ปัญหาเรื่องสถานะทางกฎหมายของวัตถุพยานทางชีวภาพ และ ชีวโมเลกุล ที่ถูกทำให้เสียหายโดยละเมิด ภายในสถานที่เกิดเหตุ การเสียชีวิตโดยผิดธรรมชาติ

ผู้แต่ง

  • พัชร บวรพัฒนกุล บริษัท กฎหมายสติ และวิชิต จำกัด
  • พินิจ ทิพย์มณี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

สถานะทางกฎหมาย, วัตถุพยานทางชีววิทยา, วัตถุพยานทางชีวโมเลกุล, The legal status Biological Evidence, Biomolecular Evidence

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วัตถุพยานทางชีวภาพ (Biological Evidence)[1] คือ วัตถุพยานในสถานที่เกิดเหตุการเสียชีวิต ที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิต หรือเป็นส่วนของสิ่งมีชีวิตมาก่อน เช่น ลายนิ้วมือ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ลายประทับผิวหนังของมนุษย์
ที่สัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ คราบเลือด คราบอสุจิ เส้นผม เส้นขน เล็บ ฟัน น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ เหงื่อ ขี้ไคล เนื้อเยื่อ และสิ่งที่ถือว่าเป็นสารคัดหลั่งในร่างกายทุกชนิด เป็นต้น ซึ่งสามารถนำมาขยายแยกย่อยลงไปในรูปของชีวโมเลกุล (Biomolecules) เช่น อะตอม นิวเคลียส โครโมโซม ไซโทรพลาซึม ไมโทคอนเดรีย เซลล์ DNA RNA ฯลฯ สิ่งเหล่านี้สามารถถูกทำให้ปนเปื้อน เสียหาย และถูกทำลายได้ จากการกระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ ของกลุ่มบุคคล 5 กลุ่มต่อไปนี้ ที่มักนิยมเข้าไปในสถานที่เกิดเหตุ คือ กลุ่มอาสาสมัครกู้ภัย กลุ่มนักข่าวภาคสนาม กลุ่มตำรวจชั้นผู้ใหญ่ กลุ่มไทยมุง และกลุ่มญาติผู้เสียชีวิตเอง เป็นเหตุให้วัตถุพยาน
ทางชีววิทยา และชีวโมเลกุล อันเป็นหลักฐานที่สำคัญที่สุดแห่งคดีที่ต้องมีการชันสูตรพลิกศพ ต้องถูกทำให้เสียหายสูญสลายไป จากการ เหยียบย่ำ จับต้อง และการปนเปื้อนจากเส้นผม ขน เหงื่อ ลายนิ้วมือ ลายพื้นรองเท้าของบุคคลดังกล่าว

ปัจจุบันในคดีแพ่งของไทยนั้นได้นำวิทยาศาสตร์ และนิติวิทยาศาสตร์เข้ามาอธิบายเพื่อให้เกิดความรับผิด และสิทธิหน้าที่ในกฎหมายต่าง ๆ อยู่เพียง 3 กรณี คือ 1) การตรวจพิสูจน์ DNA ในการเป็นบิดา มารดา และบุตร 2) การใช้นิติวิทยาศาสตร์ในคดีละเมิดจากการขับรถโดยประมาทบนท้องถนน และ 3) การตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อในเอกสารต่าง ๆ เท่านั้น จึงเป็นเหตุให้ยังไม่มีการพูดคุย อภิปราย หรือบรรยายในแหล่งใดว่า หากวัตถุพยานทางชีววิทยา และชีวโมเลกุลดังกล่าวถูกกระทำให้ปนเปื้อน เสียหาย และถูกทำลายไปด้วยการจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ วัตถุแห่งสิทธิในกรณีนี้จะบรรยายฟ้องว่าอย่างไร เป็นทรัพย์สินหรือไม่ ใครคือผู้มีอำนาจครอบครอง ประเด็นพื้นฐานเหล่านี้จะเกี่ยวโยงไปถึงการมีสถานะเป็นผู้เสียหาย และการมีอำนาจฟ้องอย่างสำคัญ

จากการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสอบเข้าเรียนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การเข้าอบรมหลักสูตรนิติวิทยาศาสตร์ และดีเอ็นเอในการต่อสู้คดี สภาทนายความ และหลักสูตรนิติเวชศาสตร์และกฎหมายทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล บันทึกการบรรยายในชั้นเรียนโรงเรียนนายร้อยตำรวจ มีการลงพื้นที่ภาคสนามโดยสมัครเป็นอาสากู้ภัยฝึกหัด[2] รวมถึงการวิเคราะห์เอกสาร ทำให้สรุปได้จากการนำวิทยาศาสตร์มาอธิบายว่า วัตถุพยานทางชีววิทยา และชีวโมเลกุล เป็นสิ่งที่มีรูปร่าง มีราคา และอาจถือเอาได้ ตามมาตรา 138 ป.พ.พ. แม้วัตถุพยานฯ บางชนิดจะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่ก็สามารถใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายประกอบเหตุผล เพื่อให้กฎหมายใช้บังคับได้ ซึ่งก็มีลักษณะเช่นเดียวกับไฟฟ้า และคลื่นสัญญาณโทรศัพท์

 

คำสำคัญ : สถานะทางกฎหมาย วัตถุพยานทางชีววิทยา วัตถุพยานทางชีวโมเลกุล

Abstract

Biological evidence[3] is a witness object at the scene of a death. derived from living things or part of a living thing, such as fingerprints, palms, soles, stripes of human skin that come into contact with things; blood stains, semen, hair, nails, teeth, saliva, urine, feces, sweat, scurf, tissues and what is considered a substance in the body of all kinds, and so on. This can be described in further detail in the form of biomolecules such as atoms, nucleus, chromosomes, cytoplasm, mitochondria, cells, DNA, RNA, etc. These can be contaminated, damaged, and destroyed from deliberate action or negligence of the following 5 groups of people who often walked into the inner scene a rescue group field reporter group senior police groups, Thai Mung groups, and a group of relatives who died, Cause biological witness objects and biomolecules which is the most important evidence of a case that requires an autopsy must be destroyed by trampling, handling and contamination from hair, feathers, sweat, fingerprints, the sole pattern of such person

At present, the Thai civil case has brought science and forensic science to explain the liability and rights and duties in various laws are only 3 cases: 1.) DNA testing for father, mother, and child 2.) Forensic science in the case of reckless driving on the road and 3.) Inspection. Proof of signature on various documents only. Therefore, there is no discussion or description in any source that, If the biological witness and such biomolecules are damaged and were destroyed willful or negligent. How would the object of rights, in this case, be described in the indictment? Is it an asset? Who is the possessor? These fundamental issues which will be connected to the status of a victim in the case and the power to sue significantly.

From qualitative research studies by collecting data from entrance examinations for Master of Science programs forensic science Thammasat University, Attending training courses to Forensic Science and Martial DNA, Lawyers Council of Thailand, and Attending training courses to Forensic Medicine and Medical Law courses, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Lecture notes in the police cadet school class, There was a field visit by volunteering as a trainee rescue volunteer[4] including document analysis, Make a conclusion from the introduction of science to explain that biological witness and biomolecules are shaped there is a price and may be considered under section 138 of the Civil and Commercial Code, Although some Witness objects are invisible to the naked eye. However, it can lead to the scientific process. to explain the reason so that the law can be enforced.

 

Keywords: The legal status Biological Evidence, Biomolecular Evidence

 

[1] Biological Evidence, National Center for Forensic Science, University of Central Forrida, Retrieved July 27, 2022 from https://ncfs.ucf.edu/research/biological-evidence/

[2] ปรากฏตามเอกสารหลักฐานทางการเข้าศึกษาที่ https://drive.google.com/drive/folders/1EhWUYgPK9sHUZid03MM8vwspgs1WKxKL?usp=sharing

[3] Biological Evidence, National Center for Forensic Science, University of Central Forrida, Retrieved July 27, 2022, from https://ncfs.ucf.edu/research/biological-evidence/

[4] Patchara Bowornpattanakun, In-depth certifications from various agencies, Retrieved 1 March 2021, Appears according to the official documentary evidence, from https://drive.google.com/drive/folders/1EhWUYgPK9sHUZid03MM8vwspgs1WKxKL?usp=sharing

Author Biographies

พัชร บวรพัฒนกุล, บริษัท กฎหมายสติ และวิชิต จำกัด

* นักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และ

 ทนายความ, บริษัท กฎหมายสติ และวิชิต จำกัด

* LL.M. Student, Pridi Banomyong Faculty of Law, Dhurakij Pundit University,

 Attorney at law, Sati and Wichit Law Co., LTD.

* e-mail: patchara.16th@gmail.com

พินิจ ทิพย์มณี, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

** รองศาสตราจารย์, คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

** Assist. Prof., Pridi Banomyong Faculty of Law, Dhurakij Pundit University

** e-mail: Tipmanee.pin@dpu.ac.th

References

บรรณานุกรม

ภาษาไทย

กิตติศักดิ์ ปรกติ. “กฎหมายกับการพัฒนาสังคมไทย: จากการลักกระแสไฟฟ้า มาสู่สักสัญญาณโทรศัพท์,

แก้ไขเพิ่มเติมจากที่ตีพิมพ์ครั้งแรก.” วารสารไทยคดีศึกษา. ปีที่ 2. ฉบับที่ 2 (เมษายน-กันยายน, 2548).

พรทิพย์ โรจนสุนันท์. คุณหญิง. สอนด้วยศพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บมจ.อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2545.

พินิจ ทิพย์มณี. “คำบรรยายในห้องเรียน วิชากฎหมายแพ่งชั้นสูง.” ห้อง 7309. (วันที่ 27 กันยายน 2560). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ปรากฏตามพื้นจัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, จากhttps://drive.google.com/drive/folders/1-Tms_RCeYBcGIZ9a9fn-q9N6_NvcJHq8?Usp =sharing

พินิจ ทิพย์มณี. “คำบรรยายในห้องเรียน วิชากฎหมายแพ่งชั้นสูง.” ห้อง 7309. (วันที่ 30 สิงหาคม 2560). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ปรากฏตามพื้นที่จัดเก็บข้ออูลอิเล็กทรอนิกส์, จาก https://drive.google.com/drive/folders/1DVh-rE5AIC-nHO_3UHnX5OC63z5OmES5?usp=sharing

พินิจ ทิพย์มณี. “ทบทวนปรับปรุงกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ศึกษาเฉพาะ กฎหมายลักษณะละเมิด.”

รายงานผลการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2551.

วิศาล วรสุวรรณรักษณ์. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพยานหลักฐานทางนิติพันธุศาสตร์, วิทยาการก้าวหน้าด้าน

นิติพันธุศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561.

สภาผู้แทนราษฎร กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อาญา. “การชันสูตรพลิกศพ. พ.ศ. 2542.” บันทึกการประชุม. คัดเอกสารรับรองจากสภาผู้แทนเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2564, จาก https://drive.google.com/drive/folders/1ExOSwug3LiZx4b49yhjrXXhUue32ln4O?usp=sharing

สันติ์ สุขวัจน์. “พิสูจน์หลักฐานฯสำหรับผู้สอบเลื่อนยศขึ้นเป็นร้อยตำรวจตรี เพื่อบรรจุเข้างานสายปราบปราม.” บันทึกไฟล์เสียงคำบรรยายวิชา. สำนักงานตำรวจภูธรภาค 7. เมื่อเดือน สิงหาคม 2554. ปรากฏตามพื้นที่จัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, จาก https://drive.google.com/drive/folders/1OTAWZuGPQNHhQc7ev5bE8Op607H2HL5x?usp=sharing

สุษม ศุภนิตย์. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะละเมิด. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สนพ.นิติบรรณการ, 2548.

หลักสูตรนิติวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. “การเก็บและการตรวจวัตถุพยานทางชีวเคมี การตรวจพิสูจน์ทางเคมี การตรวจพิสูจน์ DNA การตรวจพิสูจน์ทางฟิสิกส์.” เอกสารประกอบการเรียนวิชา Fundamental science for forensic Science, และบันทึกคำบรรยายในชั่วโมงเรียนวิชาดังกล่าว, เทอม 1 พ.ศ. 2559, และเทอม 1 พ.ศ. 2561, ปรากฏตามพื้นที่จัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, จาก https://drive.google.com/drive/folders/1EzYJDR-LTjkfDXm5hJ8LNb7Y0f9L37NP?usp=sharing

ภาษาต่างประเทศ

Biological Evidence. “National Center for Forensic Science.” University of Central Forrida, https://ncfs.ucf.edu/research/biological-evidence/, July 27, 2022.

Jonathan Bergmann. “Ted talk, Just how small Is an atom?.” https://ed.ted.com/lessons/just-how-small-is-an-atom, March 1, 2021.

New South Wales Consolidated Acts. “Law Enforcement (Powers and Responsibilities) ACT 2002 section 91.” http://classic.austlii.edu.au/au/legis/nsw/consol_act/leara2002451/s91.html,

June 1, 2021.

New South Wales Consolidated Acts. “Law Enforcement (Powers and Responsibilities) ACT 2002 section 95.” http://classic.austlii.edu.au/au/legis/nsw/consol_act/leara2002451/s95.html,

June 1, 2021.

New South Wales Consolidated Acts. “Law Enforcement (Powers and Responsibilities) ACT 2002 section 96.” http://classic.austlii.edu.au/au/legis/nsw/consol_act/leara2002451/s96.html, June 1, 2021.

U.S. Department of Justice Office of Justice Programs, National Institute of Justice. “Crime Scene Investigation: A Reference for Law Enforcement Trainning.” June 2004. https://www.ojp.gov/pdffiles1/nij/200160.pdf, 1 March 2021.

U.S. Department of Justice Office of Justice Programs. National Institute of Justice.

“Crime Scene Investigation: A Guide for Law Enforcement.” Research Report. https://archives.fbi.gov/archives/about-us/lab/forensic-science-communications/fsc/april2000/twgcsi.pdf, 1 March 2021.

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30