ปัญหากฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า ศึกษากรณีสินค้าเป็นรถยนต์ใหม่
คำสำคัญ:
การคุ้มครองผู้บริโภค, ความชำรุดบกพร่อง, รถยนต์ใหม่บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้าที่เป็นรถยนต์ใหม่ ศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้าที่เป็นรถยนต์ใหม่ของต่างประเทศและประเทศไทย เพื่อวิเคราะห์ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคและความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้าที่เป็นรถยนต์ใหม่ และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้าที่เป็นรถยนต์ใหม่ของประเทศไทยที่เหมาะสมและสอดคล้องกับนานาประเทศ
ผลการศึกษาพบว่า ควรมีการตรากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคด้านความรับผิดในความชำรุดบกพร่องของสินค้าที่เป็นรถยนต์ใหม่เป็นการเฉพาะ โดยผู้ซื้อต้องให้โอกาสแก่ผู้ขายในการซ่อมแซมสินค้าให้ก่อนตามสมควร ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกให้มีการเปลี่ยนรถคันใหม่ให้แก่ผู้ซื้อ หรือให้ผู้ขายรับซื้อคืนพร้อมชำระค่าเสียหายที่เกิดจากการนำรถเข้าซ่อมตามสมควร หากเป็นไปตามข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ (1) การซ่อมเพื่อแก้ไขในเรื่องเดียวกันตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป และความชำรุดบกพร่องของรถยนต์อาจจะก่อให้เกิดการเสียชีวิตหรือบาดเจ็บสาหัสขณะขับขี่ (2) ผู้ขายซ่อมเพื่อแก้ไขในเรื่องเดียวกันตั้งแต่ 4 ครั้งขึ้นไป (3) รถยนต์ไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากต้องนำรถเข้าซ่อมรวมแล้วมากกว่า 30 วันนับแต่วันที่ส่งมอบรถยนต์ให้แก่ผู้ขาย และเมื่อขยายเวลาไปอีกเกินกว่า 30 วัน ก็ยังไม่สามารถซ่อมเสร็จตามกำหนด เนื่องจากสภาพของรถยนต์เกินความสามารถในการซ่อมของผู้ขาย ควรมีการเพิ่มเติมมาตรา 472/1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยกำหนดให้ความชำรุดบกพร่องของรถยนต์ที่เกิดขึ้นภายใน 6 เดือน นับแต่วันส่งมอบสินค้า ให้สันนิษฐานว่าเป็นความชำรุดบกพร่องที่มีอยู่ก่อนวันที่มีการซื้อขายหรือส่งมอบสินค้าและผู้ขายสินค้าต้องรับผิด นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย จัดตั้งศูนย์ระงับข้อพิพาทในอุตสาหกรรมยานยนต์ขึ้น โดยตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นเพื่อทำหน้าที่ชี้ขาดข้อพิพาทด้านยานยนต์ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย และศาลมีอำนาจบังคับไปตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้น
คำสำคัญ : การคุ้มครองผู้บริโภค, ความชำรุดบกพร่อง, รถยนต์ใหม่
References
ภาษาไทย
จิราพร ร้อยละลี. “ความรับผิดในความชำรุดบกพร่องของสินค้า.” วารสารกฎหมาย มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. ฉบับที่ 3 (สิงหาคม 2555): 257.
นุสรา เงินเจริญ. “ทุบรถ สะเทือนอุตสาหกรรม.” นิตยสารฟอร์มูล่า. (มีนาคม 2548): 12.
บุษกร วิทยานุกรณ์. “บทวิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า
(Lemon Law).” วารสารวุฒิสภา. (ธันวาคม 2563): 12.
วิณัฎฐา แสงสุข. “หลักการและแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญของกฎหมายว่าด้วยซื้อขายของไทยและอังกฤษ.” วารสารมหาวิทยาลัยรามคำแหง ฉบับนิติศาสตร์. ฉบับที่ 1. ปีที่ 1. (2555): 59.
วุฒิชัย ศรีตะลหฤทัย. “การคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับมาตรการการตรวจสอบความปลอดภัยของสินค้าประเภทรถยนต์ก่อนนำออกสู่ตลาด.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2554.
สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. “กฎหมายว่าด้วยความรับผิดต่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า.” https://webcache.googleusercontent.com/ search?q=cache:ul_RubKiGWkJ :https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php%3Fnid%3D45968%26filename%3Dhouse2558_2+&cd=2&hl=th&ct=clnk&gl=th, 15 เมษายน 2565.
ภาษาต่างประเทศ
California Consumer Attorneys. “Los Angeles Song-Beverly Act Attorney.” https://thelemonfirm.com/lemon-law/californias-song-beverly-act/, 22 October 2021.
Singapore Legal Advice. “How to Resolve Disputes with Car Dealers.” https://singaporelegaladvice.com/law-articles/resolve-disputes-with-car-dealers/,
February 2022.
The Korea Herald. “South Korea to adopt stricter consumer protection with lemon Law.” http://www.koreaherald.com/view.php?ud =20181112000197., 2 February 2022.
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Pridi Banomyong Law Journal
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.