การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการค้นหาพื้นที่สีเขียวที่มีศักยภาพเป็นพื้นที่สีเขียวยั่งยืนหรือพื้นที่สีเขียวสาธารณะ กรณีศึกษา เทศบาลตำบลป่าสัก จังหวัดลำพูน

Main Article Content

Supaschaya Prachchayakup

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) ในการค้นหาพื้นที่สีเขียวที่มีศักยภาพ จากการรวบรวมข้อมูล การสร้างฐานข้อมูล การจำแนกประเภทพื้นที่สีเขียว ได้ฐานข้อมูลเชิงปริมาณและด้านกายภาพเชิงแผนที่ ในเทศบาลตำบลป่าสัก จังหวัดลำพูน เป็นชุมชนเมืองที่มีแนวโน้มการขยายตัวจากการเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ มีนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ประกอบด้วยสวนอุตสาหกรรมลำพูน ตั้งอยู่ตำบลป่าสัก มีพื้นที่รวม 2,300 ไร่  ผลการค้นหาพื้นที่สีเขียวที่มีศักยภาพจากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์พบว่าพื้นที่สีเขียวที่มีศักยภาพที่ได้จากการค้นหา แบ่งเป็น 2 กรณี  กรณีที่ 1) ค้นหาเพื่อรักษาพื้นที่สีเขียวยั่งยืนที่มีศักยภาพในการอนุรักษ์ มีปริมาณ 10,722,000 ตารางเมตร  ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 25.68 ของพื้นที่ทั้งหมด แบ่งเป็นพื้นที่สีเขียวยั่งยืนสาธารณะร้อยละ 18.64 ของพื้นที่สีเขียวยั่งยืนประกอบด้วย 1.1) พื้นที่สีเขียวยั่งยืนที่มีศักยภาพในการอนุรักษ์ในที่ดินของรัฐประเภทพื้นที่สีเขียวธรรมชาติ  1.2) พื้นที่สีเขียวยั่งยืนที่มีศักยภาพในการอนุรักษ์ในที่ดินของรัฐประเภทพื้นที่สีเขียวริ้วยาวตามแนวสาธารณูปการ 2 พื้นที่  1.3) พื้นที่สีเขียวยั่งยืนที่มีศักยภาพในการอนุรักษ์ในหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (นสล.) 7 พื้นที่เป็นพื้นที่สีเขียวเดิมที่มีศักยภาพในเชิงปริมาณเพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์และรักษาพื้นที่สีเขียวยั่งยืนในเมืองไว้ กรณีที่ 2) ค้นหาเพื่อพัฒนา พบพื้นที่สีเขียวในหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (นสล.) ที่มีศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่สีเขียวสาธารณะร่วมกับการแสดงความคิดเห็นของชุมชน โดยจำแนกเป็น 7 ประเภท ประกอบด้วย 2.1) พื้นที่สีเขียวในหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (นสล.) ที่มีศักยภาพในการพัฒนา 8 พื้นที่ 2.2) พื้นที่สีเขียวในหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (นสล.)  ที่มีศักยภาพเพื่อนันทนาการ 5 พื้นที่ กล่าวโดยสรุป การวิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาและพัฒนาพื้นที่สีเขียวในเมืองพร้อมข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียว พร้อมเสนอแนวทางการออกแบบพื้นที่สีเขียว ตามแนวคิดหลักคือการรักษาพื้นที่สีเขียวยั่งยืน สุดท้ายจะช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวสาธารณประโยชน์ในเมืองและการมีพื้นที่สีเขียวเชิงคุณภาพ

Article Details

How to Cite
Prachchayakup, S. (2022). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการค้นหาพื้นที่สีเขียวที่มีศักยภาพเป็นพื้นที่สีเขียวยั่งยืนหรือพื้นที่สีเขียวสาธารณะ กรณีศึกษา เทศบาลตำบลป่าสัก จังหวัดลำพูน. วารสารวิชาการภูมิสถาปัตยกรรมและการวางผัง, 4(1), 1–25. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAJ/article/view/260743
บท
Articles

References

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2562). คู่มือการตรวจประเมินเพื่อให้การรับรองการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

ระดับ Eco Champion. กรุงเทพฯ: การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย.

ชนกนันท์ ปิ่นตบแต่ง, และ ฉมาวงศ์ สุริยจันทร์. (2561). การวิเคราะห์การวางผังนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง ของประเทศไทย ภายใต้ข้อพิจารณาทางภูมิสถาปัตยกรรม กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร. สาระศาสตร์. (4), 794-796.

ทิฆัมพร หัดขุดทด, เยาวเรศ จันทะคัต, และ ปฐมาวดี คุ้นกระโทก. (2563). การศึกษาพื้นที่สีเขียวด้วยหลักการจัดการพื้นที่ชุมชนเมืองอย่างยั่งยืน กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา (ศูนย์กลาง). วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนาพื้นที่. 1(3), 3.

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. (2555). คู่มือการประเมินเทศบาลน่าอยู่อย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2550). คู่มือการจัดการพื้นที่สีเขียวชุมชนเมืองอย่างยั่งยืน. สืบค้นจาก http://www.onep.go.th/ebook/eurban/eurban-publication-07.pdf

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2560). แนวทางการจัดการพื้นที่สีเขียวสำหรับชุมชนเมืองในประเทศไทย. สืบค้นจาก http://www.onep.go.th/ebook/eurban/eurban-publication-02.pdf

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). แนวทางการขับเคลื่อนการจัดการพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน. สืบค้นจาก http://www.onep.go.th/ebook/eurban/eurban-publication-20190527.pdf

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. (2564). คู่มือการใช้ประโยชน์ฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์. กรุงเทพฯ: _____.

Claire, W.H. (1973). Handbook on Urban Planning. NY: Van Nostrand and Reinhold.

Kelcey, J. (1978). The Green Environment of Inner Urban Areas. Environmental Conservation, 5(3), 197-203. DOI:10.1017/S0376892900005944