ปัญหาการตีความคำว่ากระทำอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สุธาสินี เขียวทอง คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • อัจฉรียา ชูตินันทน์ คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การกระทำอนาจาร, การตีความกฎหมาย, ความชัดเจนแน่นอน, หลักประกันในกฎหมายอาญา, indecent acts, interpretation, clearly enacted, Principles in Criminal Law

บทคัดย่อ

กฎหมายอาญาต้องบัญญัติให้ชัดเจนแน่นอน รัฐจึงต้องบัญญัติกฎหมายอาญาให้ชัดเจนแน่นอนที่สุดเท่าที่สามารถจะทำได้ตามกล่าว คือ ในการบัญญัติกฎหมายอาญานั้นจะต้องหลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำที่กำกวมไม่แน่นอน ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีคำพิพากษาศาลฎีกาหลาย ๆ ฉบับ เช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12983/2558 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201/2559 ได้วินิจฉัยว่าจำเลยกระทำผิดฐานกระทำอนาจารได้แม้มิได้มีการกระทำอันเป็นการแตะเนื้อต้องตัวร่างกายของผู้เสียหายซึ่งแตกต่างไปจากแนวบรรทัดฐานเดิมที่ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยเอาไว้ว่าการกระทำความผิดฐานกระทำอนาจารนั้นจะต้องเป็นการกระทำที่ไม่สมควรในทางเพศโดยต้องมีการแตะเนื้อต้องตัวของผู้เสียหายทำให้เกิดความไม่ชัดเจนแน่นนอนถึงลักษณะและขอบเขตการกระทำอนาจาร 

จากการศึกษาประวัติความเป็นมาของความผิดฐานกระทำอนาจารในกฎหมายไทย ความหมายของคำว่าอนาจารตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาและความผิดฐานกระทำอนาจารในกฎหมายต่างประเทศ เช่น ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอังกฤษ ประเทศญี่ปุ่น พบว่าการกระทำความผิดฐานอนาจารในประเทศดังกล่าวจะต้องเป็นการกระทำที่ไม่สมควรในทางเพศและต้องมีการสัมผัสผู้เสียหาย ซึ่งตรงกับแนวคำพิพากษาศาลฎีกาส่วนใหญ่ในประเทศไทย เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่ชัดเจนดังกล่าว ผู้เขียนเห็นว่าควรจะต้องบัญญัติคำนิยามของคำว่าการกระทำอนาจารเพิ่มเติมโดยให้หมายความว่า การสัมผัสที่ไม่สมควรในทางเพศโดยต้องกระทำต่อเนื้อตัวร่างกายของผู้อื่น ไม่ว่าส่วนใดของร่างกายและไม่ว่าใช้สิ่งใดในการสัมผัสหรือไม่ว่าจะสัมผัสผ่านสิ่งใด 

การบัญญัติแบบนี้จะสอดคล้องกับการการทำอนาจารในกฎหมายต่างประเทศหลาย ๆ ประเทศตามตัวอย่างที่ยกมาข้างต้นซึ่งจะทำให้กฎหมายอาญาในความผิดฐานอนาจารนั้นมีความชัดเจนแน่นอนไม่กระทบต่อหลักประกันในกฎหมายอาญา

References

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. กฎหมายอาญา ภาคความผิด เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพมหานคร: กรุงเทพสยามพับลิชชิ่ง, 2557.

คณิต ณ นคร. กฎหมายภาคทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2563.

คณิต ณ นคร. พื้นฐานความรู้เกี่ยวกับกฎหมายอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2553.

ธานินทร์ กรัยวิเชียร และ วิชา มหาคุณ. การตีความกฎหมาย. พิมพ์ครั้งที่ 4, 2548.

ปกป้อง ศรีสนิท. กฎหมายอาญาชั้นสูง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2563.

หยุด แสงอุทัย. กฎหมายอาญา ภาค 2-3. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553.

หยุด แสงอุทัย. คำอธิบายกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2548.

หยุด แสงอุทัย. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. แก้ไขปรับปรุงโดย สมยศ เชื้อไทย. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552.

คณิต ณ นคร. “คุณธรรมทางกฎหมายกับการใช้กฎหมายอาญา.” วารสารอัยการ, 2523.

ธานินทร์ กรัยวิเชียร. “ความสำคัญของการตีความในวิชาชีพกฎหมาย. ในการใช้การตีความ.”

อัจฉรียา ชูตินันทน์. “นิติวิธีในการตีความกฎหมายอาญาของประเทศไทย.” วารสารสุทธิปริทัศน์. ปี 33: 2562.

เผยแพร่แล้ว

2022-07-16