การกำหนดเหตุฉกรรจ์ในความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ผู้อยู่ภายใต้อำนาจด้วยประการอื่นใด

ผู้แต่ง

  • รัชชานนท์ ยวนกะเปา คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • อัจฉรียา ชูตินันทน์ คณะนิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ผู้อยู่ภายใต้อำนาจด้วยประการอื่นใด, การกำหนดเหตุฉกรรจ์, การทำร้ายร่างกาย, person underpower by any other means, determination of aggravating substances, physical assault

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันกรณีการทำร้ายร่างกายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในสังคมไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำร้ายร่างกายบุคคลซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจด้วยประการอื่นใด ซึ่งการทำร้ายร่างกายผู้อยู่ภายใต้อำนาจด้วยประการอื่นใดนั้นเป็นเพียงความผิดตามาตรา 295 เท่านั้น ผู้เขียนจึงได้ทำการศึกษาโดยพิจารณาถึงหลักการเพิ่มโทษของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 285 ที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมคำว่า “ผู้อยู่ภายใต้อำนาจด้วยประการอื่นใด” เข้ามาซึ่งเป็นเหตุเพิ่มโทษในความผิดเกี่ยวกับเพศ ที่บัญญัติแก้ไขเป็นเหตุเพิ่มโทษเพื่อคุ้มครองไปถึงผู้อยู่ในความปกครองตามความเป็นจริงทุกประการไม่ว่าจะเป็น ลูกเลี้ยง หลาน เด็กซึ่งอยู่ในความอนุเคราะห์ จึงเห็นควรที่จะนำคำดังกล่าวมาเป็นเหตุเพิ่มโทษในความผิดฐานทำร้ายร่างกายให้ผู้กระทำต้องรับโทษสูงขึ้น

ในสารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์และเปรียบเทียบการกำหนดเหตุฉกรรจ์ในกรณีการทำร้ายร่างกายผู้อยู่ภายใต้อำนาจด้วยประการอื่นใดตามกฎหมายไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ ผู้เขียนจึงเสนอให้มีการกำหนดเหตุฉกรรจ์ในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อยู่ภายใต้อำนาจด้วยประการอื่นใดให้ต้องรับโทษหนักขึ้นกว่าการทำร้ายร่างกายบุคคลทั่วไป เนื่องจากผู้อยู่ภายใต้อำนาจด้วยประการอื่นใดนั้นได้รับผลกระทบต่อร่างกาย จิตใตมากกว่าคนทั่วไปและผู้กระทำความผิดมีโอกาสกระทำผิดสำเร็จได้โดยง่าย เพราะผู้อยู่ภายใต้อำนาจด้วยประการอื่นใดนั้นไม่กล้าที่จะเรียกร้องสิทธิให้แก่ตนเองไม่ว่าจะเป็นการร้องทุกข์ กล่าวโทษ หรือขอความช่วยเหลือโดยเหตุที่ต้องพึ่งพาอาศัยผู้กระทำความผิดไม่ว่าด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด จึงเห็นสมควรเพิ่มโทษผู้กระทำด้วยเหตุปัจจัยข้างต้น

References

คณิต ณ นคร. กฎหมายอาญาภาคความผิด. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน, 2559.

คณิต ณ นคร. พื้นฐานความรู้เกี่ยวกับกฎหมายอาญา. พิมพ์ครั้ง 7. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2553.

คณิต ณ นคร. วารสารอัยการ. ผู้เสียหายในคดีอาญา, ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (2521): 48.

จิตติ ติงศภัทิย์. กฎหมายอาญา ภาค 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2525.

จิตติ ติงศภัทิย์. กฎหมายอาญา ภาค 2 ตอนที่ 2 และ ภาค 3. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2532.

ปกป้อง ศรีสนิท. กฎหมายอาญาชั้นสูง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2563.

ปกป้อง ศรีสนิท. การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาเรื่องเพศ: เมื่อคดีข่มขืนยอมความไม่ได้อีกต่อไป, 2562.

วีรวัฒน์ ปวราจารย์. คำบรรยายเนติบัณฑิต. ภาค 1 สมัยที่ 72. หน้า 274, 2562.

สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์. “ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะบางประการ.” นิตยสารดุลพาห. ปีที่ 67. เล่มที่ 3. (2563): 14-15.

อัจฉรียา ชูตินันทน์. “การกำหนดเหตุฉกรรจ์เกี่ยวกับการกระทำที่ใช้วิธีการที่ร้ายแรงและเป็นอันตรายกว่าการทำร้ายร่างกายผู้อื่นกรณีธรรมดาให้ต้องระวางโทษหนักขึ้น.” วารสารสุทธิปริทัศน์. ฉบับที่ 1. (2564).

อัจฉรียา ชูตินันทน์. “หลักการกำหนดความผิดอาญาและหลักการกำหนดโทษอาญาในการตรากฎหมาย.” วารสารสุทธิปริทัศน์. ฉบับที่ 3. (2564): 30-32.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-25