การพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • ณญาดา คุณประสิทธิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วม, สถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

       การบริหารวิชาการเป็นหัวใจสำคัญ เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนคุณภาพการเรียนการสอนและผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน งานวิจัยนี้ผสานแนวคิดการมีส่วนร่วมและการบริหารเชิงระบบ เพื่อเป็นแนวทางการบริหารสถานศึกษา ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ผลการวิจัย ดังนี้

 1) สภาพปัจจุบันระดับการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ภาพรวม  อยู่ในระดับปานกลาง  ( = 3.37, S.D. = 0.19) สภาพพึงประสงค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.20, S.D. = 0.27)  และค่าดัชนีลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็น 3 ลำดับแรก คือ 1) การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา  2) การจัดการเรียนการสอน และ 3) การวัดผลและการประเมินผลการศึกษา

2) รูปแบบการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ประกอบด้วย
1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) วิธีดําเนินงาน 4) การประเมิน 5) กลไกในการดําเนินงาน และ 6) เงื่อนไขความสำเร็จ ได้นำกลไก การดำเนินงานเชิงระบบ  และหลักการมีส่วนร่วม มาใช้ในการดำเนินงานขับเคลื่อนงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศใน 6 ด้าน ประกอบด้วย 1) การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา 2) การจัดการเรียนการสอน 3) การวัดผลและการประเมินผลการศึกษา 4) การนิเทศภายในสถานศึกษา 5) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และ 6) การประกันคุณภาพการศึกษา  ในแต่ละด้านมีวิธีการดำเนินงาน เพื่อให้สถานศึกษานำไปสู่การปฏิบัติ

3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ  พบว่าโรงเรียนที่นำรูปแบบไปใช้มีผลการดำเนินงาน ด้านวิชาการ มีผลการประเมินระดับปฏิบัติก่อนการใช้รูปแบบ อยู่ในระดับน้อย และหลังการใช้ อยู่ในระดับมากที่สุด ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

4) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน

References

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2558). ปฏิรูปการเรียนรู้ : ปฏิรูปการศึกษากลับทางจากล่างขึ้นบน. กรุงเทพฯ:สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, สุชาติ กิจพิทักษ์. (2545). การประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพมหานคร:สำนักปฏิรูปการศึกษา.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). รายงานสถานภาพการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

พรรณี สกุลชัย. (2558). การบริหารการศึกษาด้วยการมีส่วนร่วม. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พฤทธิ์ ศรีบูรพา. (2554). การบริหารวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุญทัน ดอกไธสง. (2555). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: วีพริ้นท์.

วิจิตร ศรีสอ้าน. (2553). การบริหารการศึกษาแนวใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2562). แนวทางการประกันคุณภาพภายในสู่ความเป็นเลิศ. สมศ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-31

How to Cite

คุณประสิทธิ์ ณ. . . (2025). การพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 15(1), 276–289. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/279707