รูปแบบการสร้างองค์กรแห่งความสุขด้วยกลยุทธ์การสนับสนุนขององค์กร ที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานธนาคารพาณิชย์

ผู้แต่ง

  • วีรวรรณ ศรรักษ์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • ตรีเนตร ตันตระกูล มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

องค์กรแห่งความสุข, การสนับสนุนขององค์กร, ความผูกพัน, พนักงานธนาคารพาณิชย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบความผูกพันองค์กรและรูปแบบการสร้างองค์กรแห่งความสุขของพนักงานธนาคารพาณิชย์ 2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสนับสนุนขององค์กรที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานธนาคารพาณิชย์ 3) เพื่อจัดทำรูปแบบการสร้างองค์กรแห่งความสุขด้วยกลยุทธ์การสนับสนุนขององค์กรที่ส่งผลต่อความความผูกพันของพนักงานธนาคารพาณิชย์ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการวิจัยแบบผสมผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยทำการวิจัยโดยการสัมภาษณ์เชิงสำรวจโดยการเชิงลึกและสัมภาษณ์กลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือผู้บริหารธนาคารพาณิชย์และนักวิชาการ จำนวน 12 ราย โดยผู้วิจัยจึงกำหนดให้เป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลด้านต่าง ๆ เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในการให้ข้อมูลได้ (Marshall,1996) การวิจัยเชิงปริมาณผู้วิจัยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานธนาคารพาณิชย์ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้สูตรการกำหนดตัวอย่างของคอชแรน (Cochran, 1953)

ผลการวิจัยพบว่า 1) การสนับสนุนขององค์กร (Organizational Supports) ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ ภาวะผู้นำและการเติบโตในสายอาชีพและโอกาสก้าวหน้าในงาน 2) ความผูกพันองค์กร (Employee Engagement) ประกอบด้วย 1 องค์ประกอบ คือ การคิดและพูดถึงองค์กรในแง่ที่ดี ค้นพบใหม่ที่ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ ความทรงจำที่ดีต่อองค์กร 3) องค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ความเป็นมืออาชีพในงาน สุขภาพกายใจที่ดีและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี

โดยสรุป ผลการวิจัยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างองค์กรแห่งความสุขด้วยกลยุทธ์การสนับสนุนขององค์กรที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานธนาคารพาณิชย์ อาทิ เป็นองค์กรที่เติบโตได้อย่างยั่งยืน คุณภาพชีวิตของพนักงานในองค์กรดีขึ้น เกิดความผูกพันระหว่างองค์กรกับพนักงาน องค์กรเป็นองค์กรแห่งความสุข รวมถึงส่งผลต่อการสนับสนุนสังคม สนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตยิ่งขึ้น

References

กมล สถาพร. (2558). กลยุทธ์การตลาดบริการธนาคารพาณิชย์ไทยในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

ชัยวัฒน์ พรมรัตน์. (2562). แรงจูงใจและสมรรถนะที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (2559). การจัดการทรัพยากรบุคคล พื้นฐานแนวคิดเพื่อการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ตติยภัทร์ ปิติเศรษฐพันธุ์. (2564). การศึกษาการวางแผนการเติบโตในสายอาชีพ (Career Path) ของพนักงานสายงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ Gen Y ในบริษัทเอกชนในกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษากลุ่มธุรกิจธนาคาร (วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.

ตรีเนตร ตันตระกูล. (2562). การพัฒนาทุนมนุษย์ตามแนวคิดสมรรถนะ: Competency Based Human Capital Development. ค้นเมื่อ 16 มกราคม 2566, จาก https://www.gotoknow.org/posts/668225

ธนาคารกสิกรไทย. (2561). รอบรู้ธุรกิจ ธนาคารกสิกรไทย. ค้นเมื่อ 16 มกราคม 2566, จาก https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/ksmeknowledge/article/pages/index.aspx

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2566). สรุปภาพรวมธนาคารพาณิชย์ ไตรมาส 2 ปี 2566. ค้นเมื่อ 16 มกราคม 2566, จาก https://www.bot.or.th/th/news-and-media/news/news-20240219.html

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2566). รายงานข้อมูลสถิติระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขัดข้องที่กระทบต่อการให้บริการสำคัญของธนาคารพาณิชย์. ค้นเมื่อ 16 มกราคม 2566, จาก https://www.bot.or.th/th/ statistics/system-failure-disclosure.html

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2566). สรุปจำนวนสาขาและจุดให้บริการของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ. ค้นเมื่อ 16 มกราคม 2566, จาก https://app.bot.or.th/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT. aspx?reportID=904

มณีวรรณ ฉัตรอุทัย. (2559). ลักษณะงานและความผูกพันต่อองค์การที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วธู สวนานนท์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะงาน คุณภาพชีวิตในการทำงาน และความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ. (2561). ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะและอาคารสำนักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. ค้นเมื่อ 16 มกราคม 2566, จาก https://www.arsomsilp.ac.th/thai-health-promotion-foundation/

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566–2570). (2565, 1 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 139 ตอนพิเศษ 258 ง, หน้า 1.

Aon Hewitt. (2015). Aon Hewitt’s model of employee engagement. Retrieved October 20, 2020, from https://www.aon.co.nz/Business-Insurance/Corporate-Business/Retirement-Investment

Bass, B. M. & Avolio, B. J. (1990). Transformational leadership development: Manual for the multifactor leadership questionnaire. Palo Alto, CA: Consulting Psychologists Press.

Burton, J. (2010). WHO healthy workplace framework and model: Background and supporting literature and practices. Geneva: WHO Headquarters Geneva Switzerland.

Cochran, W. G. (1953). Sampling techniques. New York: John Wiley & Sons.

Cronbach, L. J. (1971). Essentials of psychological testing (4th ed.). New York: Harper & Row.

Gray, R. (2007). A climate of success: Creating the right organizational climate for high performance. Netherlands: Elsevier Butterworth-Heinemann.

Greenberg, J. (2004). Increasing employee retention through employee engagement. Retrieved October, 22, 2020 from http://www.ezinearticles.com/?IncreasingEmployee-Retention-Through-Employee-Engagement&id=10575

Griffin, R. W. & Moorhead, G. (2010). Organizational behavior: Managing people and organizations (9th ed.). USA: Cengage Learning.

Kerlinger, F. N. & Lee, H. B. (2000). Foundations of behavioral research (4th ed.). Orlando: Harcourt College Publishers.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitude. Archives of Psychology, 140, 1–55.

London, M. & Stumpf, S. A. (1982). Managing careers. Reading, MA: Addison-Wesley.

Marshall, M. N. (1996). Sampling for qualitative research. Family Practice, 13(6), 522–526.

Martin, A. J., Jones, E. S., & Callan, V. J. (2005). The role of psychological climate in facilitating employee adjustment during organizational change. European Journal of Work and Organizational Psychology, 14(3), 263–289.

Melvin, L.D.F. (1996). Theories of Mass Communication. New York: David Mc Kay Co.

Milkovich, G. T., Newman, J. M. & Gerhart, B. (2014). Compensation (10th ed.). New York: McGraw-Hill.

Moorhead, G. & Griffin, R. W. (2010). Organizational behavior: Managing people and organization (4th ed.). Boston: Houghton Mifflin.

Tashakkori, A. & Teddlie, C. (1998). Mixed methodology: Combining qualitative and quantitative approaches. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-12