การศึกษาภูมิทัศน์พื้นถิ่นล้านนาในบริบทชุมชนของนักวิชาการไทยในประเทศไทย ช่วง พ.ศ. 2545 - 2564

Main Article Content

อัมพิกา อำลอย
Supakul Ruangwitthayanusorn
Warong Wonglangka
Pandin Ounchanum
Aranya Siriphon
Rawiwan Oranratmanee

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นบทความปริทัศน์ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อสำรวจสถานภาพผลงานวิชาการคัดสรรด้านการศึกษาภูมิทัศน์พื้นถิ่นชุมชนของนักวิชาการไทยในประเทศไทย และ 2) เพื่อสรุปลักษณะของภูมิทัศน์พื้นถิ่นชุมชนเกษตรกรรมในล้านนาจากผลการศึกษาที่ผ่านมา วิธีการศึกษาใช้หลักการทบทวนวรรณกรรม โดยรวบรวมผลงานวิชาการคัดสรรในฐานะกลุ่มตัวอย่างที่มีการเผยแพร่ ช่วง พ.ศ. 2545–2564 ซึ่งสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และงานวิจัยของประเทศไทย คือ 1) Thai digital collection 2) Thai journals online 3) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และ 4) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จำนวนทั้งหมด 26 รายการ ผู้วิจัยนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านการบรรยายและตาราง โดยพบว่า ประเด็นที่ 1 แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษาสภาพแวดล้อม    ที่นอกเหนือจากตัวสถาปัตยกรรม ได้แก่ สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง ภูมิทัศน์วัฒนธรรม ภูมิทัศน์สรรค์สร้าง และภูมิทัศน์พื้นถิ่น การศึกษาส่วนใหญ่เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชนบท มุ่งเน้นการศึกษาลักษณะหรือรูปแบบของภูมิทัศน์พื้นถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับภูมิทัศน์พื้นถิ่น และองค์ประกอบที่สำคัญของภูมิทัศน์พื้นถิ่น ประเด็นที่ 2 การสรุปลักษณะของภูมิทัศน์พื้นถิ่นของชุมชนเกษตรกรรมในล้านนาจากผลการศึกษาที่ผ่านมา ผู้วิจัยสรุปได้ว่าภูมิทัศน์ที่เกิดขึ้นเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการที่ชาวบ้านเข้าไปจัดการสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติในบริเวณพื้นที่ราบระหว่างหุบเขาเพื่อตอบสนองต่อ     การดำรงชีวิต โดยรูปแบบการใช้พื้นที่เพื่อการอยู่อาศัยและเกษตรกรรมแสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นในการแก้ปัญหาจากเงื่อนไขทางสภาพแวดล้อม และรูปแบบการใช้พื้นที่ทางสังคมผ่านการจัดพิธีกรรมของชุมชนแสดงให้เห็นลักษณะความสัมพันธ์ของคนในชุมชน สำหรับทิศทางการศึกษาในอนาคต ผู้วิจัยมีข้อเสนอว่าควรมีการขยายขอบเขตการศึกษาภูมิทัศน์พื้นถิ่นชุมชนให้กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น ได้แก่ การพิจารณากระบวนการหาความรู้ของการศึกษาให้ครบถ้วนและสมบูรณ์ การศึกษาร่วมกับศาสตร์อื่น การสร้างฐานข้อมูลด้านภูมิสถาปัตยกรรม การขยายขอบเขตพื้นที่ศึกษาให้ครอบคลุมพื้นที่ชนบท พื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท และพื้นที่เมือง และการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน นำไปสู่การพัฒนาทิศทางการศึกษาให้มีความหลากหลาย ทันสมัย และเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ศึกษา

Article Details

บท
Articles

References

กฤษฏา บุญชัย, พรพนา ก๊วยเจริญ, และคณะ. (2557). รายงานสมบูรณ์ โครงการศึกษาไร่หมุนเวียนของกะเหรี่ยงเพื่อเสนอเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.

เกรียงไกร เกิดศิริ. (2551). ชุมชนกับภูมิทัศน์วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: อุษาคเนย์.

เกรียงไกร เกิดศิริ .(2557). องค์รวมภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนและสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา. วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย, 11, 177-213.

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (2559). ศาสตร์ อศาสตร์: เข้ามาข้างนอก ออกไปข้างใน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พารากราฟ.

ฐิติวัฒน์ นงนุช, และ คัทลียา จิรประเสริฐกุล. (2558). ความสัมพันธ์ของการเมือง อาณาเขตครอบครองกับการเปลี่ยนแปลง รูปแบบการตั้งถิ่นฐานของชุมชนในภูมิทัศน์น้ำกร่อย กรณีศึกษา หมู่บ้านสาขลา ตำบลนาเกลือ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 15(2), 26-34.

เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์. (2553). ความเข้าใจบางประการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ภูมิทัศน์วัฒนธรรมในประเทศไทย. วารสารอาษา,

, 104-113.

นวณัฐ โอศิริ. (2545). ภูมิทัศน์พื้นถิ่น ภูมิปัญญาเพื่อการประหยัดพลังงานและการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา หมู่บ้านตาล

เหนือ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่. หนังสือประมวลผลการประชุมทางวิชาการสาระศาสตร์, 6, 129-144.

พรพิไล เลิศวิชา, และ อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. (2546). ชุมชนหมู่บ้านลุ่มน้ำขาน โครงการวิจัยพลวัตเศรษฐกิจชุมชน 3 ลุ่มน้ำใน

ประเทศไทย พ.ศ 2543-2545. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัคเกษม ธงชัย, และ ดนัย ทายตะคุ. (2564). การเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์พลวัตน้ำหลากในลุ่มแม่น้ำยม กรณีศึกษา ชุมชนบ้านกง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการสาระศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 4(2), 341-357.

ยศพร ปุณวัฒนา, และ วีระ อินพันทัง. (2556). แนวคิดและการจัดการภูมิทัศน์สรรค์สร้างบริเวณที่อยู่อาศัยท้องถิ่นไทย กรณีศึกษาริมแม่น้ำเพชรบุรี. วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม, 27, 111-126.

วันดี พินิจวรสิน. (2559). การส่งเสริมคุณค่าท้องถิ่นและความเข้มแข็งของชุมชนผ่านการปรับปรุงภูมิทัศน์ชุมชน. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 12(2), 64-81.

วิลาศ เทพทา, อรศิริ ปาณินท์, และ วุฒิพงษ์ ทวีวงศ์. (2561). นิเวศวิทยาทางน้ำในระบบเหมืองฝายของพื้นที่เกษตรกรรมในแหล่งต้นน้ำและแหล่งต้นน้ำลำธาร. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 13(2), 1-11.

วิวัฒน์ เตมียพันธ์. (2557). รวบรวมบทความทางวิชาการเกี่ยวกับคติความเชื่อบางประการในงานสถาปัตยกรรมไทย. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

วีระ อินพันทัง. (2559). สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างพื้นถิ่น: การดำรงและการเปลี่ยนแปลง. วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม, 30, 126-142.

ศนิ ลิ้มทองสกุล. (2549). ภูมิทัศน์พื้นถิ่นของหมู่บ้านชนบทในชุมชนชาวมุสลิมในประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม / การผังเมือง, 4(2), 141-154.

สมนึก ชัชวาล, และ บานจิตร สายรอคำ. (2547). การศึกษาภูมิปัญญาเกษตรกรรมพื้นบ้านล้านนา. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สรัสวดี อ๋องสกุล. (2561). ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, และ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2549). แนวทางจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร

อนุวัฒน์ การถัก และ ทรงยศ วีระทวีมาศ. (2558). ภูมิทัศน์วัฒนธรรม : ความหมาย พัฒนาการทางแนวคิด และทิศทางการศึกษาวิจัย. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(2), 2-12.

อมร กฤษณพันธุ์. (2555). สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในบริบทพลวัตภูมิทัศน์วัฒนธรรม: กรณีศึกษา ชุมชนชาวแพ แม่น้ำสะแกกรัง จ.อุทัยธานี. วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(1), 1-13.

อมฤต หมวดทอง. (2557). เรือนพื้นถิ่นในระบบนิเวศน์สามน้ำลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาในเขตจังหวัดพัทลุงและนครศรีธรรมราช. วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม, 28, 181-198.

อรศิริ ปาณินท์. 2546. เอกสารประกอบการอบรมระยะสั้น สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นศึกษา. ระหว่างวันที่ 2-3 และ 9-10 สิงหาคม 2546. ห้องมหามาลาปราบปรปักษ์. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อรศิริ ปาณินท์, และคณะ. (2551). เรือนพื้นถิ่นไทย – ไท. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อรศิริ ปาณินท์, และคณะ. (2553). ภูมิปัญญาและพัฒนาการของเรือนพื้นถิ่นลุ่มน้ำเพชรบุรี: ศักยภาพในการคงอยู่โดยมีประชาชนเป็นฐาน. วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม, 24, 129-146.

อัมพิกา อำลอย. (2558). ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับภูมิทัศน์ชุมชนประมงพื้นบ้านปากแม่น้ำกระบี่ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อำภา บัวระภา. (2560). ภูมิทัศน์พื้นถิ่นของชุมชนบ้านหัวนาไทย ตำบลหนองคูขาด อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการ สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 16(1), 55-66.

อำภา บัวระภา. (2562). รูปแบบและปัจจัยการคงอยู่ของภูมิทัศน์พิื้นถิ่น “บ้านเรือนและที่อยู่อาศัย” แขวงคำม่วนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 1(1), 10-22.

อำภา บัวระภา. (2564). ความสัมพันธ์ของฮูปแต้มกับภูมิทัศน์ชุมชน. วารสารสถาปัตยกรรมศาสตร์ การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 3(1), 29-40.

อำภา บัวระภา, อลิศรา มีนะกนิษฐ, และ เอื้อมพร วีสมหมาย. (2557). ภูมิทัศน์พื้นถิ่น อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารหน้าจั่ว (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในมิติสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์วัฒนธรรม), 27(3), 45-56.

Fernando, R.A.N. (2011). Ontological and anthropological aspects of the concept of human nature. Kanz Philosophia A Journal for Islamic Philosophy and Mysticism, 1(2), 133-144.

Meinig, D.W. (1979). The beholding eye: ten versions of the same scene. in The Interpretation of Ordinary Landscapes: Geographical Essays (pp. 33-48). New York, NY: Oxford.

Meinig, D.W., and Jackson, J.B. (1979). Introduction. in The Interpretation of Ordinary Landscapes: Geographical Essays (pp. 1-7). New York, NY: Oxford.

Peirce, F.L. (1979). Axioms of the landscape: some guides to the American scene. in The Interpretation of

Ordinary Landscapes: Geographical Essays (pp. 11-32). New York, NY: Oxford.

Taylor, K. (2017). Cultural landscape meaning and values in Van Den Brink et.al. (eds) 2017, Landscape Architecture Methods and Methodology. New York, NY: Routledge.