การพัฒนารูปแบบโรงเรียนแห่งความสุข สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

ผู้แต่ง

  • พวงทอง ศรีวิลัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ศิริพงษ์ เศาภายน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สุมาลี สังข์ศรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

รูปแบบโรงเรียนแห่งความสุข, นักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย, สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็น เพื่อสร้างรูปแบบโรงเรียนแห่งความสุข และประเมินผลการใช้รูปแบบโรงเรียนแห่งความสุข สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นต่อรูปแบบโรงเรียนแห่งความสุข กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหาร คณะครูบุคลากร นักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษา ของโรงเรียนที่จัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ จำนวน 5 แห่ง 322 คน คัดเลือกใช้การสุ่มอย่างง่าย
2) สร้างรูปแบบโรงเรียนแห่งความสุข และ 3) การทดลองใช้รูปแบบ แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนคือ (1) นำรูปแบบ
ไปทดลองใช้ กับกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร ครูและบุคลากร นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา ของโรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ (2) ประเมินคุณภาพรูปแบบโรงเรียนแห่งความสุข โดยโรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการบริหารและจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบโรงเรียนแห่งความสุข พบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมาก คือ ด้านผ่อนคลายสบายใจ ด้านองค์กรเป็นเลิศ ด้านสมานฉันท์ ด้านก้าวทันเทคโนโลยี และด้านสภาพแวดล้อม 2) รูปแบบโรงเรียนแห่งความสุข มี 5 องค์ประกอบ คือ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านก้าวทันทางเทคโนโลยี ด้านสมานฉันท์ ด้านการผ่อนคลายสบายใจ และด้านองค์กรเป็นเลิศ 3) ผลการประเมินการใช้รูปแบบโรงเรียนแห่งความสุข พบว่า มีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ เหมาะสำหรับการนำไปใช้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบทั้งหมดอยู่ในระดับมากที่สุด การประเมินผลคุณภาพการใช้รูปแบบโรงเรียนแห่งความสุขอยู่ในระดับมาก

References

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. (2556). ก้าวไปสู่องค์กรสุขภาวะ ก้าวไปเป็น Happy Workplace ความรู้สำหรับนักสร้างสุข. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. (2557). วิถีแห่งการสร้างสุข: ปัจจัยพัฒนาองค์กรสร้างสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารสุขศึกษา, 37(127), 45-46.

จุฑามาศ แก้วพิจิตร และคณะ. (2556). 123 สู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข. กรุงเทพฯ: สองขา ครีเอชั่น.

ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ และคณะ. (2556). มาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. กรุงเทพฯ: สองขา ครีเอชั่น.

ณัฐพงษ์ น้อยโคตร. (2565). แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งความสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณัทชลิดา บุตรดีวงษ์. (2561). การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนแสนสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก.

ทิพวัลย์ รามรง. (2557). สรรสาระองค์กรแห่งความสุข เล่ม 2: เรื่องดี ๆ ของความสุขในองค์กร. กรุงเทพฯ: พี. เอ. ลีฟวิ่ง.

ธนวุฒิ แก้วนุช. (2561). รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นูซี มะเด็ง. (2564). รูปแบบการบริหารโรงเรียนแห่งความสุขโรงเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 39 จังหวัดนราธิวาส. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 17(2), 109-127.

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี. (2553). ธรรมนำเทรนด์ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: LIPS Pub.

ว. วชิรเมธี. (2563). ทำงานอย่างไรให้มีความสุข. ค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2563, จาก http://1ab.in/vg

พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พุทธศักราช 2551. (2551). ราชกิจจานุเบกษา, 125(42 ก).

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา, 116(74ก).

ยุภาวรรณ โมรัฐเถียรและคณะ. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา, 10(1), 31-45.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา, 134(40 ก).

รายงานดัชนีชี้วัดความสุขของยูเอ็น. (2562). ค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2565, จาก https://voicetv.co.th/read/ iFQn9dek8

ลลิดา มาไพศาลทรัพย์ และคณะ. (2557). สรรสาระองค์กรแห่งความสุข เล่ม 1: กระบวนการเคลื่อนสร้างสุข. กรุงเทพฯ: พี. เอ. ลีฟวิ่ง.

ละอองทิพย์ บุณยเกียรติ. (2556). องค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace). ค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2565, จาก https://mrslaongtip.wordpress.com/2013/09 /11/องค์กรแห่งความสุข-happy-workplace/

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวง ศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวง ศึกษาธิการ.

สุดา สุขอ่ำ. (2561). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่มีความสุขในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: กระทรวง ศึกษาธิการ.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2553). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องค์กรสหประชาชาติ. (2562). ดินแดนแห่งความสุขของโลกปี 2562. ค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/830658

องค์การอนามัยโลก. (2018). The World Happiness Report. ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2565, จาก https://worldhappiness.report/ed/2018/

อุทัยวรรณ ศรีรัตน์. (2562). การเป็นโรงเรียนแห่งความสุขของโรงเรียนชุมชนบ้านหนองฝ้าย.วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร,11(2), 17-31.

อุทัยวรรณ ศรีรัตน์. (2562). การเป็นโรงเรียนแห่งความสุขของโรงเรียนชุมชนบ้าน-หนองฝ้าย (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Allen, M. S., & McCarthy, P. J. (2016). Be happy in your work: The role of positive psychology in working with change and performance. Journal of Change Management, 16(1), 1–20.

Cronbach, L. J. (1984). Essentials of psychological testing (4th ed.). New York, NY: Harper & Row.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Pham Minh Gian. (2021). Happy Schools: Perspectives and Matters of Organization-Pedagogy in School’s Building and Development. International Education Studies, 14(6), 92–102.

Sezer, S., & Can. E. (2020). School happiness: A grounded theory. Educational Policy Analysis and Strategic Research, 15(1), 44–62.

Van der Doef, M., Mbazzi, F. B., & Verhoeven, C. (2012). Job conditions, job satisfaction, somatic complaints and burnout among East African nurses. Journal of Clinical Nursing, 21(11-12), 1763–1775.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-31

How to Cite

ศรีวิลัย พ. ., เศาภายน ศ. ., & สังข์ศรี ส. . (2025). การพัฒนารูปแบบโรงเรียนแห่งความสุข สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 15(1), 90–108. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/279742