เกี่ยวกับวารสาร

วารสารนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เดิมชื่อ "วารสารกฎหมายธุรกิจบัณฑิตย์ (Dhurakij Pundit Law Journal)" เป็นวารสารวิชาการของคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ซึ่งตีพิมพ์บทความทางวิชาการและบทความวิจัยทางด้านกฎหมาย จากบุคคลทั้งภายในและภายนอกของมหาวิทยาลัย

จัดพิมพ์วารสารราย 6 เดือน 

ฉบับที่ 1  มกราคม - มิถุนายน
ฉบับที่ 2  กรกฎาคม - ธันวาคม

ปัจจุบันกำลังเปิดรับบทความ พ.ศ. 2566 

> มีผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความอย่างน้อย 3 คน

>> ไม่มีค่าส่งบทความ

>>> มีค่าตอบแทนเมื่อบทความได้รับการตีพิมพ์*
                                 (เฉพาะบทความภายนอก)

 

วัตถุประสงค์ของการจัดพิมพ์ ดังนี้

1. เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและผลการศึกษาวิจัย ตลอดจนองค์ความรู้ทางด้านกฎหมายไปสู่นักศึกษาและบุคคลทั่วไปที่สนใจ

2. เพื่อฝึกฝนให้นักศึกษาของคณะอ่านและค้นคว้าทางกฎหมายด้วยตนเอง ทั้งนี้เพื่อเพิ่มพูนความรู้นอกจากที่ได้รับในชั้นเรียน

3. เพื่อเผยแพร่บทความที่เรียบเรียงมาจากวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโทของนักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต

4. เพื่อกระตุ้นให้เกิดการวิจัยและการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติที่จะสามารถนำไปอ้างอิงและประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยรวม

 

นโยบายการจัดพิมพ์

1. วารสารนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มุ่งเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่บทความวิชาการและผลงานวิจัยทางด้านกฎหมาย

2. บทความวิชาการหรือบทความวิจัยที่ส่งมาขอตีพิมพ์จะต้องไม่อยู่ในระหว่างการขอตีพิมพ์หรือเคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อนในวารสารอื่นๆ

3. บทความวิชาการมุ่งเน้นบทความที่เสนอแนวทางความคิดทฤษฎีใหม่ หรือบทความที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจหรือกระตุ้นการวิจัยต่อเนื่องในหัวข้อวิชาการที่สำคัญต่าง ๆ

4. บทความวิจัยมุ่งเน้นงานวิจัยที่ช่วยทดสอบทฤษฎีหรือผลงานวิจัยที่ช่วยขยายความในแง่มุมสำคัญต่าง ๆ ของทฤษฎีเหล่านั้นเพื่อทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจ หรือสามารถนำไปทำวิจัยต่อเนื่องได้

5. วารสารยินดีตีพิมพ์งานวิจัยที่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยหรือวิธีทดลองทดสอบในหลากหลายรูปแบบที่ช่วยสร้างองค์ความรู้ที่สำคัญหรือที่มีผลกระทบต่อสังคมวิชาการในวงกว้าง

 

กระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ 

1.วารสารนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  รับตีพิมพ์บทความวิชาการด้านกฎหมาย เท่านั้น

2.จัดให้มีกระบวนการในการคัดเลือกบทความที่มีคุณภาพตามวิธี Double – Blinded Peer Review Process

3.กองบรรณาตีพิมพ์บทความลงในวารสารตามลำดับก่อน-หลัง ตามวันที่ได้รับบทความ

4.บทความทุกบทความที่ส่งมาจะได้รับการตรวจสอบเบื้องต้นโดยกองบรรณาธิการวารสารฯ เพื่อพิจารณาตอบรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์

5.เมื่อบทความผ่านตรวจสอบขั้นต้นจากกองบรรณาธิการแล้ว จะถูกส่งไปยังผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น ๆ (Peer Review) เพื่อเป็นผู้อ่านประเมินบทความ อย่างน้อย 3 คน

6.ผู้ประเมินบทความจะเป็นผู้ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะในการแก้ไขบทความนั้น ๆ ซึ่งจะยอมรับโดยมีเงื่อนไข หรือไม่มีเงื่อนไข

7.ผู้เขียนจะต้องส่งบทความฉบับแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิที่ถูกต้อง ภายใน 10 – 15 วันหลังจากได้รับผลการประเมิน

8.บทความที่ได้รับการแก้ไขแล้ว ผู้ประเมินบทความ/กองบรรณาธิการผู้รับผิดชอบ จะพิจารณาอีกครั้งหนึ่งว่าบทความที่แก้ไขแล้วดังกล่าวเป็นที่ยอมรับเพื่อการตีพิมพ์ได้

บทบาทและหน้าที่ของผู้เขียน

1.ผู้เขียนต้องรับรองว่าบทความวิชาการที่ส่งมานั้น เป็นผลงานที่ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นมาก่อน และไม่ส่งตีพิมพ์ซ้ำซ้อนในวารสารหลายฉบับในเวลาเดียวกัน

2.ผู้เขียนต้องไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ

3.หากผู้เขียนอ้างอิงผลงานของผู้อื่น ต้องจัดทำรายการอ้างอิงไว้ในบทความ

4.ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฎในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการทำผลงานวิชาการจริง

5.ผู้เขียนต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัย (ถ้ามี)

6.ผู้เขียนต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ/กองบรรณาธิการ

1.บรรณาธิการ/กองบรรณาธิการต้องพิจารณาคุณภาพของบทความ และดำเนินกระบวนการพิจารณาตามวิธี Double – Blinded Peer Review Process

2.บรรณาธิการ/กองบรรณาธิการต้องไม่มีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่่อื่นมาแล้ว

3.บรรณาธิการ/กองบรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เกี่ยวข้องในการตีพิมพ์บทความ

4.บรรณาธิการ/กองบรรณาธิการต้องตรวจสอบการคัดลอกผลงานผู้อื่นอย่างจริงจังโดยใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้

5.หากตรวจสอบพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่น ในกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการ/กองบรรณาธิการ ต้องหยุดกระบวนการประเมินบทความ พร้อมทั้งติดต่อขอคำชี้แจงจากผู้เขียนหลัก เพื่อประกอบการตอบรับหรืปฏิเสธการตีพิมพ์บทความนั้น ๆ

บทบาทและหน้าที่ผู้ประเมินบทความ

1.ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลทุกส่วนของบทความที่ส่งมาแก่บุคคลอื่นใด ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ

2.หลังจากได้รับบทความจากกองบรรณาธิการวารสารแล้ว หากผู้ประเมินบทความพิจารณาเห็นว่าไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างอิสระต่อบทความนั้น ๆ ได้ เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการ หรือรู้จักผู้เขียนเป็นการส่วนตัว หรือมีเหตุผลอื่น ๆ ผู้ประเมินต้องแจ้งให้ บรรณาธิการ/กองบรรณาธิการทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ

3.ผู้ประเมินต้องประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญเท่านั้น และไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความ

4.หากผู้ประเมินเห็นว่าบทความที่พิจารณามีความซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่น ต้องแจ้งบรรณาธิการ/กองบรรณาธิการทราบด้วย