โทษทางอาญาในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 กรณีศึกษาการดัดแปลงสภาพรถเพื่อการพาณิชย์ที่ผิดระเบียบ

ผู้แต่ง

  • ธัญญารัตน์ เตศิริ คณะนิติศาสตร์ ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • จิรวุฒิ ลิปิพันธ์ คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

โทษทางอาญา , พระราชบัญญัติจราจรทางบก , ดัดแปลงสภาพรถ, Criminal Penalties, The Road Traffic, Illegal Commercial Vehicle Modification

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

        พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ถูกตราขึ้นและประกาศใช้ เนื่องจากการคมนาคมและขนส่ง
ทางบกได้เจริญก้าวหน้าขยายตัวไปทั่วประเทศและเชื่อมโยงไปยังประเทศใกล้เคียงและจำนวนยานพาหนะ
ในท้องถนนและทางหลวงได้ทวีจำนวนขึ้นเป็นลำดับ ประกอบกับประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วย การจราจรทางบกและพิธีสารว่าด้วยเครื่องหมายและสัญญาณตามถนน สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกซึ่งได้ใช้บังคับมากกว่าสี่สิบปีให้เหมาะสมกับสภาพการจราจรและจำนวนงานพัฒนาที่เพิ่มขึ้น และเพื่อความปลอดภัยแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชน อย่างไรก็ตาม การเกิดอุบัติเหตุทางถนนอันส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนยังคงมีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสถิติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติพบว่าจำนวนคดีอุบัติเหตุจราจรทางบกซึ่งเป็นการกระทำความผิดอันมีสาเหตุมาจากบุคคลเพิ่มขึ้น และยังพบว่ายานพาหนะบรรทุกสินค้าที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด คือ รถบรรทุกขนาดเล็ก (ปิกอัพ) จากปัญหาดังกล่าว ส่วนหนึ่งเกิดจากโทษตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มีความไม่เหมาะสมกับความผิด เช่น ในปัจจุบันมีผู้ประกอบการขนส่งที่ดำเนินธุรกิจขนส่งสินค้าได้ดัดแปลงสภาพรถกระบะ 4 ล้อ เพื่อให้สามารถบรรทุกสินค้าได้ในปริมาณที่มากขึ้น ส่งผลให้เกิดการบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด โดยอาจมีสิ่งของตกหล่นหรือยื่นออกมาจากนอกตัวรถ เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนบ่อยครั้ง ซึ่งการกระทำความผิดดังกล่าวมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 5,000 บาท

          ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำความผิดฐานดัดแปลงสภาพรถเพื่อการพาณิชย์ที่ผิดระเบียบ
จึงควรมีมาตรการเพิ่มเติมในการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ
หรือความสูญเสียทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้รถใช้ถนน เช่น การระงับหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
ในกรณีที่ตรวจพบว่าเป็นการกระทำความผิดครั้งแรกให้มีการจัดฝึกอบรมเพื่อให้ผู้ขับขี่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการขับขี่บนท้องถนนอย่างปลอดภัย ปรับเปลี่ยนอัตราค่าปรับและระยะเวลาในการจำคุก
ให้เหมาะสมกับโทษและความเสียหายที่เกิดขึ้น และควรกำหนดเงื่อนไขในการดัดแปลงรถยนต์ให้กลับมาอยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนที่จะได้รับการยกเลิกการระงับหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ นอกจากนี้ ภาครัฐควรร่วมเข้ามามีบทบาทในการให้ความสำคัญในการรณรงค์ให้เกิดความปลอดภัยบนท้องถนนผ่านสื่อของรัฐ และควรจัดเจ้าหน้าที่มาเข้มงวดกวดขันดูแลวินัยจราจรให้มีความเข้มงวดเพิ่มมากยิ่งขึ้นเพื่อประสิทธิภาพในการเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนนให้มากที่สุด

 

คำสำคัญ: โทษทางอาญา  พระราชบัญญัติจราจรทางบก  ดัดแปลงสภาพรถ

 

Abstract

         The Road Traffic Act B.E. 2522 was enacted and promulgated because of the advancement of land transportation expanding throughout the country and connecting to nearby countries and also the number of vehicles on the roads and highways has steadily increased. In addition, Thailand has become a state party of the Convention on Land Traffic and the Protocol on Signs and Signals.  By the way, it is expedient to revise the law on road traffic which has been in force for more than forty years to suit the traffic conditions and the increasing number of development work and for the safety of life, body and property of the people. However, road accidents resulting in damage to people's lives, bodies and property continue to occur. According to the statistics of the Royal Thai Police, the number of road traffic accident cases which is an offense caused by an individual has increased. It was also found that the most accident-prone cargo vehicles were light trucks (pickups). From such problems, they partly due to the penalty under the Road Traffic Act B.E. 2522 is not appropriate for the offense, for example, at present, there are transport operators which is operated the business of transporting goods has modified the condition of a 4-wheel pickup truck to be able to carry a larger amount of cargo which is resulted in loading goods more than the legal limit. Perhaps, there may be something falling or protruding from the outside of the car and caused frequent road accidents, while the commission of such an offense will have a maximum fine of not more than 5,000 Baht.

         Therefore, in order to prevent the commission of an offense of modifying the condition of an illegal commercial vehicle, the additional measures should be taken to enforce the law more effectively in order to prevent accidents or loss of life and property of road users such as suspension or revocation of a driving license.  In the event that it is detected as a first offense, training will be organized to make drivers aware of the importance of safe driving on the road. Moreover, adjust the rate of fines and the duration of imprisonment to suit the punishment and damage incurred and also set the conditions to modify the vehicle into a safe condition before the suspension has been canceled or driving license revocation. In addition, the government should play a significant role to campaign for road safety through social media and should arrange officers to be more stringent in order to increase the safety of road for users as much as possible.

 

Keywords: Criminal Penalties, The Road Traffic, Illegal Commercial Vehicle Modification

           

Author Biographies

ธัญญารัตน์ เตศิริ, คณะนิติศาสตร์ ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

* นักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

* LL.M. Student, Pridi Banomyong Faculty of Law, Dhurakij Pundit University.

* e-mail: thanyarat_aonn@hotmail.com

จิรวุฒิ ลิปิพันธ์, คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

** อาจารย์, คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

** Professor, Pridi Banomyong Faculty of Law, Dhurakij Pundit University

** e-mail: jirawut.lin@dpu.ac.th

References

ภาษาไทย

กรมการขนส่งทางบก. “คู่มือ “เตรียมความพร้อมผู้ประกอบการขนส่งไทยสู่อาเซียน” (สาธารณรัฐสิงคโปร์).” https://www.thaitruckcenter.com/InterTransport/, 24 มกราคม 2564.

กรมการขนส่งทางบก. “รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุจากรถบรรทุก ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563.” กรุงเทพมหานคร: กระทรวงคมนาคม, 2563.

กอบกูล จันทวโร, “ระบบกฎหมายของสหรัฐอเมริกา และการพิจารณาตัดสินคดีโดยลูกขุน เปรียบเทียบกับ

ศาลไทย,” http://freedom-thing.blogspot.com/2011/11/blog-post_24.html, 24 มกราคม 2564.

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: กรุงสยาม พับลิชชิ่ง, 2562.

คณิต ณ นคร. กฎหมายอาญาภาคทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน, 2563.

ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. ทฤษฎีความรับผิดทางอาญา เรื่องที่ 2.1.1 ที่มาของความผิดอาญา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช, 2549.

ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. ทฤษฎีความรับผิดทางอาญา เรื่องที่ 2.1.2 ประเภทของความผิดอาญา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช, 2549.

ไทยรัฐออนไลน์. “กระบะเมืองชลฯ บรรทุกของเกินตัว ผู้ร่วมทางหวั่นพลิกคว่ำกระทบวงกว้าง ใน ไทยรัฐ.” https://www.thairath.co.th/news/local/783076, 24 มกราคม 2564.

ปกป้อง ศรีสนิท. กฎหมายอาญาชั้นสูง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน, 2563.

ศุภวัฒน์ สิงห์สุวงษ์. “เกณฑ์พิจารณาในการเลือกกำหนดโทษทางปกครองแทนโทษอาญา ในการสัมมนา เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดโทษทางปกครองในการตรากฎหมาย.” วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 2560.

สมบัติ ตรีวัฒน์สุวรรณ. “ความร่วมมือในการบังคับใช้กฎหมายของภาคพลเมืองในการจัดการความปลอดภัยทางถนน: กรณีศึกษาการใช้รถจักรยานยนต์ในจังหวัดขอนแก่น.” ดุษฎีนิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, 2557.

สมศักดิ์ บุญถม. “ปัจจัยที่มีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายจราจรของตำรวจจราจร.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. “ข้อมูลสถิติคดีจราจร.” https://www.crimespolice.com/portal/, 24 มกราคม 2564.

สุรเมศวร์ พิริยะวัฒน์. “วิศวกรรมขนส่ง (Transportation Engineering).” http://www.surames.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538787407&Ntype=3, 1 กุมภาพันธ์ 2565.

สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์. “ผลของการกระทำในทางอาญา: ศึกษาเฉพาะกรณีผลที่เป็นการก่ออันตราย.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2536.

อัจฉรียา ชูตินันท์. อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน, 2563.

ภาษาต่างประเทศ

Eric Marsden. “Heinrich’s domino model of accident causation,”

https://risk-engineering.org/concept/Heinrich-dominos.

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31