ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการองค์กร ศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม การยอมรับเทคโนโลยี ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของนวัตกรรมการจัดการ โรงฆ่าสัตว์ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พันธนันท์ พิพัฒน์โชติ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • ญาณัญฏา ศิรภัทร์ธาดา วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • บัณฑิต ผังนิรันดร์ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, การบริหารจัดการองค์กร, ศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม, การยอมรับเทคโนโลยี, ความสำเร็จของนวัตกรรมการจัดการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำเร็จของนวัตกรรมการจัดการโรงฆ่าสัตว์ในประเทศไทย การบริหารจัดการองค์กร ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การยอมรับเทคโนโลยี และศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม 2) ศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการองค์กร ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การยอมรับเทคโนโลยี และศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของนวัตกรรมการจัดการโรงฆ่าสัตว์ในประเทศไทย และ 3) เสนอแบบจำลองความสำเร็จของนวัตกรรมการจัดการโรงฆ่าสัตว์ในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างคือผู้ประกอบการโรงฆ่าสัตว์ในประเทศไทย จำนวน 380 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้หลักเกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกต สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และการสุ่มตัวอย่างแบบแบบโควต้า ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากสำนักระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ เจ้าหน้าที่จากอุตสาหกรรมจังหวัด เจ้าหน้าที่จากกรมปศุสัตว์จังหวัด เจ้าหน้าที่จากกรมปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าของกิจการโรงฆ่าสัตว์ในประเทศไทย รวมทั้งสิ้น 15 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1) ความสำเร็จของนวัตกรรมการจัดการโรงฆ่าสัตว์ในประเทศไทย การยอมรับเทคโนโลยี ศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการบริหารจัดการมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก 2) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ การบริหารจัดการ การยอมรับเทคโนโลยี และศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม ส่งผลต่อความสำเร็จของนวัตกรรมการจัดการโรงฆ่าสัตว์ในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ 3) แบบจำลองความสำเร็จของนวัตกรรมการจัดการโรงฆ่าสัตว์ในประเทศไทย มีชื่อว่า“2TAIS Model” (T= Transformational Leadership, A= Administration Management T=Technology Acceptance, I=Innovative Creativity Potential, S=success management innovation) เป็นแบบจำลองให้หน่วยงานที่สนับสนุนส่งเสริมความสำเร็จของนวัตกรรมการจัดการโรงฆ่าสัตว์ในประเทศไทย
ที่มุ่งเน้น นวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการ นวัตกรรมกระบวนการ นวัตกรรมการตลาด และนวัตกรรมองค์กร นำไปประยุกต์ใช้ให้มีความได้เปรียบทางการแข่งขัน สามารถปรับเปลี่ยนองค์กรให้รองรับสถานการณ์ปัจจุบัน สภาพแรงกดดันต่าง ๆ สามารถผลิตสินค้าได้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น และบรรลุเป้าหมายความสำเร็จขององค์กรธุรกิจต่อไป

References

นิตย์ สัมมาพันธ์. (2560). ภาวะผู้นำ: พลังขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์.

เนาวนิตย์ สงคราม, 2562. การสร้างนวัตกรรม: เปลี่ยนผู้เรียนให้เป็นผู้สร้างนวัตกรรม.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมยศ นาวีการ. (2545). การบริหาร. กรุงเทพฯ: ชาญวิทย์เซ็นเตอร์.

Amankwaa, A., Gyensare, M. A., & Susomrith, P. (2019). Transformational leadership with innovative behaviour: Examining multiple mediating paths with PLS-SEM. Leadership & Organization Development Journal, 40(4), 402-420.

Cheng, C., Cao, L., Zhong, H., He, Y., & Qian, J. (2019). The Influence of Leader Encouragement of Creativity on Innovation Speed: Findings from SEM and fsQCA. Sustainability, 11, 2693, 2-17.

Doran, R. (2017). Naturalising Aesthetics: Beauty, Emotion and the Cognitive Sciences. PhD thesis, University of Sheffield.

Grace, J. B. (2008). Structural equation modeling for observational studies. Journal of Wildlife. Management, 72(1), 14-22.

Meutia, M., (2020). Mathematical problem-solving skills of junior high school students. Journal of Physics Conference Series, 1460(1), 012010.

Mitchell, R., Obeidat, S., & Bray, M. (2013). The effect of strategic human resource management on organizational performance: The mediating role of high-performance human resource practices. Human Resource Management, 52(6), 899–921.

Nakano, T. d. C., & Wechsler, S. M. (2018). Creativity and innovation: Skills for the 21st Century. Estudos de Psicologia, 35(3), 237–246.

Wang B., et al. (2011) .The Effects of Oil Displacement Agents on the Stability of Water Produced from ASP (Alkaline/Surfactant/Polymer) Flooding. Colloids and Surfaces A: Physicochemical and Engineering Aspects, 379, 121-126.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-31

How to Cite

พิพัฒน์โชติ พ., ศิรภัทร์ธาดา ญ. ., & ผังนิรันดร์ บ. . (2025). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการองค์กร ศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม การยอมรับเทคโนโลยี ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของนวัตกรรมการจัดการ โรงฆ่าสัตว์ในประเทศไทย. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 15(1), 434–446. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/279782