การจัดการธุรกิจยิมมวยไทยในกลุ่มจังหวัดอันดามัน

ผู้แต่ง

  • รังสรรค์ พลสมัคร มหาวิทยาลัยสยาม
  • เฉลิมเกียรติ วงศ์วนิชทวี มหาวิทยาลัยสยาม
  • พิเชษฐ์ มุสิกะโปดก มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การจัดการ, ธุรกิจยิมมวยไทย, กลุ่มจังหวัดอันดามัน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมและสถานะของธุรกิจยิมมวยไทยในกลุ่มจังหวัดอันดามัน และ 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการธุรกิจยิมมวยไทยในกลุ่มจังหวัดอันดามัน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยใช้แนวคิด 7-S ของแมคคินซีย์และแนวคิดความยั่งยืนเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัยคือยิมมวยไทยในกลุ่มจังหวัดอันดามัน กลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์เชิงลึกคือ ผู้ประกอบการยิมมวยไทย ผู้จัดการยิมมวยไทยในกลุ่มจังหวัดอันดามัน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 8 คน และกลุ่มตัวอย่างในการตอบแบบสอบถามคือ ผู้ประกอบการยิมมวยไทย ผู้จัดการยิมมวยไทย ผู้ฝึกสอนมวยไทย และพนักงานผู้ให้บริการยิมมวยไทยในกลุ่มจังหวัดอันดามัน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบ แบ่งชั้นและสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่ายอีกครั้ง จำนวน 318 ชุด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถาม ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติพื้นฐานโดย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. จากสภาพแวดล้อมและสถานะของธุรกิจยิมมวยไทยในกลุ่มจังหวัดอันดามัน พบว่า การประกอบการธุรกิจยิมมวยไทย ต้องเริ่มต้นจากความรักในมวยไทย มีวินัย ขยัน อดทน ใจกว้าง ยืดหยุ่นและมีน้ำใจนักกีฬา มีความรู้ในการจัดการอย่างเป็นระบบ คำนึงถึงคุณภาพ และยิมมวยไทยต้องสะอาด อากาศถ่ายเทได้สะดวก จัดวางอุปกรณ์มวยอย่างเป็นสัดส่วน มีความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการธุรกิจยิมมวยไทยในกลุ่มจังหวัดอันดามัน พบว่า ปัจจัยทั้ง 8 ด้านในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยการจัดการธุรกิจยิมมวยไทยด้านความยั่งยืนมีคะแนนสูงที่สุดเป็นอันดับที่ 1 ด้านค่านิยมร่วมมีคะแนนอันดับที่ 2 และด้านกลยุทธ์มีคะแนนอันดับที่ 3 ตามลำดับ

References

เกศรา รักชาติ. (2549).องค์กรแห่งการตื่นรู้. กรุงเทพฯ: เนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

จิรพันธุ์ สุวัตนนาคิน (2561) การพัฒนาศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวเชิงพาณิชย์: กรณีศึกษาบริษัท

อุลตร้าไทเกอร์ จํากัด. วารสารมหาจุฬาวิชาการ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 หน้า 107-120

ธัญลักษณ์ หงส์โตและคณะ (2564). การบริหารค่ายมวยไทย สู่แชมเปี้ยน. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) ปีที่ 27 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2564)หน้า 103-114.

นาคิน คำศรี นภพร ทัศนัยนา ประวิทย์ ทองไชย และ ต่อศักดิ์ แก้วจรัสวิไล (2564) มาตรฐานและรูปแบบการบริหารจัดการสถาบันสอนมวยไทย.วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ

ปีที่ 47 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม –ธันวาคม) หน้า 361-375.

พัชรมน รักษพลเดชและอนุพงศ์ แต้ศิลปสาธิต (2560). รูปแบบการจัดการธุรกิจมวยไทยอาชีพในประเทศไทย. Veridian E-Journal. สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2560) ISSN 1906-3431 หน้า 1255 -1269.

สำนักงานจังหวัดภูเก็ต. (2566). แผนพัฒนาจังหวัดภูเก็ต ปี พ.ศ. 2566-2570. ภูเก็ต: สำนักงานจังหวัดภูเก็ต

สุธามาศ โคกชูและคณะ.(2562) คุณภาพในการให้บริการของยิมมวยไทย RSM Academy.วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม 2562)

หน้า 12-21.

อภิเดช วิสีปัต (2561). ศึกษาปัจจัยด้านสิ่งอำนวยความสะดวกที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการในค่ายมวยไทย.ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.หน้า 133-143.

Channon, D. F., & Caldart, A. A. (2015). McKinsey 7S model. Wiley Encyclopedia of Management, 1-1.

Davis, M. (2003). Fundamentals of operations management.

Geissdoerfer, M., Vladimirova, D., & Evans, S. (2018). Sustainable business model innovation: A review. Journal of Cleaner Production, 198, 401-416.

Kangpecth, P., & Deebhijarn, S. (2020). The boxing stadium operator’s performance variables in Thailand.

Mark, M. D., Nicholas J. A., Richard B. C. (2003). Fundamentals of Operations Management. New York: McGraw-Hill.

Peters, T., & Waterman Jr, R. H. (2011). McKinsey 7-S model. Leadership Excellence, 28

(10), 2011

Tavakol, M., & Dennick, R. (2011). Making sense of Cronbach's alpha. International Journal of Medical Education, 2, 53.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-31

How to Cite

พลสมัคร ร. ., วงศ์วนิชทวี เ. ., & มุสิกะโปดก พ. . (2025). การจัดการธุรกิจยิมมวยไทยในกลุ่มจังหวัดอันดามัน. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 15(1), 440–454. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/277289