง หลักสูตรการบริหารงาน: การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. กรุงเทพฯ: อาทิตย์ โพรดักส์ กรุ๊ป.
ธงชัย สันติวงษ์. (2546). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
นันท์นภัส สุทธิการ. (2562). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). ภาวะผู้นำและการพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2555). ผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ: กระบวนทัศน์ใหม่และผู้นำใหม่ทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพโรจน์ กลิ่นกุหลาบ. (2560). การศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาประเทศชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทย.
มาโนช พรหมปัญโญ. (2553). มนุษยสัมพันธ์และการพัฒนาองค์กร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทย.
ยศวดี เชื้อวงศ์พรหม. (2562). อิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์และวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม. วารสารวิจัย, 9, 9-12.
วิมล จันทร์แก้ว. (2555). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้น าเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต.
สมยศ นาวีการ. (2544). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: อักษรไทย.
สมชาย เทพแสง และทัศนา แสวงศักดิ์. (2552). การคิดเชิงกลยุทธ์ในบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). นโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2544). การบริหารเชิงกลยุทธ์: แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2555). การประเมินค่าดัชนีความสอดคล้องของเครื่องมือวิจัย. วารสารการศึกษา, 25(3), 215-217.
Adair, J. (2010). The leadership skills handbook: 50 essential skills you need to be a leader. Kogan Page.
DuBrin, A. J. (2010). Principles of leadership (6th ed.). South-Western Cengage Learning.
Davies, B., & Davies, M. (2004). The nature and role of leadership in educational management. Educational Management Administration & Leadership, 32(1), 33-42.
Davies, B., & Ellison, L. (2005). Strategic leadership: The changing face of leadership in education. Educational Management Administration & Leadership, 33(1), 25-45.
Dess, G. G., & Miller, A. (1993). Strategic management: Text and cases. McGraw-Hill.
Gill, R. (2006). Theory and practice of leadership. SAGE Publications.
Hitt, M., Ireland, R., & Hoskisson, R. E. (2007). Strategic management: Competitiveness and globalization (7th ed.). Ohio: Thomson/South Western.
Keeves, J. P. (1997). Educational research, methodology and measurement: An international handbook. New York: Pergamon.
Lear, J. (2012). The leadership challenge: How to make extraordinary things happen in organizations (5th ed.). Jossey-Bass.
Maghroori, R., & Rolland, E. (1997, April). Strategic leadership: The art of balancing organizationmission with policy, procedure, and external environment. The Journal of Leadership Studies, 4(2), 62–81.
Robbins, S. P., & Coulter, M. (2012). Management (12th ed.). Pearson Education.
Wheelen, T. L., & Hunger, J. D. (2012). Strategic management and business policy: Toward global sustainability (13th ed.). Pearson Education.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว