การกำหนดเหตุฉกรรจ์สำหรับการกระทำความผิดต่อชีวิตและร่างกายของบุคลากรทางการแพทย์
คำสำคัญ:
การกำหนดเหตุฉกรรจ์, การกระทำความผิด, บุคลากรทางการแพทย์, Specifying Aggravating Circumstances, Offense Against, Medical Personnelบทคัดย่อ
สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับการกำหนดเหตุฉกรรจ์สำหรับการกระทำความผิดต่อบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดเหตุฉกรรจ์สำหรับการกระทำความผิดต่อบุคลากรทางการแพทย์ของต่างประเทศและประเทศไทย เพื่อศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดเหตุฉกรรจ์สำหรับการกระทำความผิดต่อบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้ได้ข้อสรุปและข้อเสนอแนะในการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดเหตุฉกรรจ์สำหรับการกระทำความผิดต่อบุคลากรทางการแพทย์ของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ผลการศึกษาพบว่า ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 โดยกำหนดให้การฆ่าบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่หรือเพราะเหตุที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ทางการแพทย์ เป็นเหตุฉกรรจ์ที่ทำให้ผู้กระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ตามมาตรา 288 และความผิดฐานทำร้ายผู้อื่น ตามมาตรา 295 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ต้องระวางโทษหนักขึ้น และเพิ่มเติมมาตรา 289 ให้นิยามความหมายของบุคลากรทางการแพทย์ หมายถึง (1) แพทย์วิชาชีพ พยาบาลวิชาชีพ ผู้ช่วยพยาบาล และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์อื่นซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่การแพทย์ฉุกเฉินในสถานพยาบาลทุกประเภท (2) แพทย์วิชาชีพ พยาบาลวิชาชีพ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่อื่นซึ่งประจำรถพยาบาลของสถานพยาบาลซึ่งปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินนอกสถานพยาบาล หรือประจำรถร่วมปฏิบัติการฉุกเฉินขึ้นทะเบียน ทั้งนี้ เพื่อให้การคุ้มครองแก่บุคลากรทางการแพทย์เฉพาะที่ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินทั้งในสถานพยาบาลและนอกสถานพยาบาล และให้รวมถึงเจ้าหน้าที่ในสังกัดเอกชนใด ๆ ที่ร่วมปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินด้วย
References
ภาษาไทย
คณิต ณ นคร. กฎหมายอาญา ภาคความผิด. พิมพ์ครั้งที่ 11 แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2559.
ผู้จัดการออนไลน์. “มือฆ่า 5 ศพ รับยิงแค่บุรุษพยาบาล ส่วนอีก 4 ศพ โอเกะ เพื่อนเขมรเป็นคนยิง.” https://mgronline.com/local/detail/9550000026259, 2 มกราคม 2565.
ผู้จัดการออนไลน์. “มือดีปาหินใส่รถพยาบาล จนท.ตัดพ้อ คนเสื่อมได้ถึงเพียงนี้หรือ เปรียบโจรยังไม่ทำร้ายแพทย์.” https://mgronline.com/onlinesection/ detail/9630000074660, 2 มกราคม 2565.
พสิณ ชรัตน์. “คดีทางการแพทย์.” https://www.tm.mahidol.ac.th/legal/sites/default/files/26.pdf, 12 กุมภาพันธ์ 2565.
สำนักข่าวพีพีทีวี. “เปิดเภาพนาที แก๊งโจ๋สุดห่าม บุกห้องฉุกเฉินต่อย “พญ.-พยาบาล รพ.วิภารามฯ.” https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/129781, 2 มกราคม 2565.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. “บุคลากรในโรงพยาบาล/สถานพยาบาล.” http://service.nso.go.th/ nso/knowledge/knowledge09/hospital.pdf., 12 กุมภาพันธ์ 2565.
เสฎฐวุฒิ ต่างท้วม. “เหตุฉกรรจ์ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาเนื่องจากความเกลียดชังทาง ศาสนา.” วารสารรัชต์ภาคย์, ปีที่ 14, ฉบับที่ 35 กรกฎาคม-สิงหาคม 2565.
เสาวนีย์ แก้วจุลกาญจน์. “หลักกฎหมายระหว่างประเทศกับการห้ามใช้ “โรงพยาบาล” เป็นเป้าของการสู้รบ.” https://mgronline.com/south/detail/ 9590000029780, 2 มกราคม 2565.
อภิวัฒน์ สุดสาว. “การกำหนดโทษอาญาตามบทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.” วารสารจุลนิติ . มีนาคม-เมษายน 2561.
อัจฉรียา ชูตินันทน์. การกำหนดเหตุฉกรรจ์เกี่ยวกับการกระทำที่ใช้วิธีการที่ร้ายแรงและเป็นอันตรายกว่าการทำร้ายร่างกายผู้อื่นกรณีธรรมดาให้ต้องระวางโทษหนักขึ้น. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2564.
อัจฉรียา ชูตินันทน์. อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2563.
ภาษาต่างประเทศ
Law Insider. “Non-Medical Personnel definition.” https://www.lawinsider.com/ dictionary/non-medical-personnel, February 2, 2022.
O’Connell Aronowitz. “Felonies vs. Misdemeanors in New York.” https://www.oalaw.com/blog/criminal-defense/felonies-vs-misdemeanors-in-new-york/, April 11, 2022.
Stephen Bilkis & Associates. “NY Penel Law § 125.26: Aggravated murder,” https://criminaldefense.1800nynylaw.com/new-york-penal-law-125-26-aggravated-murder.html, April 11, 2022.
Stephen Bilkis. “Defenses to an assault charge,” https://criminaldefense.1800nynylaw.com/new-york-assault-in-the-second-degree.html, April 11, 2022.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 Pridi Banomyong Law Journal
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.