การศึกษาประชากรแฝงเพื่อการจัดสรรเงินอุดหนุนที่เหมาะสมแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีเทศบาลนคร

ผู้แต่ง

  • ชฎิล โรจนานนท์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สัณฑวุฒิ ตุลารักษ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ประชากรแฝง, ประมาณการ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, เงินอุดหนุน, บริการสาธารณะ

บทคัดย่อ

       บทความวิจัยเชิงปริมาณชิ้นนี้เป็นการพัฒนาเทคนิคการประมาณประชากรแฝงแบบคู่ขนานในเขตเทศบาลนคร ด้วยข้อมูลทุติยภูมิทางตรงและทางอ้อมเกี่ยวกับประชากรศาสตร์ ประชากรแฝง ปริมาณการบริโภคไฟฟ้า เงินอุดหนุนให้แก่เทศบาลนคร 30 แห่ง ช่วงปี พ.ศ. 2565 – 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการประมาณประชากรแฝงในเขตเทศบาลนคร ด้วยข้อมูลทุติยภูมิทางตรงจากการสำรวจประชากรแฝงระดับจังหวัด ประชากรทะเบียนราษฎร์ และข้อมูลทุติยภูมิทางอ้อมจากปริมาณการบริโภคไฟฟ้าในพื้นที่ระดับจังหวัด รวมทั้งเพื่อศึกษาแนวทางวิเคราะห์ความเพียงพอการจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนตามจำนวนประชากรรวมที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จริง ซึ่งเทคนิคการประมาณการมีอยู่ 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การประมาณประชากรรวมทางตรงและทางอ้อมของจังหวัด (2) การประมาณประชากรแฝงทางอ้อมของจังหวัด (3) การตรวจสอบความครอบคลุมการสำรวจประชากรแฝงทางตรงระดับจังหวัด (4) การประมาณประชากรแฝงระดับทางตรงและทางอ้อมของเทศบาลนคร และ (5) การประมาณประชากรรวมของเทศบาลนครในการวิเคราะห์ระดับความเพียงพอการจัดบริการสาธารณะด้วยเงินอุดหนุน ได้พิจารณาเกณฑ์อัตราขยายตัว 2 มิติ
ด้านประชากรแฝงและด้านประชากรทะเบียนราษฎร์ และเกณฑ์ผลต่างค่าเฉลี่ยเงินอุดหนุนต่อหัว

      ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันสังคมไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุซึ่งสะท้อนจากในช่วงปี พ.ศ. 2565 – 2566 เกิดการลดลงของประชากรทะเบียนราษฎร์ในเขตเทศบาลนคร 23 แห่ง ขณะที่การขยายตัวของเมืองได้ส่งผลให้ประชากรรวมเพิ่มขึ้นในเขตเทศบาลนครเฉลี่ย 15 แห่ง สะท้อนจากประชากรแฝงที่เพิ่มขึ้นของเทศบาลนครเฉลี่ย 16 แห่ง ผลการคำนวณสัดส่วนประชากรแฝงทางอ้อมต่อประชากรแฝงทางตรงของ 9 จังหวัดที่เทศบาลนครตั้งอยู่ ที่มีค่าสัดส่วนมากกว่า (>) 1 สะท้อนว่าการสำรวจประชากรแฝงระดับจังหวัดของราชการส่วนกลางที่อาจไม่ครอบคลุมประชากรแฝงบางกลุ่ม ซึ่งคาดว่าเป็นชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานและพำนักอาศัยในเทศบาลนครที่ตั้งอยู่ใกล้เขตจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางบริการและการท่องเที่ยว และจังหวัดอุตสาหกรรมเข้มข้นบริเวณพื้นที่จังหวัดรอบกรุงเทพมหานคร รวมทั้งหัวเมืองใหญ่และเขตชายแดน ผลจากการขยายตัวของเมืองทำให้เกิดการแย่งชิงเงินอุดหนุนจากประชากรทะเบียนราษฎร์ด้วยค่าเฉลี่ยร้อยละ 21 ถือเป็นข้อมูลสำคัญของราชการส่วนกลางในการพิจารณาการจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอต่อความต้องการบริการสาธารณะอย่างแท้จริงในพื้นที่เทศบาลนคร

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2563). สรุปแนวทางตามมติการประชุมคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครั้งที่ 4/2563. ค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2567, จากhttps://www.dla.go.th/upload/document/type2/2021/1/24879_3_1611564643404.docx

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์, มีชัย ออสุวรรณ, เมรดี อินอ่อน. (2566). ดุลยภาพดุลยพินิจ: ประชากรแฝง ภารกิจของท้องถิ่นและเงินอุดหนุนรายหัว. ค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2567,จาก https://www.matichon.co.th/columnists/ news_4102831

สำนักบริหารการทะเบียน กระทรวงมหาดไทย. (2567). คำนิยามประชากรแฝง. ค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.bora.dopa.go.th

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). สรุปผลที่สำคัญ ประชากรแฝงในประเทศไทย พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). สรุปผลที่สำคัญ ประชากรแฝงในประเทศไทย พ.ศ. 2566. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2566). รายงานสถิติพลังงานรายปี 2566. ค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2567, จาก https://www.eppo.go.th/index.php/th/component/k2/item/19566-energy-statistics-2566

สำนักยุทธศาสตร์และงบประมาณ เมืองพัทยา ส่วนยุทธศาสตร์การพัฒนาฝ่ายวิจัยและประเมินผล. (2564). โครงการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปจำนวนการกระจายตัวและวัตถุประสงค์ในการย้ายถิ่นของประชากรแฝงในเมืองพัทยาเพื่อใช้กำหนดแนวทางในการวางแผนพัฒนาเมืองพัทยา ระยะที่ 2. พัทยา: สำนักยุทธศาสตร์และงบประมาณ เมืองพัทยา.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2553). รายงานการศึกษาเบื้องต้นประชากรแฝงในพื้นที่จังหวัดระยอง. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). รายงานการศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการพัฒนาประเทศจากผลการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ.

อรทัย ก๊กผล. (2559). Urbanization เมื่อ “เมือง” กลายเป็นโจทย์ของการบริหารจัดการท้องถิ่นสมัยใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-31

How to Cite

โรจนานนท์ ช. ., & ตุลารักษ์ ส. . (2025). การศึกษาประชากรแฝงเพื่อการจัดสรรเงินอุดหนุนที่เหมาะสมแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีเทศบาลนคร. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 15(1), 199–220. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/276695